22 ม.ค. 2023 เวลา 09:26 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ทำไมกำไรของธนาคารแห่งหนึ่งลดลง

งบการเงินของธนาคารจะเป็นกลุ่มแรกที่ทยอยออกมาให้ได้อ่านกันก่อนกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ ซึ่งมีงบการเงินของธนาคารแห่งหนึ่งมีการกันสำรองเพิ่มขึ้นส่งผลทำให้กำไรของธนาคารลดลง มารู้จัก “ผลขาดทุนทางด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected credit loss; ECL)”
1
ขอเล่าในเรื่องมาตรฐานทางบัญชี TFRS9 (Thai Financial Reporting Standards 9) เล็กน้อย ที่มีการปรับเปลี่ยนการจัดชั้นหนี้ และการตั้งสำรองผลขาดทุนทางด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ซึ่ง TFRS9 ได้มีการใช้มาได้ 2-3 ปี
1
การจัดชั้นหนี้ตาม TFRS9 จะแบ่งเป็น 3 ระดับ
ระดับแรก เงินให้สินเชื่อที่ไม่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต(performing) คือ ลูกหนี้ที่ไม่ได้ผิดชำระหนี้
เมื่อก่อนระดับนี้แทบจะมีการตั้งสำรอง อาจแค่ 1% ของสินเชื่อ ในปัจจุบันจะใช้หลายๆ ปัจจัยมาประเมิน เช่น มูลค่าหนี้ กระแสเงินสดที่ธนาคารคาดว่าจะได้รับจริง อัตราดอกเบี้ยที่เท้จริง ออกมาเป็นผลขาดทุนทางเด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอีก 12 เดือนข้างหน้า (1-year expected credit loss)
ตรงนี้อาจจะไม่มีการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นมาก แต่ที่เปลี่ยนไปชัดในการตั้งสำรองคือชั้น ที่ 2 ที่เคยเรียกว่า ชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ ไปอ่านกันต่อเลย
ระดับ 2 เงินให้สินเชื่อที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต (under-performing) คือ ลูกหนี้ค้างชำระดอกเบี้ยหรือเงินต้นเกินกว่า 30 วัน
และระดับ 3 เงินให้สินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิต (non-performing; NPL) สินเชื่อที่ผิดชำระหนี้หนี้เกิน 3 เดือนติดต่อกัน ลูกหนี้ถึงแก่ความตาย/ สาญสูญ เลิกกิจการ
ระดับที่ 2 และ ระดับที่ 3 ตั้งสำรองลักษณะเดียวกัน เรียกว่า Lifetime expected credit loss ที่ปรับไปพอสมควรคือระดับที่ 2 เมื่อก่อนอาจตั้งสำรองไม่มาก แต่ตาม TFRS9 ต้องตั้งสำรองพอๆ กับ NPL
จากระดับของลูกหนี้ก็จะคิดคำนวณออกมา เป็น ผลขาดทุนทางด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected credit loss; ECL)
ซึ่งจะเห็นว่า จะมีการประเมินสถานการณ์โดยรวม และการประเมินลูกหนี้ของแต่ละสถาบันทางการเงินว่าควรจะมี ผลขาดทุนทางด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected credit loss; ECL) มากน้อยอย่างไหร่
ของธนาคารกสิกร หรือ KBANK ได้ประเมินสถานการณ์ที่มีการตั้งค่า ECL ที่เพิ่มขึ้นไว้แบบนี้ “ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่า จะเกิดขึ้น (Expected credit loss : ECL) ในปี 2565 มีจำนวน 51,919 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ปีก่อน 28.73% เพื่อรองรับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่มีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นภาวะเศรษฐกิจถดถอยในอนาคต รวมทั้งการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจในประเทศไทยที่ยังคงเปราะบาง
นอกจากนี้ยังเป็นการเสริมความแข็งแกร่งและเพิ่มความยืดหยุ่น ในการบริหารจดัการคุณภาพสินทรัพย์ให้มีความพร้อมในการดูแลช่วยเหลือลูกค้ากลุ่มต่าง ๆ ตามยุทธศาสตร์ของธนาคารเพื่อให้ ลูกค้าสามารถดำ เนินธุรกิจได้เต็มศักยภาพ ตอบรับกับโอกาสทางธุรกิจที่จะเกิดขึ้น
โดยอัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage ratio) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 อยู่ที่ระดับ 154.26% ซึ่งเป็นระดับที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น”
เมื่อมีบรรทัด ผลขาดทุนทางด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected credit loss; ECL) เพิ่มขึ้น ก็จะมาเป็นตัวหักออกจากรายได้ ทำให้กำไรสุทธิที่ออกมาลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งเมื่อกำไรสุทธิลดลงส่งผลให้ ค่า ROE ซึ่งคิดจากกำไรสุทธิหารส่วนผู้ถือหุ้นลดลง และกระทบต่อราคาหุ้นได้
งบการเงินของธนาคารที่ออกมา สามารถเข้าไปดูได้ในหัวข้อ "ข่าว" ตรงหุ้นที่เราสนใจ
หมอยุ่งอยากมีเวลา พูดคุยเรื่องหุ้นและกองทุน เข้าใจง่าย ใช้ได้จริง
ติดตามความรู้ทางการเงินแบบเข้าใจง่าย
ในช่องทางอื่นๆ ได้ที่
#ผลขาดทุนทางด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น #ECL #ลูกหนี้ #ธนาคาร #ตั้งสำรอง #BANK #งบการเงิน #หุ้น #ลงทุนหุ้น
โฆษณา