23 ม.ค. 2023 เวลา 06:11 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ทำไมหุ้นกู้และพันธบัตรรัฐบาล จึงเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับมุสลิม ?

หุ้นกู้และพันธบัตรรัฐบาล คือหนึ่งในช่องทางการลงทุนที่ถูกจัดอยู่ในประเภท “ความเสี่ยงต่ำ” และเป็นทางเลือกของใครหลายคนในการกระจายพอร์ตการลงทุนอีกด้วย อีกทั้งผลตอบแทนก็สูงกว่าการฝากเงินในธนาคาร
แล้วการลงทุนในสิ่งดังกล่าว ทำไมถึงเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับมุสลิม ? ในโพสต์นี้ Money Halal จะสรุปให้ครับ
หุ้นกู้และพันธบัตรรัฐบาล คือ “ตราสารหนี้” ชนิดหนึ่ง ความแตกต่างมีแค่ หุ้นกู้จะออกโดยเอกชน ส่วนพันธบัตรรัฐบาลก็จะออกโดยกระทรวงการคลัง
การจะออกหุ้นกู้หรือพันธบัตรรัฐบาลนั้นหมายความว่า รัฐบาลหรือบริษัทต้องการ “ระดมเงิน” มาลงทุน โดยจะจ่าย “ผลตอบแทน” ให้กับผู้ลงทุนในรูปของ “ดอกเบี้ย” นั่นเอง
ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยจะถูกกำหนดไว้แล้วให้ผู้ลงทุนได้รับทราบ เช่น พันธบัตรออมทรัพย์รุ่น “สุขใจให้ออม” อัตราดอกเบี้ยสูงสุด 3% ต่อปี ขึ้นอยู่กับอายุของพันธบัตร หรือหุ้นกู้ของบริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) อัตราดอกเบี้ยสูงสุด 4.55% ต่อปี
แน่นอนว่า เมื่อผลตอบแทนมาในรูปแบบของ “ดอกเบี้ย” มันจึงเป็นสิ่งต้องห้าม(ฮารอม) อย่างไม่ต้องสงสัย
เนื่องจาก หากเรานำเงินไปลงทุน เราก็จะเปรียบเสมือน “เจ้าหนี้” ที่ “ปล่อยกู้” โดยคิดดอกเบี้ยจาก “ลูกหนี้” ที่เป็นรัฐบาลหรือบริษัท
ดังนั้น “ผลตอบแทน” ดังกล่าวถือเป็น “ริบา กุรูฎ” หรือริบาที่เกิดจากการกู้ยืม ตามหลักการอิสลาม
เขียนโดย Money Halal
โฆษณา