9 ก.พ. 2023 เวลา 06:00 • ธุรกิจ

แบบสอบถาม Employee Engagement ทำอย่างไรและควรตั้งคำถามแบบไหน?

จุดเริ่มต้นของการพัฒนานโยบายการบริหารบุคลากรให้ถูกวิธีควรต้องมีการสร้างความรับรู้ในเรื่องของความรู้สึกของพนักงานที่มีต่อบริษัทว่าพนักงานเองปัจจุบันมีความพึงพอใจหรือไม่ในเรื่องใดบ้างที่เกี่ยวข้องทั้งเรื่องงาน สภาพแวดล้อมการทำงาน เพื่อนร่วมงานและ อื่นๆ ซึ่ง Employee Engagement Survey เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่ได้ผลดีกับคนในหลายๆ ฝ่าย วันนี้ B Work Story จึงอยากจะพาเพื่อนๆ ชาว Blockdit มาดูกันว่าเราเข้าใจเทคนิคการทำแบบสอบถามแบบนี้ขนาดไหนและจะออกมาในรูปแบบใด
สร้างรูปแบบการทำ Employee Engagement Survey อย่างไร
1. ไม่ระบุตัวตนในแบบสอบถาม : เพื่อทำให้พนักงานที่ออกความเห็นกับแบบสอบถามนี้เกิดความสบายใจ และผู้เช็กข้อมูลก็รู้ได้ว่าคำตอบเหล่านี้มีความจริงใจที่สุด มันเหมาะสมที่สุดที่จะไม่จำเป็นต้องให้ระบุตัวตนในแบบสอบถามไม่ว่าจะเป็นชื่อ ตำแหน่ง หรือแผนก
2. 5 นาที 1 สัปดาห์ 1 ปี : เราอาจจะต้องตั้งเป้าหมายดูว่าพนักงานไม่สมควรจะใช้เวลาในการทำแบบสอบถามนานเกินไป ซึ่งมันจะไม่เกิน 5 นาที ซึ่งจะเท่ากับ 7-15 คำถาม เพราะถ้ามีคำถามมากกว่านั้น พนักงานบางคนอาจจะไม่สะดวกที่จะทำแบบสอบถาม
หรือแม้แต่คำตอบตอนท้ายๆ ที่ไม่ตรงกับความจริงเพราะคนทำแบบสอบถามเริ่มเบื่อที่จะอ่านคำถาม ช่วงเวลาที่กำหนดในการทำแบบสอบถามจึงสำคัญมาก ซึ่งประมาณ 1-2 สัปดาห์ ถือว่าเป็นระยะเวลาที่ดีในการทำแบบสอบถาม และสมควรที่จะทำประจำทุกปี แต่ก็สามารถทำให้ถี่ขึ้นมาได้เป็นทุกๆ 1-2 ไตรมาส ซึ่งขึ้นอยู่กับแผนพัฒนาบริษัท
3. สร้างระดับความพึงพอใจให้กว้างขึ้น: เกณฑ์ระดับการให้คะแนนความพึงพอใจจาก 1-5 คงไม่พอสำหรับ Employee Engagement Survey เพราะพนักงานที่ยังอยู่กับบริษัทส่วนใหญ่ก็น่าจะเลือกที่จะตอบว่า ”พอใจ” มากกว่า “ไม่พอใจ”
ซึ่งจะมีความเอนเอียงไปทางความน่าพอใจมากกว่าและมีตัวเลือกน้อย จาก 3-5 ระดับ ความพึงพอใจควรใช้ 7 หรือ 10 ซึ่งให้ข้อมูลที่ละเอียดมาก ซึ่งถ้าหากทุกข้อสามารถใช้ระดับเท่ากันได้ก็จะง่ายต่อการเปรียบเทียบ โดยมีวิธีปรับคำอธิบายจากต่ำไปสูงเพื่อให้เข้ากับคำถาม เช่น ไม่เห็นด้วยเลย-เห็นด้วยมากที่สุด, ไม่เคยทำเลย-ทำบ่อยที่สุด, น้อยที่สุด-มากที่สุด เป็นต้น
4. Multiple choices ให้ดูน่าสนใจมากขึ้น : เป็นวิธีที่ดีเพราะว่าถ้าหากบริษัทมีไอเดียที่จะพัฒนาสวัสดิการบางอย่างแต่ไม่แน่ใจว่าพนักงานจะชอบแบบไหนกว่ากัน หรือมากที่สุด ก็ถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดี และถามว่า “ชื่นชอบสวัสดิการใดในข้อนี้มากที่สุด”
5. ตั้งคำถามให้ตรงจุด: ต้องลองคิดถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของพนักงานว่ามีเรื่องอะไรบ้าง และนำมาเปลี่ยนเป็นคำถาม เช่น เรื่องของโอกาสความก้าวหน้าทางด้านการงาน ผลตอบแทน การทำงานร่วมกันกับเพื่อนที่ทำงาน วัฒนธรรมองค์กร นโยบายบริษัท
6. ไม่ตั้งคำถามที่ไม่มีโซลูชั่น: การทำแบบสอบถามแบบนี้เหมือนเราจะสื่อว่าบริษัทอยากรู้จุดบกพร่องเพื่อนำไปพัฒนา ดังนั้นการตั้งคำถามที่ไม่สามารถหาโซลูชั่นได้ถือว่าต้องได้คะแนนความพึงพอใจที่ต่ำสุด เช่น เพื่อนที่ดีในที่ทำงานเรามีไหม ใช่หรือไหม หรือ คุณชอบหัวหน้าใช่หรือไม่ หัวหน้าใส่ใจเราใช่หรือไม่
ตัวอย่างคำถาม :
1. เรามีความสุขในที่ทำงานไหม? : เป็นคำถามที่ถามตรงไปตรงมาและได้รู้ความสุขแบบภาพรวมของบริษัทมากน้อยในปริมาณไหน เพราะว่าความสุขของพนักงานนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญซึ่งส่งผลต่อความกระตือรือร้นและ Productivity ในการทำงาน เพราะถ้าพนักงานทำงานแล้วไม่มีความสุข ทำงานไปก็รู้สึกแย่ ทำให้ท้ายสุดก็ส่งผลกระทบกับลูกค้าที่ไปดีลด้วย และ turnover rate ของบริษัท เพราะฉะนั้น ถ้าได้คะแนนในข้อนี้ต่ำ ให้ดูคำตอบในคำถามที่เกี่ยวข้องกับข้อเสนอแนะในข้อสุดท้ายว่าส่วนใหญ่ติดปัญหาอะไร แล้วองค์กรสามารถช่วยเราแก้ไขได้หรือไม่แบบใด
2. คุณคิดว่าคุณมี Work-life balance มากหรือน้อยในระดับไหน: การเช็ก Work-life balance สามารถสื่อได้ถึง workload ว่ามีเหตุผลมากน้อยแค่ไหน และเรื่องการสนับสนุนให้พนักงานมี Work-life balance สามารถช่วยลดความรู้สึก burnout ไหม เพราะการที่บริษัทให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ถือว่าเป็นบริษัทที่คนทำงานในยุคนี้อยากจะทำงานด้วยไปนานๆ
3. คุณมีโอกาสเติบโตไปพร้อมกับบริษัทมากน้อยแค่ไหน: เพราะความก้าวหน้าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้พนักงานอยากอยู่ในบริษัทต่อ จึงเป็นจุดสำคัญที่พนักงานรู้ว่าพวกเขาได้พัฒนาตนเองจริง และ career path ชัดเจนหรือไม่ บริษัทขาดตกบกพร่องตรงไหน ด้านการฝึกอบรมหรือพูดคุยเรื่องเป้าหมายในงานหรือไม่
4. เข้าใจ missions/visions/core values ของบริษัทหรือไม่ : มันเป็นสิ่งที่พนักงานเข้าใจและให้ความสำคัญน้อยกว่ากฏระเบียบ แต่ถ้าพนักงานเข้าใจและสื่อออกมาได้อย่างชัดเจน ก็สามารถที่จะช่วยให้บริษัทเติบโตไปในเป้าหมายได้ดีขึ้น เพราะถ้าข้อนี้ได้คะแนนไม่ดี ก็ควรถึงเวลาที่องค์กรต้องหาวิธีสื่อสารเรื่องนี้ให้ดีขึ้น
5. เวลางานออกมาประสบความสำเร็จ เราได้รับการชื่นชมบ่อยแค่ไหน : เป็นคำถามที่เช็กว่าผู้บริหารและหัวหน้างานใส่ใจพนักงานและลูกทีมมากน้อยแค่ไหน ซึ่งผลสำรวจจาก Deloitte พบว่าความรู้สึกที่ได้รับคำชื่นชมสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานขึ้นได้ 14% และสามารถสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดีได้อีกด้วย
6. สื่อสารการทำงานกับผู้ร่วมงานได้ดีแค่ไหน : เป็นคำถามที่กำหนดไว้ถามกับเราและผู้ร่วมงานว่าเรายังเข้ากันได้หรือไม่ การทำงานนอกจากจะช่วยเพิ่มความสุขแล้วยังส่งผลเรื่องความคล่องตัวในการทำงานและคุณภาพงานที่ดีขึ้น
7. คุณอยากแนะนำบริษัทให้กับเพื่อนๆและครอบครัวคุณรู้จักไหม : มันสามารถสื่อให้เห็นว่าความน่าอยู่ของบริษัทในภาพรวมว่าเป็นอย่างไรถ้าได้คะแนนสูงเพราะพนักงานรู้สึกพึงพอใจวิธีที่บริษัทดูแลดีและภูมิใจที่จะได้เป็นส่วนหนึ่งของบริษัท
8. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมที่อยากให้บริษัทเริ่มทำ ทำต่อ หรือ เลิกทำ มีอะไรบ้าง: คำถามปิดท้ายแบบสอบถามแบบปลายเปิด ซึ่งเป็นสิ่งที่อยากให้บริษัทเริ่มทำ ทำต่อ หรือเลิกทำ และอธิบายเพิ่มเติมที่เชื่อมโยงกับคะแนนแต่ละข้อก่อนหน้า
หรืออาจเป็นประเด็นอื่นที่ไม่มีในแบบสอบถามซึ่งมีความสำคัญมาก
สุดท้ายนี้ B Work Story นำบทความนี้มาเพื่อให้เพื่อนๆ เข้าใจว่าแบบสอบถามเป็นเพียงแค่ขั้นแรกของการพัฒนาบริษัท ทีม HR และผู้เกี่ยวข้องกับทุกฝ่ายจะต้องทำงานร่วมกันต่อ เพื่อนำผลสรุปมาพัฒนาบริษัทต่อไป และ สื่อสารให้พนักงานได้รู้ว่าบริษัทจะปฏิบัติอย่างไรต่อ เพื่อให้พนักงานรู้ว่าสิ่งที่เขาตอบ ได้รับการรับฟังและสามารถนำไปใช้ ปรับปรุง แก้ไข และพัฒนาได้จริง ถ้าเพื่อนๆ มีข้อคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ สามารถคอมเมนต์มาใต้บทความนี้ได้เลยค่า
อ้างอิง:
โฆษณา