29 ม.ค. 2023 เวลา 02:00 • ธุรกิจ

Value Chain Analysis ในธุรกิจแฟรนไชส์

ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) เป็นแนวคิดที่ช่วยในการทำความเข้าใจถึงบทบาทของแต่ละหน่วยงานปฏิบัติการ ว่าจะมีส่วนช่วยเหลือให้องค์กรธุรกิจก่อกำเนิดคุณค่าให้แก่ลูกค้าอย่างไรบ้าง โดยคุณค่าที่บริษัทสร้างขึ้นสามารถวัดได้จากการพิจารณาว่าผู้บริโภคยินยอมที่จะจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการของบริษัทมากน้อยแค่ไหน แนวคิดนี้แบ่งกิจกรรมภายในองค์กรเป็น 2 กิจกรรม คือ กิจกรรมหลัก (Primary Activities) และกิจกรรมสนับสนุน (Support Activities)
โดย 5 กิจกรรมหลัก (Primary Activities) ถือเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิต หรือสร้างสรรค์สินค้าและบริการ การตลาด และการขนส่งสินค้าหรือบริการไปยังผู้บริโภค ประกอบด้วย
  • 1.
    Inbound Logistics กิจกรรมด้านการขนส่ง การจัดเก็บ การแจกจ่ายวัตถุดิบ การจัดการสินค้าคงเหลือ
  • 2.
    Operations กิจกรรมด้านการเปลี่ยนหรือแปรรูปวัตถุดิบให้ออกมาเป็นสินค้า เป็นขั้นตอนการผลิต การบรรจุ
  • 3.
    Outbound Logistics กิจกรรมด้านการจัดเก็บ รวบรวม จัดจำหน่ายสินค้าและบริการไปยังลูกค้า
  • 4.
    Marketing and Sales กิจกรรมด้านการดึงดูดชักจูงให้ลูกค้าซื้อสินค้า เช่น การโฆษณา ช่องทางการจัดจำหน่าย
  • 5.
    Services กิจกรรมการให้บริการ เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้า รวมถึงการบริการหลังการขาย การแนะนำการใช้
ส่วนกิจกรรมสนับสนุน (Support Activities) เป็นกิจกรรมที่ช่วยสนับสนุนกิจกรรมหลัก ให้สามารถดำเนินไปได้ ประกอบด้วย
  • 1.
    Procurement กิจกรรมการจัดซื้อ จัดหา เพื่อนำมาใช้ในกิจกรรมหลัก
  • 2.
    Technology Development กิจกรรมด้านการพัฒนาเทคโนโลยี ช่วยเพิ่มคุณค่าให้สินค้าและบริการ หรือกระบวนการผลิต
  • 3.
    Human Resource Management กิจกรรมด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ตั้งแต่การวิเคราะห์งาน การสรรหา การคัดเลือก ประเมินผล พัฒนาบุคลากร การฝึกอบรม ระบบเงินเดือน ค่าจ้าง และแรงงานสัมพันธ์
  • 4.
    Firm Infrastructure โครงสร้างพื้นฐานขององค์กร ได้แก่ ระบบบัญชีระบบการเงิน การบริหารจัดการขององค์กร
Value Chain Analysis ในธุรกิจแฟรนไชส์
สำหรับ “คุณค่า" ในธุรกิจแฟรนไชส์อาจมีมุมมองต่างกัน ในมุมมองผู้ซื้อแฟรนไชส์คุณค่าอาจหมายถึง ธุรกิจแฟรนไชส์ราคาถูกแต่สินค้าและบริการตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภค สินค้าและบริการมีคุณภาพมาตรฐานตอบโจทย์ลูกค้าในวงกว้าง การให้บริการที่ดีกว่าเดิม หรือความเป็นเอกลักษณ์เป็นหนึ่งเดียวของสินค้า เป็นต้น
โดยคุณค่าได้มาจากความรู้ ประสบการณ์ของเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ ธุรกิจดำเนินธุรกิจมายาวนาน การฝึกอบรม ตลอดจนการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี และการพัฒนาสินค้าและบริการออกมาใหม่ๆ เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการให้กับธุรกิจแฟรนไชส์นั้นๆ
การวิเคราะห์เครือข่ายการสร้างคุณค่า (Value Chain Analysis) แบ่งแยกโครงสร้างของกิจกรรมออกเป็น 2 ลักษณะ คือ กิจกรรมพื้นฐาน (Primary Activities) และกิจกรรมสนับสนุน (Supporting Activities) ซึ่งจะนำมาวิเคราะห์ได้ดังนี้
กิจกรรมพื้นฐาน (Primary Activities) ในธุรกิจแฟรนไชส์ร้านค้าปลีก เป็นกิจกรรมที่สร้างประโยชน์ให้กับลักษณะทางกายภาพของรูปแบบการให้บริการของร้านค้าปลีก ตั้งแต่การจัดหาสินค้า การคัดเลือกพนักงาน และการนำเข้าสินค้าเข้ามาจำหน่ายในร้านค้าปลีก โดยเจ้าของร้านแฟรนไชส์หรือผู้จัดการร้านจะเป็นผู้คัดเลือก และตัดสินใจในการสั่งซื้อสินค้าเข้าร้าน
โดยใช้ประสบการณ์และคำแนะนำจากเจ้าของแฟรนไชส์ ส่วนกระบวนการในการขายสินค้า อาทิ การเติมเต็มสินค้าในชั้นวาง การกำหนดราคาขาย การจัดเก็บสินค้าคงคลัง ฯลฯ ส่วนช่วงเวลาทำการขายอาจเปิดบริการ 24 ชั่วโมง
กิจกรรมสนับสนุนแฟรนไชส์ (Supporting Activities) เป็นกิจกรรมสนับสนุนกิจกรรมหลักให้เกิดมูลค่ากับแฟรนไชส์ร้านค้าปลีก โดยเจ้าของแฟรนไชส์เป็นผู้ถ่ายทอดและฝึกอบรมให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ โดยผู้ซื้อแฟรนไชส์เป็นผู้บริหารงานในร้าน รวมถึงคัดเลือกพนักงานและฝึกอบรมพนักงานภายในร้าน
โดยกิจกรรมสนับสนับสนุน โดยส่วนใหญ่แฟรนไชส์ซีจะได้รับการช่วยเหลือจากเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ ไม่ว่าจะเป็นการฝึกอบรม การแนะนำเทคนิคการบริหารธุรกิจ การจัดส่งสินค้า-วัตถุดิบ การติดตั้งระบบการขายและเทคโนโลยีต่างๆ ภายในร้าน เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับร้านแฟรนไชส์ค้าปลีกนั่นเอง
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
อ้างอิงข้อมูล
 
ที่มา : https://bit.ly/3H0MvL3
โฆษณา