25 ม.ค. 2023 เวลา 12:19 • หุ้น & เศรษฐกิจ

จีนเปิดประเทศ อาจดันให้เงินเฟ้อพุ่งอีกครั้ง

ที่การประชุม World Economic Forum ณ เมือง Davos ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ประกาศว่า การเปิดประเทศของจีน จะทำให้พวกเราต้องแบกรับแรงกดดันด้านเงินเฟ้ออีกครั้ง
หลังจากที่ปิดประเทศมากว่า 3 ปี เมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา
จีนได้ผ่อนคลายมาตรการ Zero-Covid และเปิดให้ผู้คนเดินทางอีกครั้ง
โดยในช่วงที่จีนไม่ได้มีการเปิดประเทศ จีนไม่ได้กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยนโยบายแจกเงินช่วยเหลือให้กับประชาชนโดยตรงเหมือนกับประเทศอื่น ๆ
แต่เป็นการให้เงินอุดหนุนกับภาคธุรกิจ เพื่อกระตุ้นการจ้างงาน
ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด 19 และจีนยังคงใช้นโยบาย Zero-Covid อย่างเข้มงวด
ประชาชนชาวจีนมีเงินฝากในธนาคาร 2.2 ล้านล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว
นอกจากนี้ Nomura Holdings Inc. ได้ออกมาเตือนและให้ความระมัดระวัง เรื่อง ข้อมูลบัญชีธนาคาร และรายได้ของชาวจีน
โดยเมื่อดูข้อมูลดังกล่าว Nomura คำนวณว่า ครัวเรือนจีนมีเงินออมส่วนเกิน ถึง 720,000 ล้านดอลลาร์ และเมื่อผู้บริโภคชาวจีนกลับมาใช้จ่ายอย่างเข้มข้น ซึ่งน่าจะกระตุ้นการใช้จ่ายมากขึ้น และอาจดันราคาสินค้าโภคภัณฑ์ให้สูงขึ้น
สัญญาณเริ่มต้นของอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นกำลังปรากฏขึ้นในจีนแล้ว
1
ถึงแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อของจีนจะยังคงต่ำกว่าสหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรปอยู่มาก แต่ตอนนี้ ราคาโรงแรมในสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม ได้พุ่งสูงขึ้น และราคาอาหารในเดือนธันวาคมเพิ่มขึ้น 4.8% เมื่อเทียบจากปีก่อนหน้า
ในขณะที่ International Energy Agency คาดว่าความต้องการน้ำมันที่เพิ่มขึ้นของจีนจะผลักดันอุปสงค์น้ำมันทั่วโลกโดยรวมให้แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 101.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน
ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าก่อนที่จะมีการแพร่ระบาดของโควิด
และหากจีนยังคงเปิดประเทศอยู่ อาจผลักดันให้ราคาน้ำมันดิบ Brent แตะระดับเฉลี่ย 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ภายในสิ้นปีนี้ จากประมาณ 82 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลในปัจจุบัน
ซึ่งราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจะหมายถึงค่าน้ำมันเบนซินและค่าขนส่งที่สูงขึ้น
อาจกลายมาเป็นต้นทุนที่ผลักดันให้ราคาสินค้าอื่น ๆ ปรับตัวสูงขึ้นตามมา
1
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าราคาน้ำมันจะแตะระดับ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
แต่ก็ยังต่ำกว่าระดับสูงสุดของปี 2022 อย่างมากที่ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นมาอยู่ที่ราว 130 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ทำให้นักเศรษฐศาสตร์บางคนคิดว่า เศรษฐกิจที่ชะลอตัวในในสหรัฐอเมริกาและที่อื่น ๆ อาจกดดันราคาน้ำมันมากกว่าการกระตุ้นจากจีน
ในขณะที่ ความต้องการสินค้าอื่น ๆ อาจยังคงซบเซา
เนื่องจากจีนยังคงจีนระงับการใช้จ่ายจำนวนมาก
รวมไปถึงตลาดอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นแหล่งอุปสงค์ที่สำคัญยังคงตกอยู่ในวิกฤติครั้งใหญ่
ขณะเดียวกัน การเปิดประเทศของจีนก็อาจช่วยลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อได้เช่นกัน
โดยการที่จีนเปิดประเทศ จะช่วยลดปัญหาด้านขาดแคลนซัปพลายเชน ที่ทำให้โรงงานและท่าเรือหยุดการดำเนินงานเป็นจำนวนมาก
ดังนั้นการเปิดประเทศของจีนในครั้งนี้จะเป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญของสถานการณ์เงินเฟ้อโลกในปี 2023 นี้
ผู้เขียน : ณิศรา วาดี Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
โฆษณา