26 ม.ค. 2023 เวลา 11:31 • สุขภาพ

โรคกล้ามเนื้อสลาย​ กับแพทย์​แผนจีน

โรคกล้ามเนื้อสลาย​ Rhabdomyolysis​
โรคร้ายที่มักถูกเข้าใจผิด​ หลายคนอาจเข้าใจว่า​ การออกกำลังกายเยอะๆ​ จะเป็นผลดีกับร่างกาย​ ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง​ แต่อะไรที่มากเกินไป​ ก็จะมีผลเสียตามมาเสมอ​
สำหรับใครที่อยู่สายออกกำลังกาย​ ใช้แรง​ ใช้กล้ามเนื้อเยอะๆ​ ยิ่งควรต้องรู้และระวังเป็นอย่างยิ่ง​
โรคกล้ามเนื้อสลาย​ หรือ​ Rhabdomyolysis​ มักพบในผู้ที่ออกกำลังกายหนักเกินกว่าที่ร่างกายรับไหว เช่น​ นักแข่งไตรกีฬา​ นักวิ่ง​ วิ่งนานๆ​ ใช้แรงเยอะๆ​ การยกเวทหนักๆ​ ออกกำลังกายแบบหักโหม หลังจากที่เพิ่งเริ่มออกกำลัง​กาย หรือ​ หลังจากที่ห่างจากการออกกำลังกายไปนานๆแล้วมาเริ่มออกกำลังกายใหม่​ ซึ่งความรุนแรงของโรคกล้ามเนื้อสลายนี้​ จะส่งผลไปถึงขั้นให้เกิดอาการ​ heat stroke, ไตวายเฉียบพลัน, ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ​
อาการของโรค​ มักเกิดขึ้นในกล้ามเนื้อส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว​ ในส่วน​ แขน​-ขา ของเรา และการที่กล้ามเนื้อ​สลายนี้ก็ยังมักเกิดขึ้นบ่อยขึ้นหลังจากที่​ กล้ามเนื้อถูกกระแทกอย่างแรง ถูกกดทับเป็นเวลานาน หรือใช้งานมากเกินไป นอกจากนี้ยังมีบางกรณี เช่น การอุดตันของหลอดเลือดที่นำไปสู่การขาดออกซิเจนของกล้ามเนื้อ และผู้ป่วยที่รับประทานยาบางชนิด(ผลข้างเคียง​ของยา)​
สัญญาณ​เตือนโรคกล้ามเนื้อ​สลาย​ อาการเบื้องต้น​ จะแสดงออกมาทางอาการทางกล้ามเนื้อ​ ปวดกล้ามเนื้อ​ กล้ามเนื้อ​อ่อนแรง​ ปัสสาวะ​ลดลง​ ปัสสาวะ​มีสีผิดปกติ​ โดยมีลักษณะ​สีดำ, ดำแดง(สีโคล่า)​ ร่างกายขาดน้ำ
และอาการร่วมที่มักแสดงออกตามมาหลังจากออกกำลังกายหนักๆในช่วง24-48ชั่วโมง​ ที่สังเกตว่ามีความเสี่ยง​ในการเกิดโรค​ คือ​ กล้ามเนื้อบวม​ ปวดข้อ​ ปวดท้อง วิงเวียน​ศีรษะ​ คลื่นไส้อาเจียน​ ใจสั่น​ หัวใจเต้นผิดจังหวะ​ ภาวะขาดน้ำ​ อุณหภูมิ​ร่างกายสูงขึ้น​
ผลทางห้องLabจะช่วยยืนยันการวินิจฉัยโรค​ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น​ โดย
ผลเลือดของภาวะกล้ามเนื้อสลายคือ ระดับ Creatine phosphokinase ในเลือด (CPK) เพิ่มสูงขึ้นอย่างน้อย 5 เท่า​ โดยค่าที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นหลักพันหรืออาจถึงระดับหลักหมื่นเลยทีเดียว ซึ่งถือเป็นภาวะของโรคกล้ามเนื้อสลาย ​​(ปกติค่าของระดับ CPK คือ 20-200 U/L)
เนื่องจากการสลายตัวของเนื้อเยื่อ ส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอิเล็กโทรไลต์ เช่น ระดับโพแทสเซียมสูง ฟอสเฟตสูง​ แคลเซียมต่ำ​ และ​ กรดยูริกในเลือดสูง
โดยอาจต้องตรวจเพิ่มเติมทั้ง การนับเม็ดเลือด ตรวจการทำงานของระบบเมตาบอลิซึม ทดสอบวัดค่าการทำงานของตับ ตรวจปัสสาวะ ตรวจคลื่นหัวใจ(EKG) และเอ็กซเรย์ทรวงอก ร่วมด้วย
การรักษา​
สามารถรักษาได้ด้วยการฝังเข็ม​ แต่การฝังเข็มสามารถใช้เป็นการรักษาเสริมช่วยบรรเทาลดอาการปวด​ และช่วยให้อาการหายได้เร็วขึ้น​
แต่อย่างไรก็ดี​ ความรวดเร็วคือส่วนสำคัญที่สุด
ดังนั้นในกรณีนี้​ จะแนะนำให้ทานยาทางแผนปัจจุบัน​เพื่อบรรเทาอาการเฉียบพลันนี้​ และการฝึกฟื้นฟูสมรรถภาพโดยการกายภาพ ร่วมด้วย
ในทางแพทย์จีน​นั้น​ นอกจากการฝังเข็มแล้ว การนวดทุยหนา​ ก็ยังสามารถใช้เพื่อรักษาได้ผลดีอีกทางหนึ่งด้วย​
อย่าลืมกดไลค์ กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจ และส่งต่อเคล็ดลับและวิธีการรักษาตัวเองโดยการฝังเข็มและจัดกระดูก โดยแพทย์จีนโอฬาร กันด้วยนะครับ​👍
#DrOlan #แพทย์จีนโอฬาร #หมอตั้ม​ #แพทย์จีน​ #ฝังเข็ม​ #ทุยหนา #จัดกระดูก​ ​#กล้ามเนื้อสลาย​ #กล้ามเนื้ออ่อนแรง #ปวดกล้ามเนื้อ​ #ปวดข้อ​ #ออกกำลังกายหนัก​ #ไตวาย​ #หัวใจเต้นผิดจังหวะ​ #Rhabdomyolysis​ #ฝังเข็มกรุงเทพ​ #ฝังเข็มพระราม3 #ฝังเข็มมีนบุรี​ #ฝังเข็มร่มเกล้า​ #จัดกระดูกร่มเกล้า​ #จัดกระดูกมีนบุรี​ #จัดกระดูกกรุงเทพ​
ถ้าสนใจในการรักษาหรือขอคำปรึกษา สามารถนัดหมาย ผ่านทาง inboxเพจ บ้านหมอตั้ม หรือติดต่อผ่านLine Official http://line.me/ti/p/~@fnf6372u ได้นะครับ​
โฆษณา