27 ม.ค. 2023 เวลา 02:43 • การเกษตร

"พืชเศรษฐกิจของเกษตรกรชาวใต้"

เราปฏิเสธไม่ได้ว่า พืชที่เกษตรกรชาวใต้นิยมปลูกกันในช่วงแรกนั้นคือ ยางพารา ต่อมาเริ่มมีการปลูกปาล์มน้ำมันกันเพิ่มขึ้น ในปัจจุบันก็เป็นยุคของ ทุเรียน เนื่องจากเกษตรกรชาวไทยนั้นจะมุ่งเน้นไปที่ผลผลิตที่มีราคาสูง เนื่องจาก ยังไม่มีความรู้ในการแปรรูปและการแปรรูปนั้นลงทุนสูง
ยุคที่พีคสุดของยางพาราคือ ช่วงที่ยางพาราแผ่นดิบราคากิโลกรัมละประมาณเกือบสองร้อยบาท ทำให้ทางรัฐบาลได้ออกนโยบายอีสานเขียว กระตุ้นให้ทางภาคอีสานได้มีการปลูกยางพารามากขึ้น เพื่อให้เกษตรกรทางภาคอีสานมีรายได้เพิ่มขึ้น แต่พื้นที่ทางภาคอีสานนั้นไม่เหมาะกับการปลูกยางพารา ฝนตกน้อยทำให้น้ำยางมีความข้นสูง แปรรูปเป็นยางแผ่นดิบได้ยาก ณ ปัจจุบันนั้น ที่ภาคใต้เริ่มไม่เหมาะที่จะปลูกยางแล้ว เนื่องจากฝนตกชุกมาก ราคายางไม่ดี ทำให้แรงงานนั้นหายาก
ทุเรียน ถือว่าเป็นพืชเศรษฐกินตัวใหม่ที่มีคนนิยมปลูกกันมาก เนื่องจากราคาผลผลิตดีมาก คนจีนนิยมรับประทานกัน เพราะ มีรสชาติหวานอร่อย ตีถ้าคนไม่ชอบกลิ่น ก็จะไม่ชอบไปเลย ถึงราคาจะดี แต่ทุเรียนเป็นพืชที่ดูแลยาก มีศัตรูพืชเยอะ และตายง่าย ต้องใช้ความอดทนและความใส่ใจในการดูแลมาก ได้เงินมาเป็นเงินก้อน ความเสี่ยงสูง เนื่องจาก ถ้าเราลงทุนใส่ปุ๋ย ฉีดยาไปแล้ว แต่ผลผลิตได้ไม่เต็มที่ มีโอกาสขาดทุนได้ง่ายๆ
ปาล์มน้ำมัน ปัจจุบันเริ่มมีการปลูกปาล์มน้ำมันเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีความต้องการเพิ่มมากขึ้น ช่วงโควิด 19 ระบาด มาเลเซียไม่สามารถส่งออกน้ำมันปาล์มได้ เนื่องจากไม่มีแรงงาน ทำให้ราคาปาล์มดิบดีดตัวไปถึงกิโลกรัมละ 12 บาท และภาคใต้เหมาะกับการปลูกปาล์ม เนื่องจากปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ต้องการน้ำเยอะ ถเามีปริมาณน้ำเยอะผลผลิตจะออหดีมาก และปาล์มไม่ต้องการการบำรุงเยอะ แต่ปาล์มต้องการปริมาณปุ๋ยที่สูง ใน 1 ปี ต้องใส่ปุ๋ย 3-4 ครั้ง เพราะ ถ้าไม่บำรุง ผลผลิตจะได้ไม่เต็มที่
โฆษณา