27 ม.ค. 2023 เวลา 05:16 • หนังสือ

รีวิวสรุปหนังสือ “Build” ถอดบทเรียนจากผู้สร้าง iPhone ตัวจริงที่ทุกคนไม่เคยรู้ !

💥 Part II : สร้าง product เจ๋ง ๆ แบบ iPod และ iPhone มีวิธีคิดแบบไหนครับ?
……………..
“Timing is Everything” ⏳
เวลาที่เหมาะเจาะนั้นสำคัญขนาดไหนครับ?
Tony Fadell ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้บอกว่า เค้าคิดสร้างอุปกรณ์อย่าง iPod มาตั้งนานแล้ว ก่อนจะได้มาทำจริงที่ Apple ครับ
2
เริ่มตั้งแต่เมื่อสมัยปี 1999 ที่ MP3 เริ่มเข้ามาแทนที่การฟังเพลงจากเทปหรือซีดี (เด็ก ๆ ยุคนี้อาจสงสัยว่ามันคืออะไร 55) สมัยนั้นยังไม่มีเครื่องเล่นเพลงที่เป็น mp3 หรือไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ ทำให้เวลาจะฟังเราก็ต้องฟังจากคอมพิวเตอร์ แต่ถามว่าคอมพิวเตอร์ที่เรามีในสมัยนั้นเนี่ย มันมีคุณภาพเสียงที่ดีหรือเปล่า ลำโพงที่ให้มากับคอมพิวเตอร์นั้นดีขนาดไหนครับ แน่นอนว่าคอมพิวเตอร์ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับฟังเพลง ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ฟังเพลงอย่างเครื่องเสียงคุณภาพดีในสมัยนั้นก็ไม่สามารถฟังเพลงจากไฟล์ MP3 ได้ครับ
Tony Fadell เห็น pain point ตรงจุดนี้จึงมีความคิดอยากสร้างอุปกรณ์ที่สามารถฟังเพลงในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ได้ คือเริ่มต้นจากเค้าคิดที่จะให้อุปกรณ์ตัวนี้สามารถแปลงไฟล์จากซีดีเพลงเป็น MP3 ได้ก่อนและตัวอุปกรณ์ต้องสามารถเก็บไฟล์เพลงได้จำนวนมาก เป็นลักษณะเหมือนตู้เพลงครับ
2
เค้าได้นำไอเดียนี้ไปนำเสนอ (pitch) กับบริษัทที่ชื่อว่า RealNetworks แต่ก็ไม่ได้รับการตอบรับ เนื่องจากในเวลานั้นยังไม่มีใครให้ความสนใจไอเดียนี้เท่าไหร่
หลังจากนั้น Tony Fadell เองก็ได้ยินไอเดียของทางบริษัท Phillips ที่อยากทำ Home theater ที่ผนวกเข้ากับเครื่องเล่น CD/DVD และสามารถเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ใหม่มากขณะนั้น ทำให้เค้าเอาไอเดียนี้ไปต่อยอดและพยายามเอามาทำเอง โดยตั้งบริษัทเล็ก ๆ แล้วหาพาร์ตเนอร์ที่สามารถช่วยทำการผลิต product ให้ได้
แต่แล้วเมื่อปี 2000 ก็เกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า “internet bubble burst” หรือ “Dot com bubble” นั่นเองเนื่องจากในช่วงปลายปี 90 นั้น มีบริษัทสตาร์ทอัพใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอินเตอร์เน็ตและเทคโนโลยีเกิดขึ้นมากมายใน Silicon Valley เงินลงทุนเรียกได้ว่าสะพัดมาก
และอย่างที่เราทราบกันแหละครับว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่การลงทุนอะไรพีคมาก ๆ จนเกินความเป็นจริงหลังจากนั้นก็เกิดฟองสบู่ครับ เงินทุนต่าง ๆ หายไปในชั่วข้ามคืน ทำให้ Tony Fadell ไม่สามารถหาเงินทุนมาสนับสนุนโครงการของเค้าได้ ทั้งที่เค้าตระเวนไปนำเสรอไอเดีย หรือ “pitch” งานไปกว่า 80 ครั้งให้กับ Venture Capital (VC) ต่าง ๆ
ซึ่งเค้าบอกว่าแม้ว่าไอเดียของโครงการเค้าจะเป็นที่สนใจมาก ๆ แต่ “Timing” ของโครงการที่เค้าคิดนั้นแย่มาก ๆ ทำให้ไม่สามารถดำเนินการต่อได้ครับ
หลังจากนั้นไม่นานเมื่อสถานการณ์ดีขึ้น ทาง Apple มีโครงการจะสร้างอุปกรณ์ฟังเพลงแบบพกพา “handheld” ตัวใหม่ เนื่องจากว่าในขณะนั้น Apple เองก็ค่อนข้างแย่ เนื่องจากยอดขายผลิตภัณฑ์หลักของเค้าในขณะนั้นซึ่งคือเครื่องคอมพิวเตอร์ “Mcintosh” ก็ตกลงอย่างมาก ทำให้ทาง “Steve Jobs” ที่เป็น CEO ของ Apple ในขณะนั้นต้องหาทางสร้าง product ตัวใหม่ที่จะนำ Apple กลับไปผงาดอีกครั้งครับ
1
และนั้นก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ Tony Fadell ได้มาร่วมงานกับ Apple และสร้าง iPod ขึ้นมา โดยประสบความสำเร็จอย่างมากในขณะนั้นด้วยสโลแกนอย่าง “1,000 songs in your pocket” ครับ Wowwww
💡 Tony Fadell นั้นให้ข้อคิดว่าไม่ว่าไอเดียคุณจะเจ๋งซักแค่ไหน แต่มันเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม ยังไม่มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อหนุน ยังไม่เป็นที่ต้องการของคนหรือคนยังนึกไม่ออกว่าจะใช้งานมันยังไงก็ยากนะครับที่ไอเดียนั้นจะเกิดขึ้นได้จริง
……………..
“Make the Intangible Tangible”
💡 ในการจะสร้างผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ประทับใจแก่ผู้ใช้งานนั้นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงก็คือ ประสบการณ์ของผู้ใช้งาน หรือ “user experience” นั่นเองครับ
1
แต่ประสบการณ์ที่พูดถึงนี้ต้องครอบคลุมทุกอย่างตั้งแต่ตัว ผลิตภัณฑ์เองไปจนถึงการใช้งานต่าง ๆ ด้วยนะครับ (whole experience) โดยการสร้างตัว prototype หรือตัวต้นแบบนั้นเราไม่เพียงแต่ออกแบบเฉพาะตัวผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่ต้องออกแบบทั้งในส่วนของบรรจุภัณฑ์ การใช้งานของลูกค้าด้วย คือต้องทำสิ่งที่เรามองไม่เห็นให้ออกมาเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด เพราะลูกค้ามักจะมองถึงสิ่งที่เห็นได้ชัดเจน (tangible) เราจึงจำเป็นต้องมองภาพของประสบการณ์ต่าง ๆ ให้ครบและทำออกมาให้เห็นได้ชัดครับ
2
👉🏻 Tony ได้ยกตัวอย่างในส่วนของ Nest thermostat ที่นอกเหนือจากตัว hardware ของผลิตภัณฑ์เองนั้น เค้ายังต้องมองไปถึงการออกแบบ application ในมือถือสำหรับผู้ใช้งานด้วย (สามารถปรับอุณหภูมิผ่านทาง application ในมือถือ) เนื่องจากจากการเก็บข้อมูลมานั้นผู้ใช้งานจะใช้เวลาส่วนใหญ่ถึง 70% ไปกับการใช้ application ครับ โดยเวลาที่ใช้กับตัวผลิตภัณฑ์เองนั้นเป็นเพียงแค่ 10% เท่านั้นเอง
2
นอกจากนั้นการออกแบบกล่องบรรจุผลิตภัณฑ์ก็ต้องสวยงาม ชื่อของสินค้าบนกล่องและสโลแกนต่าง ๆ บนกล่องนั้นก็ต้องเก๋และดึงดูดลูกค้าด้วยเช่นกันครับ
2
🌟 นอกเหนือจากที่กล่าวไปข้างต้น ยังมีอีกสิ่งที่ Nest thermostat เจ๋งมากคือในกล่องเค้าจะให้ชุดไขควงเอนกประสงค์เล็ก ๆ ที่มีหลาย ๆ หัวมาให้ด้วยครับ สำหรับให้ลูกค้าใช้สำหรับติดตั้งอุปกรณ์ของ Nest เอง แถมยังสามารถเก็บไว้ใช้ต่อได้อีก ซึ่ง Tony บอกว่าตัวชุดไขควงที่เค้าแถมมาให้นี่แหละครับคือทีเด็ดที่ทำให้ลูกค้าชอบและนึกถึง Nest เสมอ
2
อุปกรณ์อย่าง thermostat นั้นเมื่อติดตั้งเสร็จเรียบร้อย ลูกค้าก็ถือว่าจบและจะค่อย ๆ ลืมไปครับ แต่ตัวไขควงนี้ทำให้ทุกครั้งที่ลูกค้าหยิบชุดไขควงนี้มาใช้กัน ก็จะนึกถึง Nest อยู่ตลอดครับ ทั้ง ๆ ที่ตัวไขควงนี้แน่นอนว่าเพิ่มต้นทุนกับผลิตภัณฑ์อย่างแน่นอน แต่เค้ายอมลงทุนส่วนนี้เพราะเค้ามองว่ามันไม่ใช่เป็นเพียง “hardware tool” แต่มันคือ “marketing tool” ครับ (ใครอยากเห็นว่าหน้าตามันเป็นอย่างไร ลองเสิร์ชคำว่า Nest screwdriver ดูได้ครับ สวยและเท่มาก ๆ ครับ)
3
……………..
“Why Storytelling”
ผลิตภัณฑ์ที่ยอดเยี่ยมและอยู่ในความทรงจำของลูกค้านั้นคือ ผลิตภัณฑ์ที่มี story หรือเรื่องราวต่าง ๆ ของมันนั่นเองครับ โดยเฉพาะเรื่องราวที่บอกว่า “why” หรือทำไมจึงต้องมีผลิตภัณฑ์ตัวนี้ และทำไมลูกค้าถึงต้องใช้มันครับ ผลิตภัณฑ์ตัวนี้แก้ปัญหา หรือ pain point ให้กับลูกค้าได้ยังไง
1
👉🏻 Storytelling ที่ดีต้องประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้ครับ
✅ สามารถเข้าถึงอารมณ์และเหตุผลของลูกค้าได้ดี
✅ สามารถอธิบายสิ่งที่ยากให้เข้าใจง่ายได้
✅ สามารถทำให้ลูกค้านึกถึงปัญหาหรือ pain point ที่ได้ถูกแก้ไขอย่างไร
Tony บอกว่า Steve Jobs เป็นคนที่เก่งมาก ๆ ครับในเรื่องของ storytelling ใครยังไม่เคยดูคลิปเปิดตัว iPhone สามารถไปหามาดูได้ครับ จะเห็นได้ว่า Steve Jobs จะใช้เวลาในช่วงแรกค่อนข้างมากในการอธิบาย why และ pain point ของโทรศัพท์ smartphone แบบเก่าครับ
2
……………..
“Evolution VS Disruption VS Execution”
สำหรับการสร้างผลิตภัณฑ์นั้น แน่นอนว่าจะมีออกมาหลายเวอร์ชั่นหรือหลายรุ่นตามการพัฒนาผลิตภัณฑ์นั่นเอง (เช่น พวก iPhone ปาเข้าไป 14 รุ่นแล้วไม่นับรุ่นย่อย S อีก)
แนวคิดหากเราเริ่มสร้างหรือออกแบบผลิตภัณฑ์นั้นควรจะเป็นอย่างไรครับ? 🧐
💡 “V1” หรือ เวอร์ชั่นแรก (รุ่นแรก) นั่นควรจะเป็นอะไรที่ disruptive ไปเลย หรือเป็นไอเดียที่เปลี่ยนแปลงจากสิ่งที่มีอยู่แล้วในปัจจุบันหรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบธุรกิจที่มีอยู่แล้ว เค้าเน้นย้ำว่ามันต้อง “เปลี่ยนแปลง” บางอย่าง
แต่ Tony ก็ให้ข้อคิดว่าไอเดียที่ disruptive นั้นก็ไม่ได้การันตีความสำเร็จเสมอไป แถมหากสิ่งที่คิดออกมามันล้ำเกินไป คนส่วนใหญ่ก็อาจจะตามไม่ทันครับ!
โดยเค้ายกตัวอย่างตอนที่ Amazon ออกโทรศัพท์มือถือ “Fire Phone” ที่ตั้งใจให้สามารถนำไปสแกนทุกของทุกอย่างได้และสามารถทำลิ้งค์วิ่งไปค้นหาของชิ้นนั้น ๆ ในเว็บไซต์ของ Amazon ได้ ซึ่ง Tony ก็เคยให้คำปรึกษากับ Jeff Bezos ในเรื่องนี้ที่เค้าไม่เห็นด้วยในการทำโทรศัพท์มือถือที่มันมากเกินไป ในกรณีนั้นควรจะทำแค่ application ก็เพียงพอแล้ว ซึ่งหลังจากนั้น Fire Phone ก็ล้มเหลวไม่เป็นท่าครับ 😨
1
อีกตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ที่ล้ำมาก ๆ แต่ก็ยังไม่สามารถขายได้ก็คือ “Google Glass” ครับที่ ณ เวลาที่ออกมานั้น คนก็ยังไม่รู้ว่าจะเอาไปใช้ทำอะไร และตอบโจทย์อะไรได้
🔥 ไอเดียต้องแจ่มขนาดไหนถึงจะเรียกว่า disrupt ครับ?
Tony บอกว่ามันต้องขนาดที่ว่าทำให้คนหัวเราะเยอะใส่แนวคิดของคุณเลยครับ เหมือนตอนที่ Sony หัวเราะเยาะใส่ Apple ตอนที่จะออก iPod หรือเหมือนกับที่ Nokia หัวเราะเยาะใส่ Apple ตอนที่จะออก iPhone ครับ และเมื่อไหร่ก็ตามที่ผลิตภัณฑ์ของคุณเริ่มโดนเจ้าตลาดปัจจุบันรายใหญ่จับตามองหรือเริ่มตามมาฟ้องร้อง พยายามสกัดดาวรุ่งแล้วหละก็แสดงว่าผลิตภัณฑ์ของคุณประสบความสำเร็จในการ disrupt แล้วหละครับ ! เค้าบอกว่าหากเราเจอเรื่องแบบนี้ควรจะฉลองเลยครับ 555
เค้าได้เสริมเพิ่มอีกว่าในการออกผลิตภัณฑ์แต่ละเวอร์ชั่นนั้นอย่ามีฟีเจอร์อะไรใหญ่ ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงมาก ๆ หลายอย่างพร้อมกันเพราะจะทำให้ลูกค้าสับสนและไม่สามารถตามทันได้ โดยเค้ายกตัวอย่างว่านี่คือเหตุผลที่ตอนออก iPod ตัวแรกนั้นยังไม่ได้มาพร้อมกับ iTune music store ทั้งที่เค้าได้เตรียมการไว้แล้ว เพราะการที่คนต้องเปลี่ยนแปลงจากการฟังเพลงจาก CD มาเป็น MP3 ด้วยการใช้เครื่องเล่นแบบ iPod ก็ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดมากแล้วครับ เค้าเลยเก็บฟีเจอร์ตัว iTune store มาปล่อยในเวอร์ชั่นถัดไปแทนครับ
นั่นก็โยงมาถึงการออกผลิตภัณฑ์เวอร์ชั่นถัด ๆ ไป หรือ V2, V3 ในส่วนนี้เราไม่จำเป็นต้อง disrupt แล้ว แต่ให้พัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อยอกจาก V1 โดยใช้การ “evolution” แทน ซึ่งทำได้โดยอาศัยข้อมูลทีได้จาก V1 นั่นแหละครับว่าข้อด้อยคืออะไร คนใช้มี feedback อย่างไรมาพัฒนาต่อยอดนั่นเองครับ
1
……………..
“Design For Everyone”
👉🏻 Tony บอกว่าทุกอย่างที่เราต้องสร้างมันขึ้นมาล้วนแต่ต้องการการออกแบบทั้งนั้นครับ ไม่เพียงแต่ผลิตภัณฑ์ แต่การตลาด (marketing) กระบวนการทำงาน (process) ประสบการณ์ (experience) หรือแม้กระทั่งองค์กร (organization) ก็ต้องการการออกแบบเช่นกันครับ
💡 การออกแบบ (design) ในความหมายของเค้าคือ การที่เราคิดอย่างถี่ถ้วนถึงปัญหาและพยายามหาทางแก้ปัญหานั้น ๆ ครับ ซึ่งเค้าบอกว่าทุก ๆ คนควรจะทำและคิดแบบนี้ครับ
การเป็นนักออกแบบ (designer) ที่ดีนั้นต้องอาศัยการคิดมากกว่าการวาดรูปครับ หลายอื่นอาจนึกถึงคำว่า designer ที่หมายถึงการวาดรูปออกแบบที่สวยงาม แต่ Tony บอกว่าไม่จำเป็นครับ แก่นหลักของการออกแบบคือการคิดมากกว่าครับ ซึ่งหลักการออกแบบที่ดีนั้นจะมีอยู่สองหลักการครับ
1️⃣ ใช้หลัก design thinking ที่หลาย ๆ คนคงพอรู้จักครับ คือพยายามค้นหาความต้องการของลูกค้า หา pain point และพยายามทำความเข้าใจปัญหาแบบลึก ๆ เลยครับและหาทางแก้ปัญหานั้น ๆ ให้ได้
2️⃣ อย่ามองข้ามสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำจนชินครับ เพราะบางทีจะทำให้เรามองข้ามปัญหาที่มีอยู่จนเราละเลยเพราะชินกับมันไปแล้วได้ครับ เพราะหากเรามองไม่เห็นปัญหาแล้ว เราก็ไม่สามารถจะหาทางแก้มันได้ ถูกมั้ยครับ การเป็นนักออกแบบที่ดีควรจะคิดตลอดเวลาว่าจะปรับปรุงสิ่งที่เจออยู่เป็นประจำอย่างไรให้ชีวิตดีขึ้นครับ
2
……………..
“How To Spot A Great Idea” 💡💡💡
ผู้เขียนบอกไว้ว่าไอเดียที่ดีนั้นควรจะมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 อย่างนี้ครับ
1️⃣ ไอเดียนั้น ๆ ต้องมีเหตุผลของที่มา หรือ “why” ก่อนที่คุณจะสร้างหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ใด ๆ ขึ้นมา เราต้องตอบคำถามที่สำคัญนี้ให้ได้ก่อนครับว่าทำไมคนถึงต้องการมัน
2️⃣ ไอเดียนี้ต้องแก้ปัญหาบางอย่างของคนส่วนมากในชีวิตประจำวันของเค้าได้
3️⃣ เป็นไอเดียที่แบบอยู่ในหัวของเราตลอดเวลา แทบที่จะหยุดคิดเรื่องนั้นไม่ได้เลย ประมาณว่าอยากทำมาก ๆ
💥 นอกจากนี้ Tony ยังเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดเจนว่าไอเดียที่ดีนั้นต้องเปรียบเสมือน “pain killers” หรือยาแก้ปวดที่แก้ปัญหาให้เราได้ครับ มากกว่าที่จะเป็นวิตามินที่เรากินเพื่อเสริมสร้าง ซึ่งจริง ๆ เราไม่จำเป็นต้องกินก็ได้ ถูกมั้ยครับ? ในขณะที่หากคุณไม่ได้กินยาแก้ปวด คุณจะรู้สึกได้ทันทีและต้องการมันมาก ๆ เช่นกัน
……………..
“Deadline” ⏰
Tony Fadell แนะนำว่าเราควรจะตั้ง deadline ในการออก prototype ตัวแรกหรือ V1 นั้นให้เร็วที่สุดครับ ตามหลักการของ design thinking เลยครับ เพื่อออกมาให้คนลองใช้งานและเก็บข้อมูลเพื่อไปพัฒนาต่อยอดในเวอร์ชั่นถัด ๆ ไปครับ
หากไม่ตั้ง “hard deadline” หลาย ๆ ครั้งในองค์กรมักจะไม่ค่อยอยากจะรีบออก V1 ออกมาด้วยเหตุผลต่าง ๆ นานาที่ว่าอยากรอข้อมูลให้มากกว่านี้ อยากทำให้ดีกว่านี้ก่อน อยากรอให้สมบูรณ์มากกว่า อะไรทำนองนี้ครับ ซึ่งสิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ ไม่ได้ออกซักทีครับ เค้ายกตัวอย่างว่าสำหรับ iPhone ตัวแรกนั้นเค้าตั้งเป้าหมายที่ทำ prototype V1 ไว้ที่เพียงแค่ 10 สัปดาห์หรือ 2 เดือนครึ่งเท่านั้นเองครับ!
2
ซึ่งในตัวอย่างของ prototype ของ iPhone นั้นกว่าจะเข้าที่เข้าทางก็เป็น V3 แล้วหละครับ ซึ่งเค้าบอกว่าการจะได้มาซึ่ง V3 เราก็จำเป็นต้องออก V1, V2 ให้เร็วเพื่อที่จะเก็บข้อมูลครับ
หลักการที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งเลยนอกจากอย่าใช้เวลาเยอะแล้ว คืออย่าเพิ่งใช้เงินเยอะ แล้วก็อย่าเพิ่งใช้คนหลายคนในทีม ซึ่งมันจะทำให้มันเกิดปัญหามากมาย วุ่นวายและช้าครับ
……………..
“Three Generations”
ในการออกผลิตภัณฑ์นั้นอย่างน้อยจะต้องมี “3 generations” ก่อนที่คุณจะได้กำไรจากมัน ซึ่งลำดับมันจะเป็นแบบนี้ครับ
1️⃣ Not remotely profitable คือรุ่นแรกแน่นอนว่าคุณทำเพื่อจะทดลองตลาดและหาฐานลูกค้าเป็นหลัก ยากที่จะได้กำไร เราจำเป็นต้องยอมรับจุดนี้ ซึ่งหลาย ๆ บริษัทจะตายตรงจุดนี้ครับ
2️⃣ Making unit economics or gross margins รุ่นที่สองซึ่งเราจะต้องปรับปรุงบางอย่างมาแล้วและหาตลาดของสินค้าได้แล้ว ซึ่งควรจะเริ่มมี gross margin บ้างแล้วแต่จริง ๆ ก็ยังไม่ถือว่าได้กำไรเนื่องจากมันคงยังไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั่วไปอื่น ๆ อีก
3️⃣ Making business economics or net margins รุ่นที่สามนี่แหละครับที่เราควรจะเริ่มสร้างผลกำไรได้แล้ว
ซึ่งเค้าจะบอกว่ากว่าคุณจะคาดหวังกำไรจากผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่คุณสร้างเนี่ยมันใช้เวลาค่อนข้างนานนะครับ นอกจากที่ต้องใช้เวลาในการพัฒนาปรบปรุงผลิตภัณฑ์แล้ว รวมไปถึงการทำต้นทุนให้ต่ำลงเพื่อให้เกิดกำไร ส่วนตัวของลูกค้าเองก็ต้องการเวลาเหมือนกันครับในการปรับตัวและใช้งานผลิตภัณฑ์ใหม่และตัดสินใจเหมือนกันครับ
โดยเค้าได้เขียนบทสรุปง่าย ๆ เลยครับของการทำผลิตภัณฑ์ขึ้นมาก็คือ
“You make product. You fix product. You build business” 💥
“You make product. You fix product. You build business” 💥
“You make product. You fix product. You build business” 💥
1
(ในหนังสือเค้าเขียนประโยคนี้สามครั้งต่อกันแบบนี้เลยครับ 55)
……………..
📌 วิธีคิดในการออกแบบในแบบฉบับของ Tony Fadell โดยส่วนตัวผมมองว่าสามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานประเภทอื่นได้เช่นกันครับ เนื่องจากว่าไม่ว่าเราจะทำงานอะไรก็ตาม แน่นอนว่าเรามีงานที่ต้องส่งมอบต่อให้คนอื่น แม้ว่าจะเป็นคนในองค์กรด้วยกันก็ตาม เมื่อไหร่ก็ตามที่เราฝึกคิดแบบ “นักออกแบบ” มันจะทำให้งานของเรานั้นได้รับการยอมรับมากขึ้น ตอบโจทย์ความต้องการของผู้รับได้มากขึ้น ซึ่งน่าจะได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น และจะทำให้เรารู้สึกว่างานของเรานั้นมีคุณค่ามากขึ้นครับ...🌈
1
#BookReview #Build #TonyFadell #รีวิวหนังสือ #สิงห์นักอ่าน
……………..
ถ้าไม่อยากพลาดการติดตามการรีวิวหนังสือดี ๆ แบบละเอียดยิบ ฝากกด Like กดติดตามเพจ รวมถึงยังติดตามได้อีกหนึ่งช่องทางใน facebook : สิงห์นักอ่าน
โฆษณา