30 ม.ค. 2023 เวลา 23:00 • ปรัชญา

เข้าใจผิดต่อความรู้สึกผิด

โดย ภก.ดร.จันทรชัย ถวิลพิพัฒน์กุล Ph.D., LLL
เค้าโครงจากเรื่องจริง
ลูกสาวโสดอยู่กับแม่สองคน รักผูกพันกันมาก เพราะเหลืออยู่เพียงสองคน
ทุกเช้าลูกสาวออกไปทำงานนอกบ้าน
แม่อยู่บ้านคนเดียว เหงา เลยชวนเพื่อนข้างบ้านมาเล่นไพ่ เพื่อฆ่าเวลา
แต่ลูกสาวไม่ชอบ บอกแม่ว่าให้เลิกเล่นไพ่
แต่แม่เหงา ไม่มีอะไรทำ และไม่เห็นว่ามันจะเสียหายอะไร
เล่นสนุกๆ แค่อยากมีเพื่อนมาคุยเล่นแก้เหงาก็เท่านั้นเอง
ตกเย็นลูกสาวกลับบ้าน เห็นภาพแบบนี้แทบทุกวัน รู้สึกไม่พอใจ
บอกแม่หลายครั้ง แต่ก็ยังเหมือนเดิม
เย็นวันนึง ลูกสาวกลับถึงบ้าน
ไม่พูดอะไร แกเดินผ่ากลางวงไพ่เลย ทุกคนก็แตกกระเจิง
หลังจากนั้น ก็ไม่มีวงไพ่อีก
แม่เหงา อยู่คนเดียว ซึมเศร้า ไม่นานก็จากไป
ลูกสาวรู้สึกเสียใจมาก นึกถึงเหตุการณ์นั้นทีไร มันเจ็บปวด
แกโทษตนเองว่าคือต้นเหตุที่ทำให้แม่ต้องจากไปเร็ว
ตัวแกเองก็หดหู่ ท้อแท้ กลายเป็นคนขาดความมั่นใจ
รู้สึกผิดหวังตนเอง เครียด กดดัน กลายเป็นคนซึมเศร้า
เธอโทษตนเองตลอด
เธอรู้สึกผิด
เธอไม่ให้อภัยตนเอง
อะไรทำให้เธอเปราะบาง
เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นจริง เธอทำจริงๆ
เกิดเป็นความรู้สึกผิด เป็นปมลบในใจ
แต่ที่เธอไม่อาจก้าวข้ามมันไปได้ ลบไม่ออก สลัดไม่หลุด พลิกฟื้นตนเองไม่ได้
ศักยภาพถดถอย ซึมเศร้า
นั่นเป็นเพราะ เธอเข้าใจผิด
ความรู้สึกผิดนั้นมีอยู่จริง
แต่เธอเข้าใจมันผิด
มันคือการเข้าใจผิดต่อความรู้สึกผิด
ความเข้าใจผิดนี้เองที่คอยฉุดรั้งเธอไว้
มันต้องปรับความเข้าใจผิดนี้เสียใหม่
ความเข้าใจที่ถูกต้องคืออะไร
ทฤษฎีเส้นใยอารมณ์ EMOTIONAL FIBER THEORY ศาสตร์ฐานรากเพื่อความมั่นคงภายใน
Hipot การปฏิรูปศักยภาพมนุษย์อย่างบูรณาการ
(Integral Human Potential Transformation)
4 มิติ ศาสตร์ชีวิตองค์รวมเพื่อความมั่นคงยั่งยืน
#ปมด้อย #ความรู้สึกผิด #แพ้ไม่เป็น #อ่อนไหว #เปราะบาง #เส้นใยอารมณ์ #ตัวตน #คุณค่า #ความเชื่อมั่น #อารมณ์ #ความเข้าใจผิด #การยอมรับ #การให้อภัย #ความมั่นคงทางอารมณ์ #EQ #พลิกฟื้นตนเอง #การถูกปฏิเสธ #ความผิดหวัง
โฆษณา