4 ก.พ. 2023 เวลา 11:00 • การศึกษา

## Episode22: The continuity of muscle and fascia ##

ทุกวันนี้เราเห็นว่าทุกคนเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับfasciaกันมากขึ้น เพราะโครงสร้างต่างๆในร่างกายของเราจะมีการเชื่อมต่อกันเป็นnetwork ผ่านพังผืดที่เราเรียกว่า “Fascia” ในบทนี้ผมจะพูดถึงเรื่องการเชื่อมต่อกันของmyofascial systemและคุณสมบัติเบื้องต้นของfasciaกันครับ
เริ่มกันจากโครงสร้างของกล้ามเนื้อ ถ้ายังจำกันได้ กล้ามเนื้อจะถูกแบ่งเป็นbundleเล็กๆซ้อนกันจำนวนมาก ตัวที่แบ่งแต่ละbundleออกจากกันนี้ก็เป็นfasciaแบบหนึ่ง
Deep fascia ที่อยู่ภายในกล้ามเนื้อจะเป็นตัวแบ่งกล้ามเนื้อเป็นแต่ละ compartment และยังมีการเชื่อมต่อกับbone, ligament, joint capsuleรวมถึงเชื่อมต่อกับfasciaที่หุ้มอวัยวะภายในต่างๆอีกด้วย
สำหรับfasciaที่หุ้มกล้ามเนื้อจะแบ่งเป็น3ชั้น โดยชั้นนอกสุดคือepimysiumที่คลุมทั้งmuscle belly, perimysium ที่หุ้มแต่ละfascicle และendomysiumที่หุ้มแต่ละmuscle fiber โดยที่หลอดเลือดและเส้นประสาทก็จะถูกหุ้มด้วยfascia และวิ่งอยู่ระหว่างแต่ละcompartmentด้วย และfasciaกลุ่มนี้จะรวมกันและเชื่อมต่อไปยังtendon, periostium ของboneอีกด้วย
นอกจากที่กล้ามเนื้อแล้ว fasciaยังเชื่อมต่อระหว่างโครงสร้างอื่นๆ ในบางตำแหน่งจะมีชื่อเรียกเฉพาะเช่น
- aponeurosis ที่จะใช้เรียกfascia ที่แบน กว่างแต่มีความหนา ทำหน้าที่เกาะข้ามarea กว้างๆเพื่อsupportโครงสร้าง เช่นepicranial aponeurosis ที่เกาะข้ามกะโหลกศีรษะ
- Retinaculum ที่จะใช้เรียกfascia ที่wrapตามข้อต่อต่างๆ เพื่อยึดให้tendon ยังอยู่ติดกับกระดูกตอนเคลื่อนไหว เช่นflexor retinaculum ที่หุ้มด้านflexorของข้อมือ เป็นต้น
สำหรับคุณสมบัติของfasciaนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายอย่างยกตัวอย่างเช่น
- Thixotropy การจะอธิบายคุณสมบัตินี้ต้องเริ่มจากอธิบายว่าfasciaนั้นเป็นcolloid คือมีส่วนที่เป็น solid particle ลอยอยู่ในของเหลว ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆถ้าเราเอาน้ำผสมแป้งเอาไว้ในแก้ว ถ้าเราคนสารนั้นเบาๆช้าๆการไหลจะสมูทเป็นปกติ แต่ถ้าเราพยายามจะคนสารนั้นเร็วๆเราจะเจอแรงต้านที่เพิ่มขึ้น(เราเรียกว่า drag) คุณสมบัตินี้เกิดขึ้นในfasciaเหมือนกันครับ ซึ่งเราเรียกว่าthixotropic property คือเมื่อเราapply แรงที่มากขึ้นลงไปบนfascia คุณสมบัติของfasciaจะเป็นของแข็งมากขึ้นนั่นเอง
- Elasticity คือfasciaมีคุณสมบัติของความยืดหยุ่น เพราะว่าfascia นั้นสามารถเก็บ energy จากloadที่มากระทบได้ จึงสามารถกลับสู่สภาพเดิมได้เมื่อเราเอาloadนั้นออก
- Creep phenomenon คือเมื่อfasciaได้รับloadเป็นเวลานาน จะสามารถเสียสภาพความยืดหยุ่นได้ชั่วคราว
- Plasticity คือเมื่อfasciaได้รับloadที่มากเกินไป หรือได้รับloadซ้ำๆจนเกิน elastic properties จะเกิดplastic deformation หรือการสูญเสียสภาพความยืดหยุ่นถาวรได้
- Piezoelectric properties คือการเปลี่ยนแปลงของประจุในhydrophilic molecule ทำให้สามารถabsorpน้ำได้มากขึ้น จึงทำให้fasciaยืดหยุ่นได้ดีขึ้นด้วย
นอกจากนี้ภายในfasciaยังมีreceptorอีกจำนวนมาก ทั้งgolgi receptor, mechanoreceptor(pacini, ruffini, interstitial) ดังนั้นfasciaจึงเป็นเหมือนsensory organอีกตัวหนึ่งที่มีความสำคัญของร่างกายครับ
กล้ามเนื้อและfasciaเป็นสิ่งที่เชื่อมต่อกัน และมีความสัมพันธ์กันในเชิงfunction แรงใดๆไม่ว่าจะเป็นการรักษาที่เราให้หรือแรงภายในต่างๆ ก็จะส่งผลต่อทั้งกล้ามเนื้อและfasciaแบบแยกกันไม่ได้ ดังนั้นการที่เราจะพูดถึงระบบกล้ามเนื้อ(Muscular system) เราควรจะเรียกว่าเป็น Myofascial system จะเหมาะสมกว่า และทุกๆระบบในร่างกายจะsupport กันผ่านtensionของfascia เป็นระบบที่เราเรียกว่า “Tensegrity system”
ร่างกายของเราจะอยู่ได้ก็ต่อเมื่อ ร่างกายอยู่ในtensionที่สมดุลเหมาะสม ไม่ตึงเกินไป ไม่หย่อนเกินไป และsupportซึ่งกันและกัน เมื่อจุดใดจุดหนึ่งมีปัญหาหรือมีการเปลี่ยนแปลงของtension ในบริเวณอื่นๆของร่างกายก็จะต้องพยายามปรับตัวเพื่อให้ร่างกายอยู่ได้ สิ่งนี้เราเรียกว่า “compensation”
ซึ่งการcompensationนี้ก็อาจจะเกิดเพื่อcompensateตัวอื่นอีกทีหนึ่งก็ได้ ดังนั้นการที่คนไข้คนหนึ่งจะเจ็บมาเจอเรา ถ้าไม่ได้เกิดจากacute accident อาการที่เกิดขึ้นนั้นจะต้องเกิดการสะสมมามากขนาดที่ร่างกายcompensateไม่ไหวนั่นเอง
ดังนั้นเราที่เป็น PT เวลาเจอเคสใดก็ตาม เราไม่ควรมองแค่ local ว่าเรากำลังรักษาที่จุดนั้น แต่เราต้องคิดไว้เสมอว่าเรากำลัง treat บนจุดใดจุดหนึ่งใน tensegrity system จุดที่เรากำลังรักษานั้นอาจจะเป็นตำแหน่งที่เป็นcompensate มาจากจุดอื่นก็ได้ จุดที่เป็นปัญหาเด่นที่สุดที่เราต้องแก้อาจจะมาจากvisceral organหรือโครงสร้างต่างๆที่ไม่ใช่musculoskeletalก็ได้ หรืออาจจะมีจุดอื่นที่ส่งผลต่ออาการที่เป็นมากกว่าจุดที่เรากำลังรักษาอยู่ก็ได้นะครับ
ปัจจุบันนี้ก็มีหลายๆเทคนิคที่เริ่มให้ความสำคัญกับ tensegrity system มากขึ้นเช่น anatomy train ที่พูดถึงmyofascial lineที่เชื่อมโยงกันผ่านจุดเกาะของกล้ามเนื้อ รวมถึงในdeep front lineที่ผ่านเข้าไปเชื่อมกับกลุ่มของdiaphragmและสัมพันธ์กับvisceral organ หรืออีกหลายๆเทคนิคที่approach กับ fascia บนvisceral organ ก็จะทำให้เราสามารถรักษาคนไข้ได้ครอบคลุมtensegrity system มากขึ้นครับ ใครสนใจก็ลองศึกษาเพิ่มเติมกันดูได้นะครับ
ถ้าชอบเนื้อหาแบบนี้ผมฝากกด like กดแชร์ กดติดตามเพจphysioupskillด้วยนะครับ ส่วนถ้าใครมีข้อสงสัยอะไรก็commentไว้ด้านล่างได้เลยครับ
_PhysioUpskill_
#Physioupskill
⭐สำหรับใครที่อยากเรียนรู้เพิ่มเติม สามารถอ่านบทความอื่นๆได้ที่ https://physioupskill.com/บทความ/
หรือดูรายละเอียดคอร์สเรียนของเพจได้ที่ https://physioupskill.com/คอร์สเรียน/
ได้เลยครับ
Ref.
Muscolino, J. E. (2016). Kinesiology: The Skeletal System and Muscle Function. Mosby.
Foster, M. A. (2019). Therapeutic Kinesiology: Musculoskeletal Systems, Palpation, and Body Mechanics (1st ed.). Pearson.
Myers, T. W. (2014). Anatomy Trains: Myofascial Meridians for Manual and Movement Therapists. Elsevier Gezondheidszorg.
Chaitow, L. (2018). Fascial Dysfunction: Manual Therapy Approaches. Van Haren Publishing.
โฆษณา