7 ก.พ. 2023 เวลา 13:00 • สุขภาพ

งานหนักไม่เคยฆ่าใคร ? “คาโรชิ ซินโดรม” โรคทำงานหนักจนตาย

งานหนักไม่เคยฆ่าใคร ? ทำความรู้จัก “คาโรชิ ซินโดรม” โรคทำงานหนักจนตาย มีอาการอย่างไร ปัจจัยเสี่ยงเเละวิธีป้องกัน
รู้ไหมว่า องค์การอนามัยโลก WHO ระบุว่า คนทำงานกว่า 55 ชั่วโมงขึ้นไปต่อสัปดาห์ มีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น 35% และเสี่ยงเสียชีวิตจากโรคหัวใจเพิ่มขึ้น 17% เมื่อเทียบกับคนที่มีชั่วโมงการทำงานมาตรฐานที่ 35-40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ขณะที่ข้อมูล ในปี 2016 มีผู้เสียชีวิตจากการทำงานหนักมากถึง 745,000 คน เพิ่มขึ้น 29% เมื่อเทียบกับปี 2000 โดยจำนวนผู้ที่เสียชีวิตจากการทำงานหนักนี้ แบ่งออกเป็น เสียชีวิตจากเส้นเลือดในสมองแตก 398,000 คน เสียชีวิตจากโรคหัวใจ 347,000 คน เเละจากสถิติขององค์การอนามัยโลกก็ยังพบอีกว่าประชากรโลกกว่า 9% เป็นคนที่ต้องเผชิญกับการทำงานหนัก
ข่าวคราวในบ้านเราก็เคยเกิดขึ้นหลายเคส ซึ่งล่าสุด 5 ก.พ. 2566 เพจจอดับ โพสต์กรณี นักจัดผังรายการ วัย 40 กว่า ทำงานหนักมาอย่างต่อเนื่องฟุบเสียชีวิตคาโต๊ะทำงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) อยู่ระหว่างตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพการจ้างงานว่านายจ้างปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่
จากกรณีดังกล่าว ทำให้ต้องหวนกลับมาพิจารณาประโยคที่ว่า “งานหนักไม่เคยทำให้ใครตาย”จริงหรือไม่ เพราะในความจริงแล้วหลายเคสก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าการทุ่มเททำงานหนักสร้างผลกระทบต่อสภาพร่าง กายเเละจิตใจ
ในประเทศญี่ปุ่นหลายปีก่อนก็มีภาวะที่คนทำงานหนักจนเสียชีวิตหรือที่เรียกว่า “คาโรชิ” (Karoshi) ซึ่งเกิดจากการทำงานหนักจนพักผ่อนไม่เพียงพอ เครียด อ่อนเพลีย จนเกิดความผิดปกติต่อร่างกายและอารมณ์ นำไปสู่การเสียชีวิตในที่สุด ในปี 2013 มีคดีฟ้องเรียกค่าชดเชยกรณีที่พนักงานเสียชีวิตจากการทำงานถึง 1,456 คดี ขณะที่ในปี 2020 มีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากโรคคาโรชิมากกว่า 2,800 รายการ เพิ่มขึ้น 43% จนบริษัทญี่ปุ่นจำนวนมากให้พนักงานทำงานได้ 4 วันต่อสัปดาห์ ทำให้พนักงานมีความยืดหยุ่นมากขึ้น
คาโรชิ ซินโดรม (Karoshi Syndrome)
2
โรคนี้เกิดจากการทำงานหนักติดต่อกันเป็นเวลานานจนไม่มีเวลาพักผ่อน ส่งผลให้เกิดความเครียด มีอาการอ่อนเพลีย เกิดความผิดปกติทางร่างกายและความผิดปกติทางอารมณ์ จนนำไปสู่การเสียชีวิตในที่สุด
โรคนี้ พบบ่อยในประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน และเกาหลีใต้ เพราะวัฒนธรรมที่กดดันเรื่องการทำงานอย่างหนัก ส่วนมากเกิดจากวัฒนธรรมการทำงานในองค์กรที่สร้างความกดดันให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้อย่างหนักจนก่อให้เกิดความเครียดในการทำงาน เช่น การตั้ง KPI ที่สูงเกินกว่าจะสามารถเอื้อมถึง รวมถึงชั่วโมงการทำงานที่มากเกินไป
2
อาการโรคคาโรชิ ซินโดรม (Karoshi Syndrome)
1.หมกมุ่นเรื่องงานแทบจะตลอดเวลา
2.ทำงานล่วงเวลาติดต่อกันเป็นเวลายาวนาน
2
3.เริ่มงานเร็ว และเลิกงานช้า ติดต่อกันเป็นเวลานาน
4.ไม่ค่อยได้ลางาน ไม่ว่าจะลาป่วย ลาพักผ่อน ลากิจ
5.เคร่งเครียดจากการทำงาน ทำงานภายใต้ภาวะกดดัน
6.นอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท อ่อนเพลีย ฝันถึงเรื่องงานบ่อยๆ
วิธีป้องกันคาโรชิซินโดรม
1.ควรรู้จักการทำงานให้พอดี ไม่ตรากตรำทำงานหนักจนเกินไป
1
2,แบ่งเวลาให้สำหรับการพักผ่อนหย่อนใจ
3,ทำกิจกรรมที่ชื่นชอบและมีความสุข
4,พักผ่อนให้เพียงพอ หากมีปัญหากับการนอน ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
5.ออกกำลังกาย
6.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
7.รู้จักการปล่อยวาง
8.ไม่นำงานกลับมาทำที่บ้าน หรือคิดต่อที่บ้านมากจนเกินไป
ปรัชญาการทำงาน Work Life Balance คือการบาลานซ์ชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวให้สมดุลกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่คนทำงานควรทำ เพราะการทุ่มเทให้กับการทำงานมากจนเกินไปอาจกระทบกับร่างกายเเละความสุขในชีวิตของเรา นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่อยากให้ทุกคนเริ่มหันมาสนใจ “ผลกระทบ” จากการทำงานหนักมากเกินไปเเละหันมาดูเเลสุขภาพร่างกายเเละจิตใจให้มากขึ้น
1
ข้อมูล : japantoday , WHO , asia.nikkei , npr.org
โฆษณา