10 ก.พ. 2023 เวลา 12:19 • หุ้น & เศรษฐกิจ

เธอกับฉันกับฉัน : ย้อนเวลาเล่าเศรษฐกิจไทยในปี 1999 (พ.ศ.2542)

“เธอกับฉันกับฉัน” เป็นหนังที่เหมือนพาเราเหมือนนั่งไทม์แมชชีนย้อนกลับไปในปี 1999 (พ.ศ. 2542) ทำให้หลายคนอดไม่ได้ที่จะหวนคิดถึงช่วงเวลาดีๆ ในอดีต และบังเอิญหนังเปิดตัวมาในช่วงที่กำลังมีกระแส “แบบ Y2K” พอดี ก็เลยยิ่งทำให้ผู้ชมสนใจหนังเรื่องนี้เป็นอย่างมาก
2
จากปี 1999 จนถึงตอนนี้ก็ล่วงเลยมากว่า 24 ปีแล้ว
จากเด็กวัยรุ่นยุคมิลเลนเนียลในวันนั้น คงจะกลายเป็นผู้ใหญ่วัยกลางคนกันไปหมดแล้ว หลายๆ คนก็อาจจะลืมเรื่องราวต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นไป
5
Bnomics ก็เลยอยากจะมาพาทุกคนย้อนความทรงจำกลับไปในช่วงนั้นเสียหน่อยว่าเรื่องราวเศรษฐกิจในช่วงนั้นเป็นอย่างไร
📌 เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวก่อนขึ้นสหัสวรรษใหม่
สำหรับประเทศไทย ปี 1999 เป็นปีที่ไปได้ดีอีกปีหนึ่ง เพราะดัชนีทางเศรษฐกิจต่างๆ เริ่มกลับมาเป็นบวก สะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยกำลังหลุดพ้นจากจุดที่แย่ที่สุดหลังวิกฤติต้มยำกุ้งไปแล้ว จึงเป็นปีแห่งความหวังสำหรับใครหลายๆ คน
ตัวเลขทางเศรษฐกิจในปี 1999 จากทางธนาคารแห่งประเทศไทย ชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยค่อยๆ ฟื้นตัวได้อย่างช้าๆ
1
เศรษฐกิจไทยเริ่มขยายตัวได้ราวๆ 4.6% หลังจากที่หดตัวติดต่อกันมา 2 ปี โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งขยายตัวได้ดีทั้งการบริโภคภาครัฐและเอกชน
ภาคการผลิตขยายตัวได้ดีในเกือบทุกอุตสาหกรรม โดยอุตสาหกรรมที่ขยายตัวได้อย่างรวดเร็วที่สุด คือยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องดื่ม การผลิตอาหาร การผลิตเหล็ก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นการส่งออก
1
ในด้านการเงินก็มีเสถียรภาพมากมากขึ้น ด้วยความที่เงินเฟ้อต่ำและสภาพคล่องทางเศรษฐกิจโดยรวมสูง ก็เลยกดอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำได้ทั้งดอกเบี้ยเงินฝาก และดอกเบี้ยเงินกู้ จึงกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ และกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้
ทางด้านภาคการต่างประเทศมีเสถียรภาพดีขึ้นเช่นกัน เนื่องจากการส่งออกเติบโตขึ้น และมีเงินลงทุนไหลเข้าจากต่างประเทศจึงช่วยไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดและบัญชีการชำระเงิน
คุณธารินทร์ นิมมานเหมินท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในขณะนั้น ได้เปรียบเทียบเศรษฐกิจเหมือนกับเครื่องบินที่มีเครื่องยนต์ 4 ตัว
● เครื่องยนต์แรก คือการใช้จ่ายภาครัฐ และการลดภาษี
● เครื่องยนต์ที่สอง คือ การลงทุนจากต่างประเทศ
● ซึ่งเครื่องยนต์ทั้งสองนี้กำลังเดินเครื่องอย่างเต็มที่เพื่อดึงเศรษฐกิจขึ้นมาจากภาวะถดถอย
1
● เครื่องยนต์ที่สาม คืออุปสงค์ของผู้บริโภค ซึ่งพลิกกลับมาได้ทันเวลาพอดี
● เครื่องยนต์สุดท้าย คือการลงทุนภาคเอกชน ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ที่มีพลังมากที่สุดในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ กลับยังเอื่อยๆ อยู่
● แต่ทุกอย่างรวมๆ กันก็ชี้ให้เห็นว่า เครื่องยนต์ที่มีกำลังพาประเทศไทยหลุดจากหล่มเศรษฐกิจถดถอยที่ติดมา 2 ปีแล้ว ช่วงเวลานั้นจึงเป็นเหมือนแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ที่หลายคนรอคอย ช่วงเวลาแห่งการก้าวสู่สหัสวรรษใหม่ที่เต็มไปด้วยความหวังกำลังจะเริ่มต้นขึ้น
1
รายงานของ World Bank และ IMF ก็ช่วยยืนยันว่าเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวแล้วจริงๆ โดยในมุมมองของ World Bank การฟื้นตัวนั้นมาจากหลายปัจจัย อาทิ
  • นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจการคลัง
  • การส่งออกเติบโตได้ดี (สอดคล้องกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาค)
  • ภาคอุตสาหกรรมเริ่มฟื้นตัว
  • อุปสงค์ภายในประเทศเพิ่มขึ้น
  • ความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกประเทศลดลง
  • เงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำคงที่
📌 สิ่งที่เปลี่ยนไป จากสภาพเศรษฐกิจที่ถูกเปลี่ยนแปลง
1
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้ดี แต่ผลจากนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจในขณะนั้น ก็ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงเป็นวงกว้างในระบบเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็น
1) การให้ความสำคัญเรื่องของการมีธรรมาภิบาลที่ดีในการบริหารธุรกิจ
ต่างชาติเริ่มเข้ามาควบคุมกิจการในไทยมากขึ้น เช่น บริษัทข้ามชาติ บริษัทที่ปรึกษา และ funding agency เนื่องจากหลังวิกฤติต้มยำกุ้ง
1
2) ทั้งภาคการเงินและการธนาคาร เปิดรับผู้เล่นจากภายนอกประเทศมากขึ้น และมีการพึ่งพาเงินกู้จากหน่วยงานระหว่างประเทศมาก เช่น IMF และ World Bank มากขึ้น ส่งผลให้ทั้งสองหน่วยงานนี้ก็ได้วางเงื่อนไขให้แก่ประเทศไทย ในเรื่องของการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและรัฐบาล ทำให้นโยบายรัฐบาลที่ออกมาในขณะนั้นเป็นไปในทิศทางที่หน่วยงานระหว่างประเทศวางไว้
3) เครือข่ายของธุรกิจครอบครัวเจ้าสัวของจีนเริ่มแยกตัวจากกัน เนื่องจากปัญหาการบริหารที่อ่อนแอ ซึ่งเป็นจุดอ่อนของการบริหารสไตล์กงสี
ถึงแม้มุมมองต่อเศรษฐกิจจะเริ่มเป็นไปในแง่ดีมากขึ้น แต่คนไทยก็ยังคงต้องแบกรับภาระจากวิกฤติเศรษฐกิจ เช่น การที่ภาษีอยู่ในระดับสูง รายได้น้อย ปัญหาการว่างงาน ค่าครองชีพสูง ค่าเงินบาทถูกลดมูลค่า และการที่รัฐบาลต้องปรับลดการใช้จ่ายลง
5
4) รัฐบาลจึงให้ความสำคัญกับเรื่องเศรษฐกิจมากกว่าเรื่องปัญหาสังคม ทำให้ปัญหาสังคมเริ่มผุดออกมาให้เห็นชัดขึ้น เช่น โรคเอดส์ ปัญหาความยากจน ปัญหาการว่างงาน อาชญากรรม, การค้าประเวณีเด็ก ยาเสพติด
2
5) ภาพจำของปี 1999 จึงถือเป็นหมุดหมายของการก้าวเข้าสู่สหัสวรรษใหม่ ช่วงเปลี่ยนผ่านจากโลกยุคอนาล็อก เข้าสู่ยุคดิจิทัล ช่วงเวลาแห่งความหวังในวันใหม่ และก็เป็นเส้นแบ่งระหว่างโลกในแบบเก่า กับโลกในแบบใหม่ที่เต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลงมากมายเช่นกัน…
2
ผู้เขียน : ชนาภา มานะเพ็ญศิริ Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References :
Bowornwathana, B. (2000). Thailand in 1999: A Royal Jubilee, Economic Recovery, and Political Reform. Asian Survey, 40(1), 87–97. https://doi.org/10.2307/3021224
เครดิตภาพ : GDH 559 Co.Ltd

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา