13 ก.พ. 2023 เวลา 09:09 • ธุรกิจ

ถ้าคุณพูดด้วยภาษาที่เขาเข้าใจได้ สิ่งนั้นจะไปที่สมอง แต่ถ้า !

พูดกับเขาด้วยภาษาของเขาเอง สิ่งนั้นจะเข้าไปในหัวใจ
Nelson Mandela (South Africa)
วาทะที่ 6 ของ 20 วาทะแห่งปัญญา
เจ้าของวาทะนี้ ก็คือ เนลสัน แมนเดลา เขาเป็นรัฐบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ ของประเทศแอฟริกาใต้ และเป็นผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักสู้เพื่อความเสมอภาคเพื่อยุติการเหยียดผิว ในแอฟริกาใต้นั้น อยู่ภายใต้การครอบงำของคนผิวขาวมาอย่างยาวนานถึง 350 ปี และการต่อสู้ของเนลสันอันยาวนาน ก็ทำให้แอฟริกาใต้ สามารถที่จะสถาปนามาเป็นรัฐที่ คนทุกสีผิวได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน และอยู่ร่วมกันด้วยความสมานฉันท์
สิ่งที่ทำให้คนทั้งโลกต้องทึ่ง ก็คือ การต่อสู้ของเขา ที่ทำให้เขาต้องติดคุก ที่ยาวนานถึง 27 ปีบนเกาะที่ห่างไกล แต่ระหว่างที่ติดคุกอยู่นั้น เขาก็ไม่ได้หยุดที่จะต่อสู้ เขาได้สมัครเรียนทางไกล จนกระทั่งสำเร็จการศึกษาด้านกฎหมาย
จึงเป็นที่มาของการปรับแนวทางการต่อสู้ใหม่ โดยผ่านการเจรจาต่อรอง ด้วยความร่วมมือจากเพื่อนๆที่อยู่ข้างนอก ก็ทำให้เขาได้รับการปล่อยตัวในวัย 71 ปี แล้วเขาเข้าสู่การเลือกตั้งในวัย 75 ปี และได้กลายเป็นประธานาธิบดีผิวสีคนแรกของแอฟริกาใต้ เขาได้ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ 5 ธันวาคม 2556 ด้วยวัย 95 ปี
อ่านเต็มๆที่ : https://thaipublica.org/2013/12/nelson-mandela/
วาทะที่ 6 นี้เป็นเรื่อง การสื่อสาร การสื่อสารเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ มนุษย์เราก็ได้ใช้ “ภาษา” ก็เป็นเครื่องมือในการสื่อสารหลัก มนุษย์ได้สร้างภาษาพูด และภาษาเขียนขึ้นมา เพื่อใช้ในการสื่อสารกันในกลุ่มของตัวเอง
คนในแต่ละภูมิภาค สามารถใช้ “รูปร่างหน้าตาที่แตกต่างกัน” เป็นอัตลักษณ์ ในการระบุตัวตน และเผ่าพันธ์ได้ และเรายังสามารถใช้ “ภาษาที่พูด” เป็นอัตลักษณ์ ในการระบุตัวตน และเผ่าพันธ์ได้ด้วย
ยกตัวอย่างเช่น เมื่อคนภาคกลาง เดินทางไปทางเหนือ เราจะเห็นคนทางภาคเหนือ มีผิวสี และหน้าตาที่จะแตกต่างจากคนภาคกลาง เราก็รู้ได้ว่าเป็น คนภาคเหนือ แต่ก็ไม่ได้หมายความ คนที่เราเห็นนั้นเป็น คนไทย แต่เราจะรู้ได้ว่าเขาเป็นคนไทยแน่นอน ก็เมื่อตอนที่ได้พูดคุยกันนั้นล่ะ
“ถ้าคุณพูดด้วยภาษาที่เขาเข้าใจได้ สิ่งนั้นจะไปที่สมอง”
 
ในเชิงจิตวิทยานั้น มนุษย์เราจะมีระบบการรับรู้ (เซนเซอร์ (sensor) หรือ ตัวรับข้อมูล) เมื่อคุณได้ยินเสียงที่เกิดจากการเปล่งเสียงของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นเพลง หรือ คำพูด ก็แล้วแต่ เราจะรับรู้โดยผ่านตัวรับข้อมูลที่อยู่ในหูของเรา เสียงที่ผ่านเข้ามาจะถูก สังเคราะห์ และจัดเก็บ
แต่ผลลัพธ์ที่ได้จากฟังในครั้งนั้น ก็คือ ได้ยินเสียง (เข้าไปในสมอง) แต่จะเข้าใจในความหมาย มากน้อยแค่ไหน เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
เราสามารถเอาแนวคิดนี้มาปรับใช้เพื่อการสื่อสารได้ เช่น เราได้ฟังเพลงที่เป็นภาษาอังกฤษ แม้เราจะรู้ความหมายในแต่ละคำศัพท์ แต่เมื่อเอามารวมกันเป็นประโยค เราก็อาจจะไม่เข้าใจความหมายจริงๆของผู้แต่งก็ได้ แต่แน่นอนเราอาจชอบท่วงทำนองของเพลง และมันก็ถูกจัดเก็บ และจดจำในสมองของเรา
หรือตัวอย่างที่ซับซ้อนขึ้นอีก คำพูดของ นักการเมือง นักการทูต การพูดของคนกลุ่มนี้ ฟังแล้วเข้าใจยาก ต้องตีความ เพื่อที่จะหาความหมายที่แท้จริง ในประโยคนั้น และสุดท้ายก็อาจไม่มีความหมายให้ต้องจดจำ
พูดได้ว่า การสื่อสารที่ดี จะทำให้เกิดการจดจำ นั้นก็คือ พูดในภาษาที่ผู้ฟังของเรา เขาเข้าใจได้ง่ายๆ เช่น การใช้ภาษาพูดให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย โดยที่พวกเขาฟังแล้วเข้าใจได้ โดยไม่ต้องตีความกันอีก
“แต่ถ้าพูดกับเขาด้วยภาษาของเขาเอง สิ่งนั้นจะเข้าไปในหัวใจ”
ประโยคนี้ล่ะของจริงเลย เพราะนี้ เป็นการสื่อสาร แบบเจาะจงไปที่กลุ่มเป้าหมายที่เราอยากจะสื่อสาร เราก็ควรจะพูดภาษาที่เขาเข้าใจ แน่นอนล่ะครับ ภาษา ที่จะสื่อสารให้ได้ดีที่สุดก็คือ ภาษาที่พวกเขาใช้ (ภาษากาย ภาษาพูด ภาษาเขียน)
การสื่อสารแบบนี้ ถือเป็น Touch Point ที่สำคัญ ในวงการตลาด เพราะถ้าทำได้ จะทำให้ได้มากกว่าลูกค้า นั้นคือ ได้สาวกกันเลย !
มาดู Case study ที่ประเทศไทยเราได้ทำการต้อนรับนักท่องเที่ยวจากประเทศจีน เมื่อต้นปีที่ผ่านมา เรื่องราวนี้น่าจะบอกได้ถึงการสื่อสารที่ได้ใจได้เป็นอย่างไร !
คลิปนี้เป็นการให้สัมภาษณ์ ของนายอนุทิน ที่ให้กับ สำนักข่าว CCTV ที่มาขอสัมภาษณ์ อันเนื่องจาก การกล่าวต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวจีน ที่เดินทางมาไทย เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2566 โดยคำกล่าวต้อนรับ และกล่าวอวยพรในวาระวันตรุษจีนให้ด้วย โดยกล่าวเป็นภาษาอังกฤษ และภาษาจีน
“ตอนที่ผมทำ ผมไม่ได้คาดหวังอะไร ผมพูดจากหัวใจ ผมจำได้ว่าเมื่อต้นเดือนมกราคม ผมไปที่สนามบินเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวจีน สื่อจีนบางสำนักสัมภาษณ์ผม และบอกว่าใกล้จะถึงวันตรุษจีนแล้ว ช่วยอวยพรตรุษจีน เป็นภาษาจีน ผมก็ทำให้ เท่าที่ผมจะทำได้ แต่ผมก็ไม่นึกว่าการสื่อสารของผม มันจะไปไกลขนาดนี้ ไม่คิดว่าจะมีคน 490 ล้านคนเห็นข่าวนี้ ได้ยินแบบนั้น ขนลุกเลย”
ถอดความโดยสำนักข่าว Topnew : https://www.topnews.co.th/news/581151
หมายเหตุ : Clip 490 ล้านวิวที่ว่านี้ ไม่มีในข่าวให้เห็นในไทย เพราะสำนักข่าวต่างประเทศ (น่าจะเป็นของจีน) เขาสัมภาษณ์ คุณอนุทินเอง ในช่วงของการต้อนรับนักท่องเที่ยววันที่ 9 มกราคม 2566 แล้วเขาเอาไปออกที่ประเทศเขา แล้วมันก็ Viral ไปทั่ว จนเกิดยอด 490 ล้านวิว !
490 ล้านวิว ไม่ใช่เล่นๆนะครับ นั้นคือประมาณเกือบ 50 % ของประชากรของประเทศจีนนะครับ ! ถ้านับช่วงเวลาแล้วการที่เอา Clip ไปออกอากาศจนได้ยอดนี้ รวมเวลาแล้วไม่เกิน 30 วัน (9 Jan – 4 Feb 2023)
หมายเหตุ : แม้แต่เพลง ‘LALISA’ ของหนูลิซ่า ยังแพ้เลย ! เพลง “Lalisa” ทะลุ 400 ล้านวิวบน youtube ยังต้องใช้เวลาถึง 121 วัน !
คนพูด เขาก็บอกว่า พูดจากใจ คุณว่าจะได้ใจ คนฟัง ไหมล่ะ แถมพูดเป็นภาษาของเขาด้วย อย่างนี้ได้ใจไปเลย
เรื่องนี้พิสูจน์ ประโยคที่ว่า “แต่ถ้าพูดกับเขาด้วยภาษาของเขาเอง สิ่งนั้นจะเข้าไปในหัวใจ” ได้เป็นอย่างดี
บทสรุป การที่จะใช้ภาษาอะไร ในการพูด ในการสื่อสาร ภาษาที่ใช้ก็ควรเป็นภาษาที่กลุ่มคนนั้นเขาใช้กัน
แต่ก็อย่าเหมาเอาว่า เราจะต้องพูดภาษาของคนอื่นไปทั้งหมดนะครับ
การพูดที่เป็นทางการมากๆนั้น เช่น นักการทูต ผู้นำของประเทศ จะใช้ภาษาของเขาเอง (ภาษาประจำชาติ) ก็เพื่อ ลดความผิดพลาด และมันเป็นการแสดงถึงศักดิ์ศรีของประเทศของตัวเองด้วย (แสดงถึงความเป็นเอกราข และการมีวัฒนธรรมของตัวเอง และภาษาก็คือ วัฒนธรรมอันหนึ่งของชนชาตินั้นๆ)
ส่วนการพูดนอกรอบ บนโต๊ะอาหาร หรือการหารือแบบไม่เป็นทางการ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งแล้วแต่ความถนัดของแต่ละบุคคล
 
แต่เราเห็น นักการเมืองหญิงหน้าใหม่ของไทย ไปให้สำนักข่าวสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ แล้วพูดออกมา มีภาษาอังกฤษปนกับภาษาไทยด้วย มันจะสื่อสารกันอย่างไรว้า ! คนไทยว่าไง ! แต่คนต่างชาติเขาคง งง !
Cr. Anant.V (Tangram Strategic Consultant)
เคล็ดลับที่จะทำให้คุณประสบความสำเร็จในงานจัดซื้อ ..........มาเรียนรู้กับเราได้ที่นี้
แผนการอบรมเพื่อ “งานจัดซื้อ” สำหรับปี 2566 / 2023
ในปีนี้ Tangram Strategic Consultant เราจะมี class แบบ Online / Onsite
>สำหรับ Online 12 Classrooms สามารถดูรายละเอียดได้ที่
>สำหรับ Onsite 5 classrooms สามารถดูรายละเอียดได้ที่
#จัดซื้อมืออาชีพ #อบรมจัดซื้อ #20วาทะแห่งปัญญา
โฆษณา