15 ก.พ. 2023 เวลา 10:28 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

ไนโอเบียม ธาตุที่ชื่อเรียกเต็มไปด้วยเรื่องดราม่า

ธาตุไนโอเบียม นั้นถูกใช้ผสมเพื่อสร้างเหล็กกล้าไปจนถึงโลหะผสมคุณภาพสูง (Superalloy) มันจึงถูกใช้เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างที่ต้องการความแข็งแกร่งททานหลายอย่าง เช่น ท่อไอพ่นจรวดเมอร์ลินของบริษัทสเปซเอกซ์ นอกจากนี้ มันยังใช้ทำแม่เหล็กตัวนำยิ่งยวดในเครื่องเร่งอนุภาค LHC ด้วย
ที่สำคัญไนโอเบียมยังเป็นหนึ่งในโลหะที่ร่างกายเรามีโอกาสแพ้ต่ำมาก (Hypoallergenic) ในทางการแพทย์ใช้มันทำอุปกรณ์ปลูกถ่ายในร่างกายผู้ป่วยอย่างเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ
ประโยชน์ของธาตุไนโอเบียมนั้นเห็นๆกันอยู่มากมาย แต่หลายคนอาจไม่รู้ว่าการค้นพบธาตุนี้เต็มไปด้วยเรื่องราวที่ค่อนข้างดราม่าทีเดียว
ย้อนกลับไปปี ค.ศ. 1801 ชายชาวอังกฤษผู้มีนามว่า ชาร์ลส์ แฮตเชตต์ (Charles Hatchett) นำแร่โคลัมไบต์มาทำการทดลอง โดยแร่ดังกล่าวสหรัฐอเมริกาได้ส่งมาให้ทางพิพิธภัณฑ์บริติช (The British Museum) เขาศึกษาจนพบธาตุชนิดใหม่ในแร่โคลัมไบต์และได้ตั้งชื่อมันว่า ธาตุโคลัมเบียม ซึ่งมาจากชื่อของแร่และสื่อถึงประเทศอเมริกาด้วย
1
แร่โคลัมไบต์
แต่หลังจากนั้นไม่กี่ปี นักเคมีบางท่านทำการทดลองแล้ววิพากษ์วิจารณ์ว่าธาตุโคลัมเบียมนั้นไม่ใช่ธาตุใหม่แต่อย่างใด เขากล่าวว่าแท้จริงมันคือธาตุแทนทาลัมที่ถูกค้นพบในช่วงนั้นต่างๆหาก ไปมาๆ นักวิทยาศาสตร์เริ่มสับสนว่าสรุปโคลัมเบียมกับแทนทาลัมนั้นเป็นธาตุเดียวกันหรือไม่ เพราะมันคล้ายกันมากๆ
1
ช่วงหลังของชีวิต ชาร์ลส์ แฮตเชตต์ ได้หันหลังออกจากวงการวิทยาศาสตร์ ไปทำธุรกิจรถม้าจนรุ่งเรืองประสบความสำเร็จ
ชาร์ลส์ แฮตเชตต์ (Charles Hatchett)
อย่างไรก็ตาม ต่อมา ในปี ค.ศ. 1844 ไฮน์ริช โรส (Heinrich Rose) นักเคมีชาวเยอรมันทำการทดลองจนค้นพบว่าในแร่โคลัมไบต์มีทั้งธาตุแทนลาลัมและธาตุชนิดใหม่อยู่จริงๆ เขาตั้งชื่อธาตุดังกล่าวว่าไนโอเบียม ตามชื่อไนโอบีผู้เป็นลูกสาวของกษัตริย์แทนทาลัสในตำนานเทพเจ้ากรีก ซึ่งจะว่าไปมันก็มีความสอดคล้องกับเคมี เพราะชื่อของธาตุแทนทาลัมนั้นมาจากชื่อของกษัตริย์แทนทาลัส และธาตุไนโอเบียมและแทนทาลัมนั้นมีความคล้ายคลึงกันเชิงเคมีมาก
1
ไนโอเบียม
เรื่องทางวิทยาศาสตร์นั้นจบไปแล้ว แต่ที่เหลือเป็นเรื่องของมนุษย์
ประเด็นคือ ทั้งโคลัมเบียม และไนโอเบียมนั้นเป็นธาตุเดียวกัน แต่ถูกค้นพบโดยนักเคมีสองคนแตกต่างกันคนละช่วงเวลา นักวิทยาศาสตร์ทางฝั่งอเมริกานั้นชอบชื่อ โคลัมเบียม และใช้ชื่อนี้โดยทั่วกัน แต่ทางฝั่งยุโรปชอบชื่อ ไนโอเบียมมากกว่า
1
ในปี ค.ศ. 1914 วารสาร Nature มีการตีพิมพ์ความเห็นของนักเคมีผู้มีชื่อเสียงอย่าง F. W. Clarke โดยเขาให้ความเห็นว่าควรเรียกชื่อธาตุใหม่ว่าธาตุโคลัมเบียม เพราะชาร์ลส์ แฮตเชตต์ ค้นพบธาตุนี้และตั้งชื่อไว้คนแรก ชื่อไนโอเบียมที่ถูกตั้งมาทีหลังสมควรถูกเพิกถอนไป การใช้ชื่อไนโอเบียมนั้นไม่แฟร์ต่อผู้ค้นพบมัน อีกทั้งในการศึกษาของ ไฮน์ริช โรส ผู้ตั้งชื่อธาตุว่าไนโอเบียมยังมีข้อผิดพลาดด้วย ที่สำคัญชื่อโคลัมเบียมอย่างแพร่หลายทั้งในอเมริกาและอังกฤษแล้ว
แน่นอนว่า F. W. Clarke เป็นนักเคมีอเมริกัน
3
ส่วนท้ายของบทความโดย F.W. Clarke
ความขัดแย้งเรื่องชื่อธาตุเกิดเป็นการถกเถียงที่ไม่มีข้อยุติมาเนิ่นนานเป็นร้อยปี จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1949 ในงานประชุมเคมีระหว่างประเทศได้มีการเลือกใช้ชื่อ ไนโอเบียม และในปีต่อมาสหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ หรือ IUPAC ก็รับชื่อไนโอเบียมมาใช้จนถึงปัจจุบัน
เอาจริงๆต้องบอกว่าอย่างอเมริกานั้น ไม่ได้ยอมรับชื่อไนโอเบียมง่ายๆ แต่ยอมรับเพราะข้อต่อรองแบบยื่นหมูยื่นแมว กล่าวคือ อเมริกานั้นต้องการให้ทางยุโรปเลิกใช้ชื่อธาตุวุลแฟรม แล้วเรียกว่า ทังสเตน ซึ่งรายละเอียดของเรื่องนั้นไว้ว่ากันในอนาคตครับ
4
โฆษณา