17 ก.พ. 2023 เวลา 02:55 • ธุรกิจ

ChatGPT ผู้จุดชนวนสงคราม เทคโนโลยี AI

ปฏิเสธไม่ได้ว่าความสำเร็จของ ChatGPT แช็ตบอต AI ที่นอกจากจะตอบคำถามทั่วไปได้ สอบมหาวิทยาลัยผ่าน
สอบแพทย์ได้
แต่งเพลงเก่ง
แถมยังเขียนโคดเป็น..
เรียกได้ว่ามีความเป็นมนุษย์ และฉลาดจนกลายมาเป็นที่พูดถึงกันในวงกว้าง ทั่วทั้งโลก
9
จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไม หลัง ChatGPT เปิดตัวได้เพียง 2 เดือน ถึงสามารถเติบโตระเบิด จนมีผู้ใช้งานทะลุ 100 ล้านบัญชี เร็วสุดในประวัติศาสตร์
การเติบโตของแช็ตบอตรายนี้ เรียกได้ว่าไปกระตุกหนวดเจ้าแห่งเทคโนโลยีอีกหลายราย ที่มีหน่วยพัฒนา AI อยู่แล้ว ให้หันมาเข็นงานวิจัยและพัฒนา ไปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อมาร่วมในสงครามนี้ด้วย
1
แล้วสงครามธุรกิจ AI น่าสนใจขนาดไหน
ใครจะเข้ามาเป็นผู้ท้าชิงกันบ้าง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
จริง ๆ แล้ว ก็ต้องบอกก่อนว่า แช็ตบอต หรือระบบการโต้ตอบไร้มนุษย์ มีให้เราใช้มานานกว่า 20 ปีแล้ว
3
แต่ส่วนใหญ่จะเป็นเพียงการโต้ตอบตามคำที่ถูกเขียนและกำหนดไว้ล่วงหน้า
แต่ ChatGPT จะเป็นการเรียนรู้จากฐานข้อมูลที่มี และนำมาตอบกับเรา มีความเป็นผู้ช่วยเหลือ ฉลาด มีความคิดสร้างสรรค์ คล้ายกับเพื่อนเราคนหนึ่ง
2
โดย ChatGPT เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีหัวใจหลักก็คือ ปัญญาประดิษฐ์ ประเภท “Generative AI”
ด้วยการมีความคิดสร้างสรรค์คล้ายมนุษย์ ขีดความสามารถของ Generative AI จึงไม่ได้มีเพียงแค่ตอบคำถามได้
1
แต่ในความเป็นจริงแล้ว มันยังสามารถแต่งเพลง สร้างวิดีโอ เขียนโคดคอมพิวเตอร์ ไปจนถึงสามารถวาดภาพได้ เช่น Dall-E ของ OpenAI เจ้าของเดียวกันกับ ChatGPT ที่วาดรูปขึ้นได้จากเพียงแค่คำบรรยายด้วยเสียง
ปัจจุบัน OpenAI เจ้าของ ChatGPT มีผู้ถือหุ้นใหญ่คือ Microsoft หนึ่งในบริษัทเทคโนโลยีใหญ่สุดในโลก
โดยตัว Microsoft เอง ก็เป็นเจ้าแห่งซอฟต์แวร์องค์กรเบอร์หนึ่ง เป็นเจ้าของทั้งระบบปฏิบัติการ Windows มีส่วนแบ่งมากถึง 76%
 
- ธุรกิจ Office 365 ศูนย์รวมโปรแกรมทำงาน เช่น Microsoft Word, PowerPoint และ Excel ที่เราคุ้นเคย
- ธุรกิจ Bing ให้บริการเซิร์ชเอนจิน
- ธุรกิจ Azure ให้บริการคลาวด์
1
ความ Synergy ระหว่าง Microsoft และ OpenAI ก็คือ OpenAI จะเข้ามาใช้บริการศูนย์ข้อมูลจากธุรกิจคลาวด์ Azure แถมยังได้เงินอัดฉีดโดยตรงจาก Microsoft
3
แลกกับการที่ Microsoft จะได้ผลิตภัณฑ์จาก OpenAI นำไปเสริมธุรกิจหลักบน Office 365 และ Bing รวมถึงการหารายได้จากผลิตภัณฑ์โดยตรง ในรูปแบบค่าบริการรายเดือน
สรุปสถานการณ์ ณ ตอนนี้ ก็ไม่ต่างอะไรไปจากยักษ์ใหญ่ นั่นก็คือ Microsoft ได้อาวุธใหม่จาก OpenAI มาอยู่ในมือ นำโดย ChatGPT ที่ผ่านบททดสอบแล้วว่าสามารถใช้งานได้จริง ผู้ใช้งานกลับมาใช้งานอย่างสม่ำเสมอ
ดังนั้น ยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมตัวอื่น โดยเฉพาะที่มีธุรกิจข้องเกี่ยวกับทั้ง Microsoft และ ChatGPT จึงอยู่เฉยไม่ได้
รายแรกที่ถูกพูดถึงกันมากที่สุดเลย ก็คือ Alphabet เจ้าของ Google และ YouTube ที่เพิ่งล้มเหลวจากธุรกิจคลาวด์เกมมิงอย่าง Stadia ไปเมื่อปีก่อน
3
Google ได้ประกาศเปิดตัว “Bard” AI แช็ตบอต ซึ่งทาง
บริษัทได้เคลมว่าซุ่มวิจัยและพัฒนา AI ตัวนี้ มานานกว่า 6 ปีแล้ว
แล้วความท้าทายของสงครามเทคโนโลยี AI มีอะไรบ้าง ?
- ต้นทุนในการให้บริการ
จุดนี้ก็เรียกได้ว่าน่าสนใจ เพราะหลายคนมองว่าแช็ตบอตแบบ ChatGPT จะเข้ามาแย่งส่วนแบ่งเจ้าตลาดเซิร์ชเอนจินของ Google หรือไม่
1
รู้หรือไม่ว่าการที่เราถาม ChatGPT ในแต่ละครั้ง มีงานศึกษาหนึ่งคำนวณออกมาว่า ต้นทุนเฉลี่ยในการตอบคำถาม 1 ครั้ง จะมีมูลค่าราว 0.0142 ดอลลาร์สหรัฐ
ทีนี้ หากเราลองมาเทียบกับ Google Search ที่มีการค้นหาเฉลี่ย 8,500 ล้านครั้งต่อวัน
หากแช็ตบอต AI ต้องการเข้ามาแทนที่ Google ณ วันนี้ บริษัทจะมีค่าใช้จ่ายเฉพาะแค่ต้นทุนการตอบคำถาม 2,900 ล้านบาทต่อวัน หรือ 1,000,000 ล้านบาทต่อปี
1
ซึ่งจุดนี้ ก็เรียกได้ว่าเป็นต้นทุนในการทำธุรกิจที่สูง แต้มต่อของ ChatGPT ของบริษัท OpenAI คือการมี Microsoft เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่พร้อมให้เงินอัดฉีด
1
ตรงนี้ ก็ต้องมาดูว่าในอนาคต ChatGPT จะสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ และเข้ามาสนับสนุนธุรกิจหลักของ Microsoft ได้ดีขนาดไหน
- การหารายได้
ปัจจุบัน ChatGPT เอง มีการหารายได้จากค่าบริการพรีเมียมรายเดือน ราว 680 บาท
1
ต่างจากการหารายได้จากโฆษณาตามคีย์เวิร์ดแบบ Google Search
1
มุมมองของการหารายได้นี้ ก็เรียกได้ว่าเหมาะสม เพราะการฝังโฆษณาลงบนคำตอบที่ ChatGPT ตอบ ก็อาจจะเป็นไปได้ยาก
ลองจินตนาการดูว่าหาก ChatGPT เปิดให้ใช้งานฟรีแล้วตอบคำถามเรา อยู่ดี ๆ มีกล่องโฆษณาพ่วงท้ายติดมาด้วย หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของแพลตฟอร์มมีโฆษณาพ่วงอยู่
แน่นอนว่าคำถามจะเกิดขึ้นกับผู้ใช้งานทันทีว่าสิ่งที่ ChatGPT หรือแม้แต่ผลิตภัณฑ์จาก Generative AI ทั้งหมดที่สร้างขึ้นมาให้เรา มันน่าเชื่อถือ และมันถูกสร้างขึ้นมาเพื่อจูงใจเราจากผู้จ่ายเงินโฆษณาให้กับระบบหรือไม่
จากตรงนี้ เราก็อาจจะสรุปได้ว่า รูปแบบการหารายได้ของกลุ่มธุรกิจ Generative AI น่าจะมาในลักษณะเดียวกันกับ Netflix, YouTube Premium และ Spotify ที่จะเป็นแบบพรีเมียม ให้ลูกเล่นเยอะกว่า คิดเป็นการสมัครสมาชิกรายเดือน
2
อย่างไรก็ตาม ในแง่ของการนำ Generative AI เข้าไปเป็นส่วนเสริมของธุรกิจหลัก เช่น Microsoft Word, PowerPoint และ Excel โดยฝังเทคโนโลยีนี้เข้าไป เพื่อช่วยเหลือเราในการทำงาน ในรูปแบบของ Add-on
11
ถ้ามาในรูปแบบดังกล่าว ก็น่าจะจูงใจให้ผู้ใช้งานหันไปหาผู้เล่นที่มีฟีเชอร์เสริมแบบนี้มากขึ้นได้เหมือนกัน
แล้วปัจจุบัน มีผู้เล่นรายไหนที่ประกาศแล้วว่าจะเข้ามาเล่นในธุรกิจนี้บ้าง ?
- Google เปิดตัวแช็ตบอต AI แบบ ChatGPT แล้ว ชื่อว่า “Bard”
- Meta รายงานว่าจะลุยธุรกิจ โดยเฉพาะเจาะจงไปที่การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภท Generative AI ขึ้นมา
- Baidu ธุรกิจเซิร์ชเอนจินใหญ่สุดในประเทศจีน ก็ประกาศว่ากำลังพัฒนา Generative AI ของตัวเองที่มีชื่อว่า “Ernie Bot”
แถมล่าสุด ก็ยังมี NetEase ธุรกิจเกมจีน และ Alibaba อีคอมเมิร์ซใหญ่สุดในจีน รายงานว่าจะเข้ามาเล่นในธุรกิจนี้ เช่นกัน
แน่นอนว่าภาพของ Generative AI ในตอนนี้ยังไม่ชัดเจนเท่าไร เพราะอยู่ในช่วงเริ่มต้น
แต่สมรภูมิ AI ที่กำลังเกิดขึ้น ก็น่าจะเรียกได้ว่าเป็นเมกะเทรนด์สำหรับธุรกิจเทคโนโลยี พิสูจน์จากความสำเร็จของ ChatGPT
แม้จะเพิ่งผ่านไปเพียงไม่กี่เดือน
และครั้งนี้ ก็น่าจะต่างจากตอนที่ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ประกาศลุย Metaverse ที่แทบไม่มีบริษัทเทคโนโลยีรายอื่น มาร่วมวงด้วยเลย
1
เพราะในสงคราม AI ครั้งนี้ ชัดเจนว่าบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ ที่มีฐานผู้ใช้งานระดับพันล้านบัญชี ทั้ง Microsoft, Meta, Google และ Baidu ต่างก็กระโดดเข้ามาร่วมแข่งขันในตลาดเดียวกัน..
ใครอยากมีความรู้เรื่องตลาดหุ้น ลงทุนแมนแนะนำ หนังสือ BLACK SWAN เล่มนี้ ราคา 380 บาท ที่เล่าถึงความล้มเหลวก่อนที่จะสำเร็จของนักลงทุนในตำนาน 12 คน สามารถสั่งซื้อ ได้ที่
1
โฆษณา