16 ก.พ. 2023 เวลา 15:19 • บันเทิง

แมนฯยูฯ ของ เกลเซอร์

หรือ
เกลเซอร์ ของ แมนฯยูฯ
กันแน่
เอ็ด วู้ดเวิร์ด ผู้สร้าง
รากฐานระบบบริหาร?
เอริค เทน ฮาก คือ
คนที่ใช่ หรือ ยัง?
การที่ ทีมดังในอดีตที่มีแฟนคลับ
มากที่สุดในโลก ตกต่ำไปกว่า 10 ปี
กำลัง กลับมาติดลมบน
เป็นเพราะ **ใคร** และ **เพราะอะไร**
ก่อนอื่น เราต้อง กลับมาดูว่า ผีแดง กลับมา
ทำผลงานได้ดี แม้จะมีตัวบาดเจ็บ ก็มี
ตัวแทนในตำแหน่งต่างๆ ได้ โดย
ประสิทธิภาพ(Efficiency) และ ประสิทธิผล
(Successful) แทบจะไม่ลดลง
นอกจาก **ความเข้มข้น ในการแข่งขัน**
สำหรับ ทีม แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ที่
กำลังจะกลับมา ยิ่งใหญ่ เคียงบ่าเคียงไหล่
กับ ปืนโต อาร์เซนัล หงส์แดง
ลิเวอร์พูล ในปัจจุบัน
รวมถึง เชลซี ที่ศักยภาพพร้อม และหากได้
มูรินโญ่ กลับมา คำรบ3 ก็พร้อมติด Top5
ไม่ขอนับ เรือใบสีฟ้า แมนเชสเตอร์ซิตี้ ที่
กำลัง จะถูกปรับเงินมหาศาล ปรับคะแนน
ย้อนหลัง อาจถูกริบแชมป์ย้อนหลัง
ถ้าหาก รอให้จบเคส และไม่โดนลงโทษ
ก็ต้องนับเขา เป็น Top5 ของ
พรีเมียร์ลีค อังกฤษ
ชั่วโมงนี้ ต้องให้เครดิต ตระกูล เกลเซอร์
ที่สามารถยืนระยะรอ การกลับมายิ่งใหญ่
ซึ่งอาจจะไม่ขาย ทีม ออกไป ยัง สนุก
อยู่กับการปลุกปั้นทีมและได้กำไรต่อไป
สมาชิก ตระกูล เกลเซอร์
รายนามผู้อยากเป็นเจ้าของทีม
แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด จาก
การประกาศขาย ครั้งแรก
ของ ตระกูล เกลเซอร์
1. กลุ่มทุนอังกฤษ
เซอร์ จิม แรทคลิฟฟ์ Sir Jim Ratcliffe
แฟนแมนยูฯ โดยกำเนิด
มหาเศรษฐีชาวอังกฤษ ที่รวยที่สุด
ในอังกฤษ และเป็น เจ้าของ
กลุ่มบริษัท อิเนออส(Ineos)
2. ชาวอังกฤษ
David Beckham อดีตตำนานปีกขวา
เด็กปั้น เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ของผีแดงเอง
3. กลุ่มทุนสหรัฐอเมริกา
3.1. Apple บริษัทเทคโนโลยีระดับโลก
3.2. Amancio Ortega
เจ้าของแบรนด์เสื้อผ้า Zara
4. กลุ่มทุนกาตาร์
5. กลุ่มทุนซาอุดีอาระเบีย
เรามาดู Efficiency ของ ทีม
แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ในตอนนี้
ว่าทำไมเขาถึงจะกลับมา ยิ่งใหญ่ได้
จะกลับมา ยิ่งใหญ่
ด้านการแข่งขัน
เมื่อได้ผู้จัดการทีมคนใหม่ ชื่อว่า
เอริค เทน ฮาก
ผู้ทำทีมอาแจกซ์อัมสเตอร์ดัม จนโด่งดัง
มาคุมทีมช่วงแรกของฤดูกาล
เป็นไปไม่ค่อยดีนัก
ผ่านไป สิบกว่านัด
ทีมแพทเทิร์น ของ เทน ฮาก
เริ่มมี *ประสิทธิผล* ในการแข่งขัน
ถึงแม้จะยังไม่มี *ประสิทธิภาพ* มากนัก
ด้านขุมกำลังของทีม
มีการซื้อ ผู้เล่นมิดฟิลด์ เพิ่ม หลายคน
และ ผู้เล่นตำแหน่งเดิม ได้รับการเทรน
ผ่านมาหลาย ผจก. จึง
สามารถ เล่นตามระบบได้
มีการซื้อ กองหน้า กองหลัง เพิ่ม
เทน ฮาก พยายาม สร้าง
แผงมิดฟิลด์ ที่แข็งแกร่ง
และเป็นหัวใจของทีม
อีกทั้งมีการขอซื้อ มิดฟิลด์ที่
มีชื่อเสียงสูง จาก สโมสรต่างๆ ทั่วโลก
อย่าง ไม่มีขาดระยะ
โดยมีทีม แมวมอง ที่มี ประสิทธิภาพ
ทีมเจรจาต่อรอง ที่แข็งแกร่ง
ด้านการตลาด
ผีแดง เป็นทีม ที่มีแฟนคลับมาก
ที่สุดในโลก มานานแล้ว ตั้งแต่
ยุค เครื่องบินตก เสียชีวิตทั้งทีม
จึงทำให้ผีแดง มีคนติดตามข่าวสาร
ในสมัยนั้น รู้จักและสงสาร ทำให้ชื่อ
แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ติดปากคนทั้งโลก
และ ตามเชียร์เพราะความสงสาร
ส่งผล ให้ฐานแฟนคลับ กว้างขวางขึ้น
มากและเร็ว จึงทำให้ฐานการตลาด
ของผีแดง มีทั่วโลก ก่อนใคร
อีกทั้ง ผู้เล่นยุคต่อๆ มา
ก็สามารถเล่นได้เร้าใจแฟนๆ
ก่อนปัจจุบัน ช่วง
เฟอร์กูสัน ผู้ยิ่งใหญ่ จากไป
แฟนๆ โหยหา ความสำเร็จ
จาก ผู้สืบทอด
ไม่ว่าจะเป็น เดวิด มอยส์,
หลุยส์ ฟาน กัล, โฮเซ่ มูรินโญ่
จนถึง อดีตซุปเปอร์ซับคนดังของผีแดง
โอเล่ กุนนาร์ โซลชา รวมถึง ราล์ฟ รังนิค
ก่อนมาเป็น เอริค เทน ฮาก ในปัจจุบัน
ไม่มีใครสามารถ ทำทีมได้ชัยชนะ และ
ทีมแพทเทิร์น ชัดเจน แบบที่
เอริค เทน ฮาก ทำอยู่
จึงเป็นความหวังใหม่ ของ ชาวผีแดง
ที่เพิ่มขึ้น จากค่าความนิยมเก่า และ
จาก ค่าความนิยมที่เพิ่มขึ้น
ในฐานแฟนคลับของผู้จัดการ
ที่เข้ามาคุมทีมแต่ละคน
จึงทำให้ ฐานแฟนคลับ ของผีแดง
ไม่เคยตก มีแต่พุ่งขึ้น
แต่ ก็ มีเสียงก่นด่า ของเหล่าแฟนๆ
ที่ต่อว่าสโมสร
ผู้จัดการ แต่ละคน ไม่สามารถ
นำพาทีม ขึ้นเป็นทีมชั้นนำ ได้
และ แพะรับบาปนี้ ก็คือ
เอ็ด วู้ดเวิร์ด ซีอีโอของสโมสร
รวมทั้ง ตระกูล เกลเซอร์ อย่างมากมาย
ด้านการเงิน
ธรรมดา ของทีมฟุตบอล ที่ไม่ได้
ไป แข่งขัน ยูฟ่าแชมเปี้ยนลีค
(ยูโรเปี้ยนคัพ เดิม) จะไม่ได้รับเงิน
ค่าถ่ายทอดสดช่วยเหลือ
อีกทั้งห่างเหินถ้วยรางวัลต่างๆ
ยอดผู้ชมในสนาม ย่อมตกลงไป
การถ่ายทอด ลดลงไป ทำให้ผู้ชม
เริ่มจะลืมเลือน
ฐานรายได้ ก็เลยลดลงมาก
หลายทีม ดังในยุโรป ที่ไม่ได้ไป แข่ง
ถ้วย แชมเปี้ยนลีค และไม่ได้
ถ้วยรางวัลในประเทศและอื่นใด
จะทำให้การเงินสั่นคลอน
ส่งผลให้ ทีมตกต่ำ
ถึงขนาดตก Division ลงไป ก็มาก
แต่ ผีแดง กลับ ไม่เป็นเช่นนั้น
มีการแก้ไข ด้านการเงิน
แก้ช่องโหว่ รายจ่าย และ
หาเงินเข้าทีม โดย ขายสปอนเซอร์
โฆษณา, ดึงหุ้นส่วนย่อยเข้ามาใหม่ รวมทั้ง
การพยายามเพิ่มค่าความนิยม ในตลาดหุ้น
เพื่อให้มีงบประมาณ ในการบริหารทีม
ให้สามารถ รักษาดิวิชั่น และ รอ
วันฟื้นคืน ค่าความนิยม ในสโมสร จริง
โดยในช่วง ปี 2005 ผีแดง มีการดึง
ซีเอฟโอ (CFO) Chief Financial Officer
มารับตำแหน่ง ซีอีโอ (CEO)
ของสโมสร แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
ชายคนนั้น มีชื่อว่า เอ็ด วู้ดเวิร์ด
Ed woodward
Ed woodward
เครดิตภาพ
ด้านการบริหาร
ปี 2005 ตระกูลเกลเซอร์ กระจายซื้อหุ้น
จากผู้ถือรายย่อย จนได้ ถือหุ้นในราว 30%
จึงมีสิทธิ์โหวตในสภานโยบาย และ
ได้ประกาศขอซื้อหรือ Take over สโมสร
เพื่อถือหุ้นเกิน 50%
และสามารถทำได้สำเร็จ ตามประสงค์
แม้จะได้รับการคัดค้านจากแฟนคลับ
ดังนั้น ค่าความนิยม(goodwill) ของทีม จึงมี
1. ผู้ที่รัก ในสโมสร ยังคงติดตามต่อไป
2. ผู้ที่รัก ในสโมสร แต่แคลงใจ การบริหาร
ก็ยังคงติดตามต่อไป
3. ผู้ที่รัก ในสโมสร แต่ไม่ชอบใจ
ทีมบริหาร ก็ยังคงติดตามต่อไป ทั้ง
ผลการแข่งขัน และการบริหารงาน
ซึ่ง หลังจาก เปลี่ยน ซีอีโอ จาก
เอ็ด วู้ดเวิร์ด ที่สามารถ วางรากฐาน
ด้านการเงิน การตลาด
และ ระบบบริหารทีมแข่งขัน จาก
โนฮาว ของ ผู้จัดการทีม
หลายๆคนที่ วู้ดเวิร์ด
ดึงเข้ามาทำงานมา
เป็น
**ริชาร์ด อาร์โนล์ด**
ย่อมทำให้ทำงานง่ายขึ้น
จากระบบแปรเป็นศักยภาพ ที่
เอ็ด วู้ดเวิร์ด ทำไว้
ความดีความชอบ ในการเลือก ซีอีโอ
มาวางรากฐาน การบริหาร ต้องยกให้กับ
**ตระกูลเกลเซอร์**
ซึ่งหาก ไม่ใช่ เอ็ด วู้ดเวิร์ด มาวาง
รากฐานการเงิน แล้ว
ทีมผีแดงคงตกต่ำยิ่งกว่านี้ เพราะ
จะมี การเงินไม่ดี ทีมก็
เล่นไม่ดี มีสิทธิ์ตกดิวิชั่น
เครดิต ฝ่ายแปลงนโยบายเป็นแผนงาน
ต้อง ยก ให้กับ เอ็ด วู้ดเวิร์ด
เครดิต ฝ่ายนโยบายเลือกซีอีโอ
ต้อง ยก ให้กับ ตระกูลเกลเซอร์
โดย เอ็ด วู้ดเวิร์ด เคยดำรงตำแหน่ง
ที่ปรึกษาด้านการเงิน ให้กับ บริษัทยักษ์ใหญ่
ด้านการเงินการธนาคาร อย่าง เจ พี มอร์แกน
และเป็นคน ยุให้ ตระกูลเกลเซอร์ ที่เป็น
นักลงทุนหน้าใหม่ในวงการกีฬาอังกฤษ
ซื้อทีมผีแดง โดยจัดแผนการ
เข้าเทคโอเวอร์ให้
จึงกลายเป็นที่มาของความไว้ใจ
จาก ตระกูลเกลเซอร์ ให้
เอ็ด วู้ดเวิร์ด มารับตำแหน่ง ซีอีโอผีแดง
ถ้ามองลึกๆ แล้ว เอ็ด วู้ดเวิร์ด อยาก
บริหารสโมสรแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
จึงวางแผนให้ นายทุนซื้อทีม
โดยมี ตนเองบริหาร วางรากฐาน
การบริหาร ตั้งแต่ต้น
ซึ่งมันอาจไม่ประสบความสำเร็จ(Success)
ใน เจนเนอเรชั่นของ เอ็ด วู้ดเวิร์ด
แต่ เพียงไม่นาน
แววแห่งความสำเร็จ
ก็ปรากฎในยุคถัดมา
เพียงแค่ ริชาร์ด อาร์โนลด์ **ปรับจูน ระบบ**
ของ เอ็ด วู้ดเวิร์ด ที่เป็น
*หลักของโครงสร้างในการบริหาร*
เดวิด กิลล์
เครดิตภาพ
งานที่ง่ายขึ้นมาก ของ
ซีอีโอผีแดง คนปัจจุบัน
22 มิถุนายน 2565 เดลี่เมล สื่อดังเมืองผู้ดี
เผยภาพที่ ริชาร์ด อาร์โนลด์ CEO ใหม่
ของ ผีแดง ทีมอันดับ6 อังกฤษ
กำลังนั่งคุยกับ เดวิด กิลล์
อดีตซีอีโอ "ปิศาจแดง" ในยุคของ
เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน
ตำนานกุนซือผู้ยิ่งใหญ่ของสโมสร
ที่ร้านอาหารอิตาลีแห่งหนึ่งใน เชสเชียร์
เดวิด กิลล์ ถือเป็นซีอีโอ ที่
ประสบความสำเร็จในด้านการบริหารงาน
ของ แมนยูฯ มากที่สุดคนหนึ่งของสโมสร
หลังจากเป็นเบื้องหลังความสำเร็จ
ของ "เฟอร์กี้" มาอย่างยาวนาน
นับตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่ง
ผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน เมื่อปี 1997
ก่อนขึ้นมาเป็นCEO แบบเต็มตัว ในปี 2003
แทน ปีเตอร์ เคนยอน ที่ย้ายไป
ทำงานกับ เชลซี ทีมร่วม ลีก
ตลอด 16 ปีที่ แมนยูฯ มี เดวิด กิลล์
คอยดูแลด้านบริหารและการเงิน
สามารถกวาดถ้วยรางวัลมาครอง
มากมายถึง 23 ใบ ประกอบด้วย
พรีเมียร์ลีก 9 สมัย,
เอฟเอ คัพ 2 สมัย,
ลีกคัพ 3 สมัย,
ยูฟ่า แชมเปียนส์ลีก 2 สมัย,
แชมป์สโมสรโลก 2 สมัย และ
คอมมิวนิตี้ ชิลด์ 5 สมัย
ก่อนอำลาตำแหน่งในปี 2013
ปีเดียวกับที่ เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน
วางมือจากการเป็นผู้จัดการทีม
ในเมื่อ การรับนโยบายแปลงเป็นผลงาน
ของ วู้ดเวิร์ดสามารถ วางรากฐาน
ที่ไม่ทำให้ ตกดิวิชั่น ยังคงอยู่ ทุกด้าน
มันก็ต้องยกเครดิตให้กับ กลุ่มผู้วางนโยบาย
ให้กับ สโมสร ที่เข้ามาเทคโอเวอร์ แล้ว
บริหารสโมสร จนทำกำไร คืนทุน
ผลักหนี้เข้าสโมสร แต่ กระแสการเงิน
ไหลเพิ่มขึ้น สร้างค่าความนิยมเพิ่มขึ้น
ทั้ง ในด้านการตลาดสโมสร และตลาดหุ้น
โดยการ ปรับเปลี่ยน โครงสร้าง
การบริหารสโมสรและ ปรับเปลี่ยน
โครงสร้างการพัฒนาทีม
ถึงต้องบอกว่า ที่ผีแดง
กลับ มาผงาด อีกครั้ง
เพราะ การวางรากฐาน
ระบบการบริหาร
โดย * *เอ็ด วู้ดเวิร์ด**
ที่ได้รับ ความไว้เนื้อเชื่อใจ
จาก บอร์ดนโยบาย
ซึ่ง ต้องยกให้
**ตระกูลเกลเซอร์**
ที่มอบให้ วู้ดเวิร์ด เป็น
**ซีอีโอ วางระบบ**
ซึ่ง วู้ดเวิร์ด ก็ เอาระบบนี้
ไปสร้างเป็นระบบบริหารทีม
โดยดึง ผู้จัดการเก่งๆ เข้ามาเรื่อยๆ
มาซ่อมรอยรั่ว แก้ไข ปรับปรุง
บทความนี้ ค่อนข้างยาว
ต้องยกยอด มาต่อตอนหน้า
ที่มาที่ไปของ
ตระกูลเกลเซอร์ และ เอ็ด วู้ดเวิร์ด
โฆษณา