Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Zero to Profit
•
ติดตาม
24 ก.พ. 2023 เวลา 10:00 • ธุรกิจ
4 เรื่องต้องรู้ก่อนจ้างพนักงานประจำ
ทำธุรกิจด้วยตัวคนเดียวมาสักพัก งานเริ่มหนัก ทำเองไม่ไหว การจ้างพนักงานประจำสักคนอาจเป็นทางออกสำหรับเจ้าของธุรกิจ
ก่อนจะรับพนักงานเข้ามาทำงานนั้น เราไม่ได้แค่ตัดสินใจว่าจะรับใคร และให้เงินเดือนเท่าไร
แต่ยังมีเรื่องอื่นๆ ที่ต้องรู้ อย่างเช่น จ้างมาแล้วคุ้มไหม แถมยังมีเรื่องภาษี และกฎหมายที่เกี่ยวข้องอีก
โอ้ย…อ่านมาถึงตรงนี้ ทุกคนก็เริ่มวิตกกังวลแล้วใช่ไหมคะว่าสุดท้ายแล้วการจ้างพนักงานเนี่ย จะทำให้ชีวิตเจ้าของกิจการดีขึ้นหรือแย่ลงกันแน่
ในวันนี้ Zero to Profit จะพาทุกคนมาทำความเข้าใจทุกเรื่องต้องรู้เกี่ยวกับการจ้างพนักงานค่ะ รับรองว่ามีประโยชน์มากๆ สำหรับเถ้าแก่มือใหม่เลยทีเดียวค่ะ
1. จ้างพนักงานแล้วคุ้มไหม
เริ่มแรก ทุกคนคงอยากรู้ใช่ไหมคะว่าการจ้างพนักงานสักคนนั้น เราจะคิดอย่างไรว่าจ้างแล้วคุ้มค่าหรือไม่ หรือเมื่อไรควรจ้างพนักงานสักคนดี
จริงๆ แล้วแต่ละกิจการก็จะมีวิธีคิดที่แตกต่างกันค่ะ แต่ถ้าคิดในมุมมองตัวเลขบัญชี เราแนะนำให้คิดตาม Step นี้
- มีพนักงานแล้ว ได้ประโยชน์อะไรบ้าง >> คิดเป็นตัวเงินให้ได้
- มีพนักงานแล้ว เสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง >> คิดเป็นตัวเงินให้ได้
Zero to Profit ลองทำตารางเช็คลิส ให้ทุกคนลองคิดไปพร้อมๆ กัน 2 ฝั่งแบบนี้ค่ะ ด้านซ้ายมือเป็นประโยชน์ส่วนเพิ่ม ส่วนขวามีเป็นค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่ม แล้วลองเปรียบเทียบตัวเลขผลรวมดูนะ
ประโยชน์ที่เพิ่ม
รายได้เพิ่มขึ้น 500,000 บาทต่อปี
ลดเวลาเจ้าของธุรกิจ ได้กี่ชม คิดเป็น 210,000 บาทต่อปี
รวม ประโยชน์ที่เพิ่ม 710,000 บาทต่อปี
ค่าใช้จ่ายที่เพิ่ม
เงินเดือน 360,000 บาทต่อปี
สมทบประกันสังคม 9,000 บาทต่อปี
โบนัส 60,000 บาทต่อปี
สวัสดิการอื่นๆ 65,000 บาทต่อปี
รวม ค่าใช้จ่ายที่เพิ่ม 494,000 บาทต่อปี
เมื่อเรากรอกข้อมูลในตารางนี้ไปแล้ว ก็จะพบว่า การมีพนักงานใหม่ให้ประโยชน์ส่วนเพิ่มมากกว่าค่าใช้จ่ายที่เพิ่มหรือไม่
จากตารางนี้ถ้าจ้างพนักงานมา เจ้าของธุรกิจได้ประโยชน์เพิ่มขึ้น 710,000 บาท มากกว่าค่าใช้จ่ายที่เพิ่ม 494,000 บาท กว่า 216,000 บาท แปลว่า เถ้าแก่น่าจะตัดสินใจจ้างพนักงานแน่นอนเลยในเคสนี้
ก่อนเริ่มต้นจ้างพนักงานประจำสักคน ลองเปรียบเทียบผลประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นกับค่าใช้จ่ายสักนิด ด้วยตาราง Check-List ตัวอย่างนี้ว่าคุ้มหรือไม่ ซึ่งสุดท้ายแล้วมันอาจช่วยให้ตัดสินใจว่าจะรับพนักงานใหม่ได้ไม่ยากเลยค่ะ
2. ยื่นประกันสังคม
เมื่อมีพนักงานคนแรกแล้ว เจ้าของธุรกิจต้องขอขึ้นทะเบียนประกันสังคมนายจ้างตามกฎหมาย พร้อมกับขึ้นทะเบียนลูกจ้างเป็นผู้ประกันตน ภายใน 30 วัน ให้เรียบร้อยค่ะ
แต่เท่านั้นยังไม่พอค่ะ นายจ้างมีหน้าที่จะต้องหักเงินประกันสังคมจากเงินเดือนพนักงาน และสมทบเงินประกันสังคมด้วยในอัตรา 5% ค่ะ ถ้าสังเกตจากตารางข้อ 1 ดีๆ จะเห็นว่าเราจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมส่วนนี้เข้าไปด้วยค่ะ
อัตราเงินประกันสังคม
- หักเงินสมทบประกันสังคมจากเงินเดือนของลูกจ้าง ด้วยอัตรา 5% ของเงินเดือน สูงสุดไม่เกิน 750 บาทต่อเดือน และ
- นายจ้างสมทบเงินเพิ่มตามกฎหมาย ด้วยอัตรา 5% ของเงินเดือน สูงสุดไม่เกิน 750 บาทต่อเดือน
ลองคิดดูเล่นๆ ถ้ามีพนักงานสัก 10 คน แล้วต้องสมทบประกันสังคมคนละ 750 บาท/เดือน นั่นแปลว่า เราจะมีค่าใช้จ่าย 10x750 = 7500 บาท เป็นประจำทุกเดือนค่ะ
3. ยื่นภาษีหัก ณ ที่จ่าย
เรื่องภาษีที่นายจ้างต้องรู้ ถ้ามีพนักงานแล้ว เราต้องคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายสำหรับพนักงาน และนำส่งภาษีให้กับสรรพากรด้วยจ้า
แบบภาษีที่ต้องนำส่ง
- แบบ ภงด.1 ส่งเป็นประจำทุกเดือน
- แบบ ภงด.1ก ส่งเป็นประจำทุกปี
อัตราหัก ณ ที่จ่าย
- เป็นอัตราก้าวหน้าตั้งแต่ 5%-35% ยิ่งฐานเงินเดือนเยอะ ยิ่งหักเยอะ พนักงานแต่ละคนก็คำนวณไม่เหมือนกัน
ตัวอย่างเช่น
พนักงานเงินเดือน 35,000 บาท นายจ้างต้องหัก ณ ที่จ่าย 458.33 บาท เงินส่วนนี้ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายของธุรกิจ แต่เป็นเงินของพนักงานที่นายจ้างมีหน้าที่นำส่งแทนค่ะ
4. เงินชดเชยกรณีเลิกจ้างพนักงาน
ถ้าจ้างพนักงานแล้วเกิดเปลี่ยนใจอยากให้พนักงานออก รู้หรือไม่ว่าเรายังมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่ต้องจ่ายชำระตามกฎหมายด้วย นั่นก็คือ เงินชดเชยกรณีเลิกจ้างพนักงาน (หรือภาษาชาวนบ้านเราเรียก “ค่าจ้างพนักงานออก”)
ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 กำหนดไว้ว่า เจ้าของธุรกิจต้องจ่ายเงินชดเชยกรณีเลิกจ้างพนักงานในอัตราตั้งแต่ 1 เดือน ถึงสูงสุด 13.33 เดือน (หรือ 400 วัน) ขึ้นอยู่กับอายุงานของพนักงานตามตารางนี้ค่ะ
ระยะเวลาการทำงาน
น้อยกว่า 1 ปี เงินชดเชยฯ (เดือน) 1
1 ปี แต่ไม่ถึง 3 ปี เงินชดเชยฯ (เดือน) 3
3 ปี แต่ไม่ถึง 6 ปี เงินชดเชยฯ (เดือน) 6
6 ปี แต่ไม่ถึง 10 ปี เงินชดเชยฯ (เดือน) 8
10 ปี แต่ไม่ถึง 20 ปี เงินชดเชยฯ (เดือน) 10
20 ปีขึ้นไป เงินชดเชยฯ (เดือน) 13.33
ตัวอย่างเช่น บริษัท ซีโร่ จำกัด มีนาย A เป็นพนักงานรับเงินเดือน 35,000 บาทต่อเดือน อายุงาน 4 ปี อยู่มาวันนึงสภาพคล่องไม่ดี อยากให้พนักงานออก บริษัท ซีโร่ จำกัด ต้องจ่ายเงินชดเชย = 35,000 x 6 เดือน = 210,000 บาทค่ะ
ทั้งหมดนี้เป็น 4 เรื่องบัญชี ภาษี และกฎหมายเบื้องต้นที่เจ้าของธุรกิจควรรู้ก่อนจ้างพนักงานประจำสักคนเข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่ค่ะ ก่อนจะตัดสินใจจ้างใครสักคนควรเช็กให้ดีๆ เพราะนี่คือค่าใช้จ่ายคงที่ และเป็นค่าใช้จ่ายระยะยาวก้อนโต สำหรับเจ้าของธุรกิจเลยล่ะจ้า
จ้างพนักงานคนแรกทำยังไงให้ถูกต้อง ปรึกษาเราได้ที่นี่
Line: @zerotoprofit หรือ
https://lin.ee/36U1ks0Y
ติดตาม Zero to Profit ได้ที่
Website:
https://zerotoprofit.co
Facebook:
https://www.facebook.com/ZerotoprofitTH
#zerotoprofit #พนักงานประจำ
บันทึก
3
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย