1 มี.ค. 2023 เวลา 08:35 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ครบรอบ 1 ปี สงครามรัสเซีย ยูเครน - Investment Focus by KTAM

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 คือวันครบ 1 ปีของปัญหาความขัดแย้งทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ ระหว่างรัสเซียยูเครน โดยในช่วงที่ผ่านมาหลังจากที่เกิดปํญหาก็ส่งผลกระทบต่อตลาดเงิน ตลาดทุน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ไปในทิศทางแตกต่างกัน แต่สิ่งที่เหมือนกันคือความผันผวนที่เพิ่มมากขึ้นจนทำให้ในปี 2565 ที่ผ่านมา ภาพรวมในความรู้สึกของนักลงทุนเป็นปีที่ยากลำบากในการลงทุนที่สุดในรอบ 20-30 ปีที่ผ่านเลยทีเดียว
1
1 ปีที่ผ่านมาของสงครามรัสเซีย ยูเครน ดูท่าจะยังไม่จบและกลายเป็นพื้นที่ที่ก่อให้เกิดสงครามตัวแทนของคู่กรณีที่อาจจะขยายขึ้นได้ในอนาคตอีกก็เป็นไปได้ ความเสี่ยงนี้จะยังคงอยู่ต่อไปจนกว่าท่าทีที่จะตกลงกันได้ระหว่าง สหรัฐ รัสเซีย แต่ทั้งหมดนี้อยากจะให้ย้อนกับไปดูประวัติศาสตร์ และวอร์เร็น บัฟเฟ็ตต์ ที่เคยให้สัมภาษณ์กับ CNBC ในปี 2014 ในช่วงที่มีปัญหาคล้ายกับในปัจจุบันระหว่างรัสเซียกับ ยูเครน ไว้ว่า
1
“แม้ว่าจะรู้ว่าจะเกิดสงครามครั้งใหญ่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ฉันจะยังคงซื้อหุ้น” เมื่อเวลาผ่านไป สิ่งหนึ่งที่คุณมั่นใจได้คือ ถ้าเกิดสงครามครั้งใหญ่ มูลค่าของเงินลงทุนจะลดลง ซึ่งมันเกิดขึ้นในแทบทุกสงคราม สิ่งสุดท้ายที่คุณต้องการทำคือ ถือเงินสดในช่วงเกิดสงคราม คุณอาจต้องการเป็นเจ้าของฟาร์ม คุณอาจต้องการเป็นเจ้าของอะพาร์ตเมนต์ คุณอาจต้องการเป็นเจ้าของหลักทรัพย์ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองตลาดหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้น และตลาดหุ้นจะเดินหน้าต่อเมื่อเวลาผ่านไป”
2
กลับมาดูตลาดหุ้นทั่วโลกตามดัชนีหลักของแต่ะประเทศเราจะพบยังมีกลุ่มประเทศที่ยังคงสร้างผลตอบแทนได้อย่างหน้าประหลาดใจ เพราะว่า 10 อันดับแรกที่สามารถสร้างผลตอบแทนเป็นบวกสุทธิได้ ล้วนแล้วแต่มาจากในกลุ่มประเทศยุโรป ถึง 9 ใน 10 ประเทศ ซึ่งนั้นคือ กลุ่มประเทศใกล้เคียงหรือพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาของสงครามที่เกิดขึ้น พร้อมกับปัญหาด้านราคาพลังงานที่ส่งผลกระทบมากที่สุดด้วยซ้ำ
1
ในส่วนดัชนีหลักที่ปรับตัวลดลงมากที่สุด 10 อันดับแรก คือ กลุ่มดัชนีตลาดหุ้นในฝั่งเอเชีย เป็นหลัก ถึง 7 ใน 10 ซึ่งจะมีแค่รัสเซีย ประเทศคู่ขัดแย้งที่มีปัญหาของสงครามโดยตรง และ กลุ่มดัชนี Nasdaq ของสหรัฐ , ดัชนีของอิสราเอล ซึ่งทั้ง 10 ดัชนีล้วนแล้วแต่ที่มีความหวังต่อการเติบโตของกลุ่มบริษัทหรือประเทศเหล่านั้นเกือบทั้งหมด
2
  • ดัชนีหลัก 10 อันดับแรกที่สามารถสร้างผลตอบแทนเป็นบวกและลบมากที่สุด ในรอบ 1 ปี
https://www.investing.com/indices/major-indices (ข้อมูล ณ วันที่ 21/02/2023)
โดยสรุปกลายเป็นว่ากลุ่มประเทศที่อยู่ใกล้เคียงปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ และกลุ่มประเทศที่ได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากราคาพลังงานมากที่สุด จากที่ตลาดกังวลกันมากหลังจากที่เกิดสงคราม กลับกลายเป็นว่า ผลตอบแทนจากดัชนีตลาดหุ้นหลักๆ ในประเทศเหล่านั้นกลับสร้างผลตอบแทนได้อย่างน่าประหลาดใจ และสร้างผลการดำเนินงานได้ดีกว่าพื้นที่อื่นๆ
1
  • คำถามที่ตามมาต่อการลงทุน คือ ระยะต่อจากนี้กลุ่มประเทศใดคือ โอกาสในการลงทุน
เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา (EM) กับกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (DM) หากเรามาดูอัตราส่วน P/E Ratio ระหว่าง 2 กลุ่มนี้จะพบว่า ปัจจุบันกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาซื้อขายกันในระดับที่ถูกส่วนลดมากกว่าเป็นประวัติการณ์ ในรอบเกือบ 20 ปี โดยตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมากลุ่มประเทศกำลังพัฒนาถูกซื้อขายบน P/E Ratio ถูกส่วนลดมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว
และในมุมมองในระยะถัดไป เชื่อว่านักลงทุนจะเริ่มที่จะเห็นการเติบโตอย่างมีนัยยะสำคัญต่อกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา (EM) โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศเอเชีย ที่จะเข้ามามีบทบาทความสำคัญต่อการเติบโตให้กับเศรษฐกิจโลกมากขึ้นเรื่อยๆ และมีความเป็นไปได้ที่จะถูกตีมูลค่า P/E ที่ซื้อขายที่สูงขึ้นกว่าในอดีต เหมือนในช่วงก่อนปี 2012 ที่การให้ราคาซื้อขาย ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาจะถูกให้ราคาที่สูงกว่ากลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอีกครั้งในช่วงอนาคตอันใกล้นี้
คอลัมน์ : Investment Focus by KTAM โดย ชัชพล สีวลีพันธ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ บลจ. กรุงไทย
ขอบคุณ : ทันหุ้น
โฆษณา