2 มี.ค. 2023 เวลา 03:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ

กัมพูชา ประเทศที่ เคยรวยกว่าไทย แต่ถดถอยเพราะเขมรแดง

ย้อนกลับไปมากกว่า 60 ปีก่อน หลายคนอาจจะไม่รู้ว่า ในตอนนั้น รายได้ต่อหัวของคนกัมพูชาหนึ่งคนนั้น สูงกว่าคนไทยเสียอีก
8
ในปี 1960
- กัมพูชา มี GDP ต่อหัว เท่ากับ 3,944 บาท
- ไทย มี GDP ต่อหัว เท่ากับ 3,566 บาท
8
แต่ตัดภาพมาที่ปัจจุบันนั้น สถานการณ์กลับแตกต่างกันเป็นหนังคนละม้วน
2
ในปี 2021
- กัมพูชา มี GDP ต่อหัว เท่ากับ 55,726 บาท
- ไทย มี GDP ต่อหัว เท่ากับ 242,317 บาท
7
หรือก็คือ โดยเฉลี่ยแล้วคนไทยรวยกว่าคนกัมพูชา มากกว่า 4 เท่า ในปัจจุบัน
2
เกิดอะไรขึ้นกับประเทศกัมพูชา ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นประเทศที่รวยกว่าไทย แต่เศรษฐกิจกลับเจริญเติบโตได้ช้ากว่าที่ควรจะเป็น
4
BillionMoney จะมาสรุปให้ฟัง แบบเข้าใจง่าย ๆ
5
เรื่องนี้ต้องย้อนกลับไป เมื่อปี 1953 ซึ่งเป็นปีที่
กัมพูชาได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส ชาวกัมพูชาจึงสามารถจัดตั้งรัฐบาลเพื่อปกครองประเทศของตัวเองได้สำเร็จ
2
ในช่วงแรกนั้น กัมพูชา ปกครองประเทศ ด้วยระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ
โดยมี พระนโรดม สีหนุ เป็นกษัตริย์
8
ในช่วงเวลาเดียวกันนี้เอง ระบบการเมืองการปกครองของประเทศก็ยังไม่นิ่ง ทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง เพื่อแย่งชิงอำนาจกันมาตลอด ระหว่างพรรคการเมืองฝ่ายซ้าย และพรรคการเมืองฝ่ายขวา
5
ผลจากการแย่งชิงอำนาจการปกครองของกัมพูชา ทำให้
พระนโรดม สีหนุ ต้องเข้ามาเล่นเกมการเมืองในการแย่งชิงอำนาจการปกครองด้วย
ทั้งนี้ พระองค์เคยทั้งทำรัฐประหารตัวเอง เพื่อเป็นนายกรัฐมนตรี, ตั้งพรรคการเมืองของพระองค์เอง และเคยได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดี ของกัมพูชามาแล้วด้วย
15
แต่แล้วในปี 1970 นายพลลอน นอล ที่มีประเทศสหรัฐอเมริกาหนุนหลัง ก็ทำการรัฐประหารยึดอำนาจ พระนโรดม สีหนุ และจัดตั้งรัฐบาลปกครองกัมพูชา ระหว่างปี 1970 ถึงปี 1975
11
แต่รัฐบาลของนายพลลอน นอล เอง ก็มีปัญหาในการปกครองไม่แพ้สมัยของ พระนโรดม สีหนุ คือยังไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องเศรษฐกิจได้ ประกอบกับ มีการรบกับฝ่ายคอมมิวนิสต์อยู่บ่อยครั้ง อย่างไม่มีทีท่าว่าจะสิ้นสุดลงเสียที
7
นอกจากนี้ รัฐบาลของนายพลลอน นอล ยังมีปัญหาเรื่องการทุจริตคอร์รัปชันกันเป็นว่าเล่น และยังให้ทหารอเมริกัน มาตั้งฐานทัพ เพื่อรบกับฝ่ายคอมมิวนิสต์ด้วย ทำให้บ้านเรือนเสียหาย และประชาชนได้รับความเดือดร้อน
8
เหตุการณ์ทั้งหมดนี้ สร้างความไม่พอใจให้ประชาชนเป็นจำนวนมาก ทำให้มีคนสนับสนุนฝ่ายกองกำลังพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา หรือฝ่ายเขมรแดง มากขึ้นเรื่อย ๆ
4
โดยฝ่ายเขมรแดง ซึ่งมีนายพลพตเป็นผู้นำ มีประเทศจีนและเวียดนามเหนือ คอยสนับสนุนเสบียงและอาวุธให้อย่างต่อเนื่อง
ในที่สุด เมื่อวันที่ 17 เมษายน 1975 ฝ่ายเขมรแดง ก็สามารถบุกยึดกรุงพนมเปญ เมืองหลวงของกัมพูชา และจัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้สำเร็จ
2
จากที่ประชาชนหลายคนเคยคาดหวังไว้ว่า รัฐบาลใหม่ที่นำโดยเขมรแดงนั้น คงจะดีกว่าสมัยนายพลลอน นอล และช่วยให้ชาวกัมพูชา มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
3
แต่ความจริงที่เกิดขึ้นคือ การปกครองในสมัยของรัฐบาลเขมรแดง เลวร้ายกว่าสมัยของนายพลลอน นอล เสียอีก
11
นโยบายการปกครองของเขมรแดง ภายใต้การปกครองของนายพลพตนั้น ต้องการจะสร้างกัมพูชาในอุดมคติ ที่สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างสมบูรณ์ ผ่านการเกษตร
หลังจากที่ เขมรแดง บุกยึดกรุงพนมเปญได้นั้น จึงได้มีการบังคับให้ประชาชนทุกคนที่อยู่ในเมือง อพยพออกจากเมือง เพื่อไปทำนารวม และยึดทรัพย์สินทั้งหมดของทุกคน เข้าส่วนกลาง
6
นอกจากนี้ ก็ยังบังคับทุกคนให้แต่งตัวเหมือนกัน คือชุดสีดำ พันผ้าขาวม้า และใส่รองเท้าที่ทำจากยางรถยนต์
4
เขมรแดงยังได้ออกมาตรการอีกหลายอย่าง เพื่อตั้งใจทำลายระบบทุนนิยมที่กัมพูชาเคยใช้มาก่อน เพราะอยากให้ประเทศกัมพูชาใหม่นี้ เริ่มต้นใหม่จากศูนย์..
2
- ยกเลิกระบบเงินตราและการธนาคารของประเทศ
- สั่งปิดโรงเรียน โรงพยาบาล และโรงงาน
- สึกพระออกมาทำนา
- อาชีพบางอาชีพ เช่น ครู หมอ วิศวกร ซึ่งเป็นอาชีพที่ต้องใช้แรงงานทักษะสูงก็ถูกยกเลิกไปด้วย เพราะต้องถูกเกณฑ์มาทำนา
- ปิดประเทศ ยกเลิกการค้าขายกับต่างชาติ
- แยกเด็กออกจากครอบครัว เพื่อนำไปฝึกสอนให้มีวิธีคิดแบบเขมรแดง
11
แน่นอนว่า การปกครองในรูปแบบนี้ ก็ต้องมีคนไม่พอใจเป็นจำนวนมาก เพราะทำให้ความเป็นอยู่ลำบากยิ่งขึ้นกว่าเดิม
วิธีการจัดการของทางเขมรแดงก็คือ นำคนที่ไม่เห็นด้วยไปเข้าคุกเขมรแดง ซึ่งคนส่วนใหญ่ที่เข้าคุกนี้ ก็จะจบลงที่การเสียชีวิต โดยคุกที่โด่งดังมาก ก็คือ “คุกตวลสเลง”
8
ซึ่งทางเขมรแดง ก็ยังมองว่า กลุ่มคนชนชั้นกลางและชนชั้นสูง ในสมัยระบบการปกครองของรัฐบาลนายพลลอน นอล ก็อาจมีแนวโน้มที่จะกระด้างกระเดื่องกับรัฐบาลในอนาคต
2
ดังนั้น เขมรแดงจึงคัดเลือกคนที่ฝ่ายตนคาดว่า เป็นกลุ่มคนชนชั้นกลางและชนชั้นสูงไปเข้าคุก ด้วยการ
- จับคนที่มีมืออ่อนนุ่ม เพราะสามารถตีความได้ว่า ที่ผ่านมามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี และคงเป็นชนชั้นสูงมาก่อน
3
- จับคนที่ใส่แว่นบางคน เพราะดูเหมือนเป็นปัญญาชน ที่อาจมีความคิดต่อต้านเขมรแดง
8
อย่างไรก็ตาม นโยบายเหล่านี้ของเขมรแดง กลับส่งผลให้ การพัฒนาเศรษฐกิจของกัมพูชา ต้องสะดุดลง
โครงสร้างพื้นฐานที่ประเทศเคยมีมาก่อน ก็ถดถอยลง ทำให้การพัฒนาระบบการผลิตของประเทศต้องชะงัก
 
เมืองหลวงอย่างกรุงพนมเปญ ซึ่งเป็นเมืองที่มีการวางผังเมืองที่ดีอยู่แล้ว จากการที่เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส และครั้งหนึ่งเคยถูกขนานนามว่าเป็น ไข่มุกแห่งเอเชีย เพราะมีสถาปัตยกรรมที่สวยงาม
4
ต้องกลายเป็นเมืองร้าง เพราะผู้คนในเมืองถูกเกณฑ์ไปทำนารวม
4
การทำนารวม ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะแรงงานที่เกณฑ์มาจากในเมือง ไม่มีความรู้ในการทำเกษตรกรรมมาก่อน พอมาทำจริง ก็เพาะปลูกอะไรไม่ขึ้น
5
ผลผลิตทางการเกษตรที่คิดว่าควรจะสูงขึ้น กลับน้อยลงไปอีก ส่งผลให้ประชาชนชาวกัมพูชาต้องอดอยาก
2
จากเดิมที่กัมพูชาเคยเป็นประเทศที่มีอุตสาหกรรมการผลิตพัฒนาบ้างแล้ว และมีแรงงานทักษะสูงอย่าง หมอและวิศวกร อยู่เป็นจำนวนมาก
8
แรงงานเหล่านี้หลายคนต้องเสียชีวิตลง ทำให้ระบบความรู้ที่มีอยู่สูญหาย และไม่ได้ถูกถ่ายทอดไปสู่คนรุ่นต่อไป
8
ช่วงระยะเวลา 4 ปีที่เขมรแดงปกครองกัมพูชา ระหว่างปี 1975 ถึงปี 1979 มีประชากรชาวกัมพูชา ต้องเสียชีวิตลงไปถึง 3 ล้านคน
4
ทั้งหมดนี้ ได้ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศของกัมพูชาในระยะยาวเป็นอย่างมาก
การปกครองของเขมรแดงสิ้นสุดลงในปี 1979 หลังจากพ่ายแพ้ต่อกองทัพเวียดนาม และเวียดนามก็ปกครองกัมพูชาต่ออีก 10 ปี จนถอนทหารออกไปในปี 1989
7
อ่านมาถึงตรงนี้ เราก็น่าจะพอเข้าใจที่มาที่ไปของประเทศกัมพูชากันบ้างแล้ว
ประเทศกัมพูชา ที่ครั้งหนึ่งในอดีต เคยมีโอกาสเป็นดาวรุ่งทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน ไม่แพ้ไทย แต่กลับล้มเหลวเพราะระบบการปกครอง..
References
-บทความวิชาการ “การใช้อำนาจทางการเมืองของเขมรแดง กลุ่มปัญญาชนปารีส ค.ศ. ๑๙๗๕-๑๙๗๙” (2558) โดย สุวัฒน์ ทาสุคนธ์
โฆษณา