1 มี.ค. 2023 เวลา 14:04 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ค่าเงินบาทจะผันผวนไปไหน…

ค่าเงินบาทช่วงนี้แกว่งแบบผันผวนแบบที่ไม่เคยเห็นมาก่อน และปัจจัยที่ทำให้ค่าเงินบาทแกว่งขนาดนี้ก็มีทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในประเทศ
2
เมื่อปีก่อนเราเห็นค่าเงินบาทอ่อนค่าแบบทางเดียว เพราะแนวโน้มเงินเฟ้อในสหรัฐฯ ที่เร่งตัวขึ้นไม่หยุดและธนาคารกลางสหรัฐฯ ต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยแบบก้าวกระโดด แบบคนอื่นตามไม่ทัน
1
จนเราเห็นค่าเงินบาทอ่อนค่าไปถึง 38 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ
หลังจากนั้น ในช่วงปลายปี เราเริ่มเห็น narrative หรือเรื่องเล่าในตลาดปรับเปลี่ยนไป เมื่อเงินเฟ้อในสหรัฐฯ เริ่มชะลอตัวลง ตลาดเริ่มคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ น่าจะไม่ต้องรีบขึ้นดอกเบี้ยแล้ว
1
และช่วงสิ้นปี การประกาศเปิดเมืองแบบสายฟ้าแลบของจีน ทำให้ความคาดหวังว่าประเทศไทยน่าจะได้ประโยชน์จากนักท่องเที่ยวจีน และดุลบัญชีเดินสะพัดน่าจะกลับมาเป็นบวกได้
1
ค่าเงินบาทเลยกลับทิศอย่างรุนแรง และแข็งค่าไปถึง 32.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และพอตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจยังคงแข็งแกร่ง การจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเดือนละกว่าห้าแสนคน อัตราการว่างงานต่ำสุดในรอบหลายสิบปี ค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ยอดขายปลีกขยายตัวขึ้นมากกว่าคาด ตัวเลขเงินเฟ้อ
2
โดยเฉพาะเงินเฟ้อพื้นฐานไม่ได้ปรับลดลงเหมือนคาด ทำให้ตลาดเริ่มปรับเปลี่ยนมุมมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจจะไม่ได้กำลังชะลอตัวลง แล้วเงินเฟ้อจะลงได้เองได้อย่างไร
ตลาดเริ่มปรับการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจจะต้องขึ้นดอกเบี้ยต่อไปอีก ค่าเงินดอลลาร์เลยเริ่มเปลี่ยนทิศกลับมาแข็งค่าขึ้นอีกรอบ
ค่าเงินบาทก็ค่อยๆอ่อนค่าลง เพราะตลาดคิดว่าข่าวดีจากจีนเปิดเมืองได้มีการรับรู้ไปหมดแล้ว
1
ในระยะหลังก็มีแต่ข่าวร้าย เช่นล่าสุด ไทยดันขาดดุลการค้า และตัวเลขดุลบัญชีเดินสะพัดกลับมาขาดดุล 2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งๆที่เราคิดว่านักท่องเที่ยวที่กลับมา น่าจะช่วยพยุงดุลบัญชีเดินสะพัดได้อยู่แล้วเชียว
นอกจากนี้มองไปข้างหน้า การท่องเที่ยวน่าจะเบาลงชั่วคราวจากปัจจัยเชิงฤดูกาล การส่งออกน่าจะหดตัวต่อเนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลก และเรายังมีฤดูกาลที่นักลงทุนต่างประเทศส่งเงินปันผลในตลาดหลักทรัพย์กลับบ้านในช่วงไตรมาสสองอีก
2
และที่สำคัญคือ ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่สูงมากในปัจจุบัน (ดอกเบี้ยสองปีของรัฐบาลสหรัฐฯ เกือบจะ 5% แล้วดอกเบี้ยยังอยู่แค่ 2% เอง) ถ้าช่วงไหนที่ไม่มีข่าวดุลบัญชีเดินสะพัดมาช่วย หรือมี Narrative ว่าบาทจะแข็งดอลลาร์จะอ่อนมาช่วย ผมว่าเราอาจจะเห็นเงินไหลออก และกดดันค่าเงินไปเรื่อยๆ และในขณะเดียวกันก็ทำให้ต้นทุนการประกันความเสี่ยงค่าเงินสูงมากเช่นกัน
1
ผมเลยมองว่า มีโอกาสที่เราอาจจะเห็นค่าเงินบาทผันผวนเอียงไปทางอ่อนค่าแบบนี้ไปอีกระยะ โดยเฉพาะในไตรมาสสอง ก่อนที่น่าจะปรับตัวดีขึ้นในช่วงปลายปี ถ้านักท่องเที่ยวและการส่งออกกลับมาดีขึ้นได้จากการเปิดเมืองของจีน
แต่ต้องยอมรับความเสี่ยงเต็มไปหมดเลยครับ ที่สำคัญคือ
3
  • 1.
    แนวโน้มเงินเฟ้อสหรัฐฯ และการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะทำอะไร
  • 2.
    เศรษฐกิจโลก และแนวโน้มการส่งออกของไทย
  • 3.
    ราคาน้ำมันที่ถ้าปรับเพิ่มขึ้นจะกดดันดุลการค้าไทยอีกรอบ
  • 4.
    ที่สำคัญคือการท่องเที่ยวครับ ถ้าการท่องเที่ยวแผ่ว และมาไม่เยอะอย่างที่คาด เราเหนื่อยทั้งจากประเด็นค่าเงินและเศรษฐกิจอย่างแน่นอน
5
อย่างที่เล่าให้ฟังนะครับ ค่าเงินเป็นเรื่องที่มีปัจจัยเกี่ยวข้องค่อนข้างมาก และไม่ใช่เรื่องที่เราควบคุมได้ทั้งหมด มีความผันผวนสูงและคาดเดาได้ยาก คงต้องติดตามและประเมินสถานการณ์กันอย่างใกล้ชิดครับ
โฆษณา