3 มี.ค. 2023 เวลา 14:17 • ความคิดเห็น

ประเมินท่าทีผู้อำนวยความสะดวกมาเลเซียต่อการพูดคุยสันติภาพ

​การพูดคุยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ระหว่างฝ่ายไทยกับBRN อยู่ในขั้นตอนการพิสูจน์ของหลักการที่ว่าด้วยPosition Interest Need ซึ่งการจะนำมาไปสู่จุดที่สามารถยุติปัญหาได้นั้น ยังคงต้องใช้เวลาอีกนาน เพราะยังมีความไม่พร้อมหลายๆส่วน โดยเฉพาะการสนับสนุนจากคนส่วนใหญ่ของประเทศ นอกพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยังไม่มีการแสดงของการสนับสนุนมากนัก โดยมีเพียงนักวิชาการ ภาคประชาสังคม และกลไกของรัฐบางส่วนที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการพูดคุยโดยตรง
ดังนั้น ความเป็นเจ้าของการพูดคุยของคนทั้งหมดยังไม่ได้เกิดขึ้น แม้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายอย่างเป็นทางการก็ตาม
​อย่างประเด็นสำคัญคือการให้มาเลเซียเป็นผู้อำนวยความสะดวก ทั้งที่เป็นผู้ที่ควบคุมขบวนการ จึงทำให้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการพูดคุยไปด้วย แต่ฝ่ายไทยก็พยายามวางใจมาเลเซีย ในเรื่องนี้จึงต้องมีการพิสูจน์ความตั้งใจอีกระยะหนึ่ง
หากมาเลเซียตั้งใจจริงโดยไม่เรียกร้องผลประโยชน์แต่ทำเพื่ออุดมการณ์ ถือว่าไทยมีความโชคดี ยังไม่ร่วมถึงความแตกแยกในขบวนการBRN หรือการเดินคนละแทรคของฝ่ายการเมืองและฝ่ายการทหาร จะนำมาสู่การมีกลุ่มต่อต้านหรือที่เรียกว่า “Spoiler”
สำหรับคำแถลงของพลเอก ตันศรี อาบีดีน ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เมื่อ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๖๖ ในห้วงที่ลงพื้นที่ เพื่อรับฟังคววามคิดเห็นของฝ่ายต่าง บางคนมองว่าทำหน้าที่เกินผู้อำนวยความสะดวก จนกลายเป็นความหวังของการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ มีข้อสังเกตดังนี้
​​๑)ผอส.ต้องการเข้าใจสถานการณ์ด้วยตนเองจึงมารับฟังความคิดเห็นของคนในพื้นที่
​​๒)การแนะนำภูมิหลังการทำงานค่อนข้างหน้าสนใจแม้ว่าจะเป็นทหารและดำรงสูงสุดคือ ผบ.สส.แต่ในช่วงหนึ่งเข้าไปทำงานวิชาการเป็นรองอธิการบดี ม.ป้องกันประเทศมาเลเซีย ๗ ปี และมีความใกล้ชิดกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี รวมทั้งยังมีตำแหน่งเป็นศ.วุฒิคุณจาก ม.มาเลเซียเปอร์ริส ที่สำคัญบทบาทใน ม.ป้องกันฯมีความเชี่ยวชาญเรื่อง “war and conflict”
​​๓)ในคำแถลงได้อ้างถึงประเด็นที่นรม.สองประเทศหารือระหว่างกัน ได้สะท้อนไปยังสาธารณชน ค่อนข้างมีนัยสำคัญว่า มาเลเซียได้สื่อสารทางยุทธศาสตร์ไปยังพื้นที่เพื่อสร้างกระบวนการพูดคุยให้เป็นที่ยอมรับและมีความเข้มแข็ง เนื่องจากเป็นการนำท่าทีของสองประเทศมาเผยแพร่ เช่น มาเลเซียยอมรับปัญหาใน จชต.เป็นเรื่องภายในของไทย ยอมรับการมีส่วนร่วมของฝ่ายที่สาม คือ ภาคประชาสังคม ตามความเหมาะสม เป้าหมายการเจรจา คือ มีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างสันติภาพ(น่าจะหมายถึง การทำให้bRNมีความเท่าเทียมไม่เสียเปรียบฝ่ายรัฐ)
​​๔)นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงความคืบหน้าของการพูดคุยในครั้งที่ ๖ โดยอ้างว่าสองได้บรรลุหลักการและข้อตกลง JCPP ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดทิศทาง ในปี ๒๕๖๖-๒๕๖๗ โดยJCPPทำให้แสงสว่างแห่งความหวัง และยังกล่าวถึงขั้นตอนของJCPP ที่จะต้องเดินหน้าต่อไป
​๕)ผอส.ยังมองว่าปัญหาจะจบลงได้มาจากเมื่อทุกฝ่ายเป็นผู้ชนะหรือwin-win โดยยกสุภาษิตมลายู คือ ชนะก็เป็นถ่าน ชนะก็เป็นเถ้า สะท้อนถึงการมีแนวคิดที่ค่อนข้างจะลึกซึ้งเมื่อเทียบกับ ผอส.คนก่อน
ภูมิหลังของผอส.คนใหม่ไม่ธรรมดามีความครบเครื่องด้านการทหาร วิชาการ รวมทั้งมีประสบการณ์ที่สามารถนำมาใช้ในการเป็นผู้อำนวยความสะดวกได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญ ด้วยเหตุที่มีความเชื่อมโยงกับนักวิชาการในพื้นที่ อาจเป็นช่องทางที่ทำให้มีการสานสัมพันธ์เพื่อหาข้อมูลเชิงลึกในพื้นที่ และทิศทางของผอส.คนใหม่อาจมีความเห็นใจBRN เนื่องจากทางBRNน่าจะสะท้อนความไม่เท่าเทียบกันของสถานะคู่เจรจาให้กับผอส.แล้ว
สำหรับเงื่อนไขสำคัญของการพูดคุย จะเดินหน้าไปอย่างไรก็ขึ้นอยู่ ๔ ความสัมพันธ์ คือ ไทยกับมาเลเซีย ไทยกับBRN มาเลเซียกับBRN และBRNกับขบวนการอื่นๆ จึงต้องดูกันต่อไปว่าจะมีความสมดุลกับความสัมพันธ์เหล่านั้นหรือไม่
โฆษณา