5 มี.ค. 2023 เวลา 02:01 • ธุรกิจ

‘บุญชัย’ 33 ปี ใน Dtac

จากธุรกิจวิทยุสื่อสารยุคสงครามเย็น
สู่เจ้าของค่ายมือถือ
3
‘บุญชัย เบญจรงคกุล’ ชื่อนี้หายไปจากวงการธุรกิจมาพอสมควร โดยเฉพาะบทบาทในธุรกิจโทรคมนาคมที่ลดน้อยลงนับตั้งแต่มีการขายหุ้นให้กับเทเลนอร์
2
ถึงแม้ว่า ‘บุญชัย’ จะมีชื่อเป็นประธานกรรมการ Dtac มาต่อเนื่อง แต่ Dtac ไม่ได้มีภาพจำของ ‘บุญชัย’ มานานแล้ว
Dtac ที่ถูกกลุ่ม True ควบรวมกิจการไปแล้วมีจุดเริ่มต้นมาจากธุรกิจขายวิทยุสื่อสารของ ‘เจ้าสัวสุจินต์ เบญจรงคกุล’ บิดาของบุญชัย เมื่อปี 2499 โด ‘หจก.ยูไนเต็ดอุตสาหกรรม’ มีสำนักงานตั้งอยู่หัวมุมถนนราชเทวี
2
มีกลุ่มลูกค้าหลักเป็นกรมไปรษณีย์โทรเลข กรมการปกครอง กรมตำรวจ กรมพลาธิการทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด
5
ในยุคนั้นวิทยุสื่อสารที่ครองตลาดในประเทศไทยเป็นวิทยุสื่อสารจากสหรัฐเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสอดคล้องกับความสัมพันธ์ทางทหารและเศรษฐกิจของไทยและสหรัฐในช่วงเริ่มต้นของยุคสงครามเย็น
6
ยี่ห้อที่ทำตลาดหลักในประเทศไทย คือ Motorola โดยมีคู่แข่งเพียง 2 ราย คือ GE จากสหรัฐ และ NEC จากญี่ปุ่น
จุดเริ่มต้นของ ‘เจ้าสัวสุจินต์’ ก่อนที่จะจัดจำหน่ายวิทยุ Motorola เริ่มด้วยการขายผ้าตัดเครื่องแบบทหารและยุทธปัจจัย
1
และได้รับการติดต่อจาก Motorola เพื่อขอให้เป็นตัวแทนจำหน่ายวิทยุสื่อสาร จนทำให้มียอดขายเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และเป็นตัวแทนจำหน่ายรายเดียวในประเทศไทย
3
ในช่วงสงครามเวียดนามระหว่างปี 2507-2518 สหรัฐมีความร่วมมือกับประเทศไทยเข้ามาตั้งฐานทัพ โดยมีทหารสหรัฐประจำการในฐานบินสำคัญในประเทศไทย เช่น อู่ตะเภา ตาคลี อุดรธานี นครราชสีมา
4
สถานการณ์ดังกล่าวทำให้ หจก.ยูไนเต็ดอุตสาหกรรม มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมากจากการซ่อมบำรุงวิทยุสื่อสารให้กับกองทัพสหรัฐ
5
วิทยุสื่อสารจะถูกส่งจากแนวหน้ามาลงที่ฐานทัพอากาศอุดรธานีและอุบลราชธานี ก่อนถูกส่งมาซ่อมที่ หจก.ยูไนเต็ดอุตสาหกรรม
1
จนกระทั่งปี 2520 ‘บุญชัย เบญจรงคกุล’ บุตรชายคนโตของ ‘เจ้าสัวสุจินต์’ ในวัย 23 ปี ได้เรียนจบปริญญาตรี B.Sc. in Management จากมหาวิทยาลัย Northern Illinois University สหรัฐอเมริกา
1
ทันทีที่เรียนจบได้ถูกเรียกตัวให้กลับมาช่วยงานที่กำลังขยายตัวถึงแม้ว่าบุญชัยต้องการจะเรียนต่อปริญญาโท
3
จากการดำเนินธุรกิจในนาม ‘หจก.ยูไนเต็ดอุตสาหกรรม’ ได้ถูกยกระดับขึ้นมาเป็นบริษัทยูไนเต็ด คอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี จำกัด หรือ UCOM จดทะเบียนเมื่อวันที่ 27 มิ.ย.2523 เพื่อทำธุรกิจการจัดจำหน่าย และติดตั้งอุปกรณ์โทรคมนาคม
3
รวมทั้งยังคงเป็นตัวแทนจำหน่ายและติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารของ Motorola และได้รวมธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโทรคมนาคมทั้งหมดเข้ามาไว้ที่ UCOM แต่ธุรกิจต้องมาสะดุดเมื่อเจ้าสัวสุจินต์ เสียชีวิตในปี 2524
5
ภายหลังการเสียชีวิตทำให้บุญชัยมองว่าธุรกิจของครอบครัวควรมาโฟกัสที่โทรคมนาคมมากขึ้น หลังจากก่อนหน้านี้มีการขยายไปหลายธุรกิจ เช่น ประกันภัย โรงแรม และได้ข้อสรุปที่จะเหลือเฉพาะธุรกิจโทรคมนาคม ประกันภัยและห้องเย็น
5
ธุรกิจของบุญชัย เข้าใกล้กิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่เมื่อได้ขายอุปกรณ์สื่อสารให้กับการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) และองค์การโรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) ซึ่งปัจจุบันรวมกันเป็นบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT
3
ต่อมา UCOM ได้จัดตั้งบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TAC (ต่อมาเป็น Dtac) ในเดือน ส.ค.2532 เพื่อรับสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 800 MHz และ 1800 MHz
6
ภายใต้สัญญาร่วมการงานในรูปแบบ “สร้าง-โอน-ดำเนินงาน” จาก กสท.ในปี 2533 ใช้ชื่อการค้า เวิล์ดโฟน 800 และ เวิล์ดโฟน 1800
UCOM ถือเป็นผู้รับสัมปทานมือถือรายที่ 2 ต่อจากทักษิณ ชินวัตร
ต่อมาทั้ง UCOM และ TAC ต้องมาสะดุดจากวิกฤติเศรษฐกิจ 2540 ได้รับผลกระทบจากการลอยตัวค่าเงินบาททำให้ภาระหนี้สูงขึ้น และต้งเจรจาประนอมหนี้กับสถาบันการเงินต่างชาติ
1
โฆษณามือถือ WorldPhone 800 ของ TAC เมื่อปี 2538 จาก www.youtube.com/watch?v=ItDmYE_TnzM
หลังช่วงวิกฤติเศรษฐกิจยังเป็นช่วงที่ธุรกิจโทรคมนาคมแข่งขันกันรุนแรงจากผู้เล่นหลัก 3 ราย คือ AIS ของทักษิณ ชินวัตร , TA Orange ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) และ TAC ของตระกูลเบญจรงคกุล แต่ดูเหมือน AIS ได้เปรียบเพราะได้รับผลกระทบจากวิกฤติค่าเงินบาทน้อยที่สุด
1
ในช่วงดังกล่าวเริ่มมีการแข่งขันสงครามราคา เริ่มมีการคิดค่าโทรอัตราเดียวทั่วประเทศ จากเดิมที่ก่อนหน้านั้นโทรศัพท์เคลื่อนที่คิดคิดค่าโทรตามระยะทาง ในลักษณะเดียวกับค่าโทรทางไกลของโทรศัพท์บ้าน รวมทั้งเริ่มมีการคิดค่าโทรศัพท์ตามวินาที จากเดิมที่ปัดเศษเป็น 1 นาที
7
สถานการณ์ดังกล่าวทำให้บุญชัยต้องการพันธมิตรเข้ามาร่วมลงทุน และเป็นที่มาของ ‘เทเลนอร์’ ที่เข้ามาซื้อหุ้นใน UCOM สัดส่วน 29.94% และส่ง ‘ซิกเว่ เบรกเก้’ มาเจรจาซื้อขายหุ้น และมาร่วมทีมกับบุญชัย และกลายมาเป็นพรีเซ็นเตอร์คนสำคัญให้กับบริษัท
4
ภายหลังการขายหุ้นให้กับเทเลนอร์ ได้มีการรีแบรนด์ TAC เป็น DTAC ในเดือน มี.ค.2544 พร้อมกับสโลแกน “สิ่งดีๆกำลังจะเกิดขึ้น”
3
สภาพแวดล้อมธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ต้นทุนทางธุรกิจที่ต้องจ่ายให้รัฐสูงกว่าคู่แข่งอย่าง AIS และการลงทุนใหม่ที่ต้องใช้เงินหลักหมื่นล้านบาท เป็นเหตุผลสำคัญของการขายหุ้นให้กับเทเลนอร์อีกครั้งในปี 2548
5
ตระกูลเบญจรงคกุล ขายหุ้นทั้งหมดของ UCOM ให้บริษัทไทย เทลโคโฮลดิ้ง จำกัด สัดส่วน 39.88% มูลค่ารวม 9,186 ล้านบาท
3
ขณะนั้นบริษัทไทย เทลโคโฮลดิ้ง จำกัด มีเทเลนอร์ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ สัดส่วน 49% ส่วนบุญชัย ถือหุ้น 9.9%
1
ถึงจะมีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นอย่างไร แต่บุญชัยก็ยังคงเป็นประธานกรรมการ DTAC ตั้งแต่ปี 2533 จนถึงปัจจุบันในปี 2566
2
‘บุญชัย’ จึงเป็นอีกคนสำคัญที่ร่วมสร้างตำนานธุรกิจโทรคมนาคมของประเทศไทย
เรียบเรียงโดย ทินกร เชาวน์ชื่น
2
อ้างอิง
1. เจ้าสัวหมื่นล้าน บุญชัย เบญจรงคกุล บนเส้นทางธุรกิจชีวิตใหม่ สำนักพิมพ์ปราชญ์ โดยถนอมศักดิ์ จิรายุสวัสดิ์ พิมพ์ปี 2556
1
2. 7 เซียนธุรกิจโทรศัพท์ โดยวิจักษณ์ วรบัณฑิตย์ สำนักพิมพ์วรรณสาส์น พิมพ์ปี 2548
3
3.รายงานประจำปี 2564 บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)
1
โฆษณา