5 มี.ค. 2023 เวลา 09:08 • ความคิดเห็น
ครูบาอาจารย์สำนักไหน ๆ ก็ล้วนอ้างว่าสำนักตน นิกายตนดีสุด วิเศษสุด ก็เป็นเหมือนแนวคิดแบบชาตินิยมล้าหลัง
ถ้าเราไปถามคนธิเบต คนอินเดีย คนเนปาล ที่ยังมีกลุ่มที่นับถือศาสนาพุทธจริงจังอยู่ไม่น้อย เขาก็จะบอกว่าของเขานั่นแหละสอนมาดีเลิศ ประเสริฐสุด นี่ยังไม่นับรวมถึง นิกายศาสนาพุทธในจีน ในเวียตนามหรือในญี่ปุ่น พม่า มอญ เองก็ถือว่าเป็นทางผ่านของศาสนาพุทธที่เข้ามาในไทย คนล้านนา คนลาว คนไทยทางภาคอิสานก็รับศาสนาพุทธในช่วงแรก ๆ ก่อนเกิดประเทศไทยที่รวมศูนย์ที่กรุงเทพฯ ก็มีคัมภีร์ มีพระไตรปิฎกแตกต่างจากแถบภาคกลาง
คำถามนี้จึงไม่ค่อยมีประโยชน์อะไรมากไปกว่าการแบ่งเขาแบ่งเราสร้างความแตกแยกหรืออวดอุตริวิเศษว่าสำนักตนเองดีวิเศษกว่าใคร เคร่งกว่า จริงแท้กว่าสำนักอื่น
ถ้าฝักไฝ่ศาสนาจริง ต้องการศึกษาให้ลึกซึ้งแบบนักวิชาการต้องเปิดใจกว้างแม้กระทั่งข้อถกเถียงที่ว่าพระพุทธเจ้าไม่มีตัวตนแท้จริงตามประวัติที่เราสอนกันในโรงเรียนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาด้วยซ้ำ คำว่าพุทธะ จริง ๆ มันหมายถึงพุทธะในตน การคิดได้ เห็นชอบได้จากการใคร่ครวญอย่างมีวิจารณญาญตามกำลังสติปัญญาของตนด้วยซ้ำไป พระพุทธเจ้าในความหมายนี้จึงหมายถึงศาสดาที่เป็นครูบาาจารย์รุ่นเก่าจำนวนมากที่ช่วยกันสร้างหลักคิดหลักปฏิบัติที่เป็นศาสนาพุทธนิกายต่าง ๆ ที่เราเห็นในปัจจุบัน
ดังนั้นเมื่อคนพุทธในจีนพูดถึงพระพุทธเจ้าอาจเป็นพระพุทธเจ้าคนละองค์กับเรา จริงไหม ?
1
ถ้าหากต้องการศึกษา ต้องการปฏิบัติตนตามแนวทางคำสอนของศาสนาเพื่อให้ตนเองพ้นทุกข์หรือเพื่อสร้างปัญญา สร้างมาตรฐานทางศีลธรรมจริยธรรมของตนเองให้สูงขึ้น ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะมาหลงติดตรงคำถามนี้
1
ใช้สติปัญญาของตน สร้างพุทธะในตนให้เกิด เลือกเชื่อคำสอนของครูบาอาจารย์ที่มีวัตรปฏิบัติอันงดงาม สอนแต่ในเรื่องที่ไม่ขัดแย้งกับมาตรฐานศีลธรรมอันดีงามของสังคมและยุคสมัย เท่านั้นก็ประเสริฐแล้ว
1
โฆษณา