6 มี.ค. 2023 เวลา 12:46 • ข่าวรอบโลก

ข้อสังเกตต่อกรณีที่RTGและBRN เริ่มขั้นตอนการลงนามข้อตกลงสันติภาพในห้วงปลายปี๒๕๖๗

​​ ตามกำหนดการที่RTGและBRNได้ตกลงในหลักการแผนปฏิบัติการร่วมเพื่อสร้างสันติสุขแบบองค์รวม(Joint Comprehensive Plan towards Peace: JCPP)และ ต้องมีการหารือในรายละเอียดของแผนJCPPเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติโดยให้เสร็จสิ้นภายในมิถุนายน ๒๕๖๖ ก่อนนำไปสู่การปฏิบัติหนึ่งในนั้น คือการยุติความรุนแรงจากกรกฎาคม ๒๕๖๖ ถึงธันวาคม ๒๕๖๗ หากไม่มีความรุนแรงจะทำข้อตกลงของสองฝ่าย
ถือว่าPeace ProcessหรือPD มีความคืบหน้าในเรื่องTimeframe แต่ในเรื่องเนื้อหาของJCPP ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติจริง เป็นสิ่งที่ไม่ง่ายเนื่องจากมีปัจจัยภายนอกหลายอย่างที่อาจสร้างปัญหาขึ้นได้ เช่นการเปลี่ยนรัฐบาล หรือประชาชนของส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย
​​ แม้ว่าJCPPจะถูกอ้างว่าเป็นการเป็นการร่วมมือจากสองฝ่ายหลังจากมีการหารือ พูดคุย มาตลอด ๒ ปีที่ผ่านมา ซึ่งนำไปสู่การจัดทำร่วมกันโดยเน้นในเรื่องการยุติความรุนแรง การหารือสาธารณ(Public Consultation) ใน ๕ ประเด็น โดยเป็นครั้งแรกที่นำสาระสำคัญที่ได้หารือมาจัดทำแผนปฏิบัติการก่อนการลงนามในข้อตกลงสันติภาพ ตามด้วยนำข้อตกลงไปปฏิบัติ
แต่การจัดทำแผนข้างต้น ยังขาดการมีส่วนร่วม และการรับรู้จากผู้คนในสังคม โดยเป็นการรับรู้ภายในของ มาเลเซีย ไทยและBRN ดังนั้น แรงสนับสนุนและการขาดความเข้าใจจึงมีอยู่มากและนำไปสู่การตีความไปทางที่ผิดโดยไม่ตั้งใจ
​​ในทางกลับกันJCPPจะสร้างความหวังของผู้ที่อยากเห็นสันติสุขเกิดขึ้น หากสองฝ่ายมีความตั้งใจที่จะเห็นความขัดแย้งยุติลง ดังนั้นจึงเป็นโจทย์ใหญ่ของสองฝ่ายที่ต้องเดินไปให้ได้โดยต้องมีพื้นฐานของความจริงใจต่อPD ซึ่งการสร้างความไว้วางใจของสองฝ่ายจึงเป็นสิ่งจำเป็น
แต่ที่ผ่านมา BRNมองตนเองยังมีความเสียเปรียบRTG อยู่มาก และต้องยกระดับตัวเองให้เท่าเทียมกันไม่เฉพาะจากBRNแต่ยังรวมถึงภาคประชาสังคมผู้เห็นต่างในพื้นที่ได้แสดงการมีอยู่ของรัฐปาตานี พร้อมสนับสนุนBRN อย่างเปิดเผย การเรียกร้องให้แก้ไขปัญหาแบบRSD ยังไม่รวมถึงการเปลี่ยนแนวทางการต่อสู้ของBRNมาเน้นงานการเมืองและเพิ่มมิติเกี่ยวพันกับต่างประเทศ ขณะที่ในทางลับยังขับเคลื่อนไปสู่เอกราช โดยยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงเป้าหมายแต่อย่างใด
ที่สำคัญ คือBRNยังต้องใช้การสร้างความรุนแรงเพื่อการต่อรองหรือเป็น Political Violence โดยเน้นการก่อเหตุเชิงคุณภาพ มุ่งเป้าหมายสำคัญ
​​การเคลื่อนไปในทิศทางข้างต้น เกิดขึ้นเพราะPDได้สร้างการเปลี่ยนแปลงต่อสถานการณ์ในพื้นที่ โดยมีผลกระทบทางบวก(Positive) และทางลบ(Negative) ดังนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องมองด้วยใจเปิดกว้างและต้องเข้าใจภาพรวมของเปลี่ยนแปลง ในเรื่องทางบวก ต้องสร้างความเข้มแข็งและผลักดันให้เดินต่อไป ส่วนที่เป็นทางลบต้องแก้ไขโดยใช้ข้อมูลที่ถูกต้อง ไม่คิดเข้าข้างตนเอง หรือคิดว่าเดินหน้าอย่างถูกต้องแล้ว โดยต้องทบทวนพิจารณาการพูดคุยในอดีต เพื่อไม่ให้มองเฉพาะจุดจนลืมเรื่องเดิมๆที่เคยสร้างปัญหา
โฆษณา