8 มี.ค. 2023 เวลา 12:07 • บันเทิง

ZUPPORTS 101 : รหัสลับในเบอร์ตู้คอนเทนเนอร์ !!!

รู้หรือไม่ว่า ในเบอร์ตู้สินค้า หรือ เบอร์ตู้คอนเทนเนอร์ มีรหัสซ่อนอยู่ ???
ปัจจุบัน สินค้าที่ถูกผลิตขึ้นทั่วโลกและถูกขนส่งด้วยตู้สินค้าหรือตู้คอนเทนเนอร์นั้น มีปริมาณสูงถึง 2 พันล้านตันต่อปี ในขณะที่ตู้คอนเทนเนอร์ที่หมุนเวียนอยู่ในระบบการขนส่งทั่วโลก เมื่อคิดเป็นพื้นที่แล้ว มีมากกว่า 50 ล้าน TEU ในปัจจุบัน !!!
โดยที่ ตัวเลข ร้อยละ 35 หรือคิดเป็นพื้นที่ขนส่งประมาณ 17 ล้าน TEU นั้น ถูกขนส่งและกินส่วนแบ่งทางการตลาด โดยผู้ให้บริการหลักในตลาดธุรกิจรับขนส่งสินค้าแบบตู้สินค้า อยู่เพียงแค่ 5 รายเท่านั้น !!!
วันนี้ เราจะไม่ได้มาพูดถึงเรื่องใครเป็นผู้ถือตลาดขนส่งหลัก หรือใครขนตู้คอนเทนเนอร์เยอะกว่าใคร !!! หากแต่เราจะมาดูกันถึงหนึ่งในเรื่องที่น่าทึ่งของตู้สินค้าหรือตู้คอนเทนเนอร์ที่พวกเราคุ้นเคยกันดี ซึ่ง ความน่าทึ่งมันอยู่ตรงที่ ตู้คอนเทนเนอร์ทุกใบที่ใช้หมุนเวียนขนส่งกันทั่วโลกนั้น ล้วนต้องมีเบอร์ตู้กำกับทุกตู้
โดยที่เบอร์ตู้คอนเทนเนอร์ที่ว่านั้น จะไม่มีวันซ้ำกันเลย และรู้กันหรือไม่ว่า ในเบอร์ตู้คอนเทนเนอร์เหล่านี้ มีอะไรซ่อนอยู่บ้าง ??? ถ้าอยากรู้ ตามพวกเรามาดูกันเลย !!!
เบอร์ตู้คอนเทนเนอร์ ที่พวกเราใช้หรือเห็นกันทุกวันนี้ ถูกคิดค้นขึ้นเมื่อปี คศ.1970 โดย องค์กรที่ที่ชื่อว่า BIC (Bureau International des Containers) ซึ่ง เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่มุ่งส่งเสริมความปลอดภัยและความมั่นคงในด้านการขนส่งคอนเทนเนอร์
ซึ่งการถือกำเนิดเกิดขึ้นของเจ้าเบอร์ตู้สินค้า หรือที่เราเรียกกันติดว่าเบอร์ตู้คอนเทนเนอร์นั้น เกิดขึ้นภายหลังจากที่มีการคิดค้นตู้คอนเทนเนอร์สำหรับขนส่งสินค้าทางเรือขึ้น ถึง 14 ปี
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการจัดส่งสินค้า รวมถึงการตรวจสอบความถูกต้องของสินค้าของหน่วยงานภาครัฐในแต่ละประเทศ เนื่องจากปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ที่เพิ่มมากขึ้น ตามความต้องการของผู้ประกอบการในยุคนั้น
ทั้งนี้ BIC ได้ทำการออกแบบโครงสร้างของ ชุดรหัสตัวอักษรและตัวเลข ที่ง่ายต่อการตรวจสอบและจัดหมวดหมู่ตามหลักสากล ภายใต้มาตรฐานของหน่วยงาน ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ที่หลายคนรู้จักกันดี อย่าง ISO (International Standards Organization)
โดยที่ชุดรหัสตัวอักษรและตัวเลขที่ออกแบบขึ้นนั้น จะประกอบไปด้วยรหัส 2 ชุด คือ รหัสชุดแรกที่เป็นตัวอักษร 4 ตัว หรือที่เราเรียกกันว่า Prefix ของตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่ง ตัวอักษรสามตัวแรก จะบ่งบอกถึงเจ้าของตู้ โดยที่ตัวอักษรสุดท้าย จะเป็นตัวบ่งบอกประเภทของอุปกรณ์ ซึ่งที่พวกเราคุ้นเคยกันดี คือ ตัวอักษร U ซึ่งหมายถึงตู้คอนเทนเนอร์ หากแต่ในความเป็นจริงในภาคการขนส่ง จะมีตัวอักษรอื่นด้วย เช่น อักษร J และ Z ซึ่งหมายถึงอุปกรณ์ต่อพ่วง
ในขณะที่ รหัสชุดที่สอง จะเป็นตัวเลขอีก 7 หลัก ซึ่ง ในตัวเลข 6 หลักแรก จะเป็นหมายเลขของตู้คอนเทนเนอร์ใบนั้นๆ ซึ่งตัวเลข 6 หลักที่ว่านี้ เมื่อนำมาทำการสลับ มันสามารถทำการสร้างเบอร์ตู้ได้มากถึง 1 ล้านชุด โดยที่มีตัวเลขหลักสุดท้าย ซึ่งอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมด้านหลัง เป็นตัวที่ไว้ตรวจสอบความถูกต้องของเบอร์ตู้ หรือที่เราเรียกกันว่า การ Checking Digit ซึ่งเมื่อนำตัวเลขทั้ง 7 ตัว มารวมกัน จะไม่มีวันซ้ำกันเลย !!!
รวมไปถึง หน่วยงาน BIC ยังได้แสดงความเหนือชั้น ด้วยการออกแบบชุดรหัสเพิ่มเติมไว้ที่หน้าประตูตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อใช้กำกับประเภทหรือขนาด รวมถึงชนิดของตู้คอนเทนเนอร์ใบนั้นๆ ให้ตรงกับความถูกต้องขณะปฏิบัติงาน หรือที่เราเรียกกันว่า Container Code !!!
หรือ หากใครนึกไม่ออก ชุดรหัสที่ว่า มันคือชุดตัวเลขผสมกับตัวอักษร 4 หลัก ที่อยู่ด้านล่างเบอร์ตู้ ซึ่งหลายคนจะร้องอ๋อออ ทันที เมื่อเห็น 22G1 หรือ 45G1 !!!
ซึ่ง ชุดรหัสที่ว่านี้ ก็มีความหมายซ่อนอยู่เช่นกัน โดยที่ ตัวเลขหรือตัวอักษรในหลักที่ 1 จะเป็นการระบุความยาวของตู้ ในขณะที่ตัวเลขหรือตัวอักษรในหลักที่ 2 จะเป็นตัวระบุความสูงของตู้ โดยที่ตัวอักษรและตัวเลขในสองหลักสุดท้ายนั้น จะระบุประเภทหรือคุณลักษณะของตู้
2
ดังนั้น เมื่อนำรหัสทั้ง 2 ส่วน คือส่วนเป็นชุดเบอร์ตู้ และชุดที่เป็นลักษณะของตู้มารวมเข้าด้วยกัน มันจะกลายเป็นข้อมูลสมบูรณ์สำหรับการปฏิบัติงานทันที
ซึ่งหลายคนที่ผ่านคุ้นเคยหรือผ่านการทำงานด้วยรหัสเหล่านี้ จะสามารถรู้ได้ทันทีว่า เบอร์หรือหมายเลขตู้คอนเทนเนอร์ในกระดาษหรือหน้าจอที่เห็นนั้น คือ ตู้ประเภทใด แม้ว่าคนทำงานจะไม่ได้อยู่หน้างานหรือได้เห็นตัวตู้คอนเทนเนอร์จริงก็ตาม
ทั้งนี้ เมื่อเรารู้ความหมายของรหัสที่ซ่อนอยู่ในเบอร์ตู้สินค้าหรือตู้คอนเทนเนอร์แล้ว เราจะรู้ว่า เหตุใดจึงต้องระมัดระวังเสมอในการแจ้งหรือจดบันทึกเบอร์ตู้ให้ถูกต้องและครบถ้วน รวมถึงการระบุบนหน้าเอกสารใบตราส่งเรือ หรือ Bill of Lading !!!
TIPS -รู้หรือไม่ว่า ปัญหาหลักของคนทำงานนำเข้าส่ง-ส่งออก ร้อยละ 30 มาจากปัญหาเรื่องของเบอร์ตู้คอนเทนเนอร์ โดยที่ร้อยละ10 ของปัญหาที่เกิด มักจะกลายเป็นเหตุให้เกิดปัญหาใหญ่ตามมา อย่างเช่น เกิดค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดฝันจน JOB LOSS หรือตู้ตกเรือ !!!
1
TIPS - รู้หรือไม่ เคยมีเหตุการณ์ที่พบว่า ตู้คอนเทนเนอร์ 2 ใบ มีเบอร์ตู้ที่ซ้ำกัน หรือเหมือนกันทุกประการเกิดขึ้นที่ท่าเรือประเทศบังคลาเทศ โดยเหตุการณ์ในครั้งนั้นสร้างความประหลาดใจและความสับสนไม่น้อยกับเจ้าหน้าที่ในท่าเรือและศุลกากร ว่าปล่อยมาจนตู้สองใบมาวางคู่กันได้อย่างไร จนเป็นเหตุให้ต้องมีการรื้อและสังคายนาระเบียบการจัดการระบบการทำงานในช่วงหนึ่ง !!!
=========================
พิเศษ! กลุ่มไลน์ Openchat สำหรับ คนในวงการ นำเข้า ส่งออก เข้ามาสอบถามข้อมูล ติดตามข่าวการค้า การขนส่งระหว่างประเทศกันได้ที่ https://bit.ly/3seJRLk
=========================
ขอแนะนำ Logistics Butler by ZUPPORTS
ระบบ Line Official Account ที่เพื่อนๆ สามารถ Chat ปรึกษาด้านโลจิสติกส์ และการนำเข้าส่งออก โดยตรงกับ Shipping Man และทีมผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์
เหมือนมี พี่ๆ ที่ทำงาน / ที่ปรึกษาส่วนตัว นั่งข้าง ๆ โต๊ะคุณ!!
พร้อมรับสิทธิพิเศษ!
1. Freight Monthly Report รายงานอัพเดตสถานการณ์ขนส่งระหว่างประเทศ ทุกเดือน
2. แจ้งข่าว อบรม/Webinar ดีๆ สำรองที่นั่ง ก่อนใครเพื่อน
3. รับส่วนลด 20% สำหรับคอร์สฝึกอบรมออนไลน์ แบบสด สำหรับสมาชิก Logistics Butler
(ตัวอย่าง Course อบรม ได้แก่ DG Cargo, Reefer, พิกัด, พิธีการศุลกากรประเภทต่างๆ บรรยาย โดยวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญ ในสายวิชาชีพนั้นๆ ประสบการณ์ 10 ปี ++)
4. จองเวลาปรึกษา Online meeting แบบ one-on-one เพิ่มเติมได้ (มีค่าบริการเพิ่มเติม)
เหมือนมีห้องสมุดส่วนตัว รวบรวมข้อมูล ความรู้ให้คุณ ถึงหน้าจอมือถือ
พิเศษ!! สำหรับ 20 ท่านแรกเท่านั้น! รับทันที ปฏิทินจีน พร้อม code ปรึกษา Online meeting แบบ one-on-one ฟรี 30 นาที
สนใจลงทะเบียนได้เลยที่
(ติดต่อสอบถาม รายละเอียด เพิ่มเติมใน inbox ได้เลยจ้า)
โฆษณา