10 มี.ค. 2023 เวลา 02:00 • ธุรกิจ

หนังสือยืนยันยอดธนาคารส่งยังไง...ได้ตอบกลับชัวร์

ทาง CPD Academy ก็มีทริคสำหรับผู้สอบบัญชีและผู้ทำบัญชีที่มีเป้าหมายเดียวกันคือ อยากปิดงบการเงิน และมีตัวเลขในงบการเงินที่ถูกต้องที่สุด หนังสือยืนยันยอดจากธนาคารก็ถือว่าเป็นเอกสารจากองค์กรภายนอกที่จะมาช่วยยืนยันยอดคงเหลือในบัญชีของกิจการ และมีความน่าเชื่อถือในข้อมูลอยู่มากเลยค่า ทางสอบบัญชีถือว่า เป็นหลักฐานการสอบบัญชีที่เหมาะสมอย่างเพียงพอก่อนที่จะแสดงความเห็นในงบการเงินเลยหล่ะค่ะ
1. ดาวน์โหลดแบบฟอร์มขอยืนยันยอดบัญชีธนาคารที่อัปเดต
ทุกปีสภาวิชาชีพบัญชีจะเผยแพร่แบบฟอร์มแบบฟอร์มมาตรฐานที่สมาคมธนาคารไทยประชาสัมพันธ์ไว้ ตามลิงค์นี้เลยจ้า
ยืนยันยอดประจำปี 2565 ดาวน์โหลดแบบฟอร์มล่าสุดได้ที่นี่เลย
หนังสือยืนยันยอดธนาคาร ภาษาไทย https://www.tfac.or.th/upload/9414/Tb6LESujnE.docx
และอย่าลืม! ทุกปี อย่าลืมเช็คข่าวสารอัปเดตจากสภาวิชาชีพบัญชีด้วยนะว่ามีการเปลี่ยนแปลงแบบฟอร์มบ้างหรือไม่
2. กรอกข้อมูลในหนังสือขอยืนยันยอดให้ครบถ้วน
• ข้อมูลลูกค้า
การกรอกข้อมูลลูกค้าให้ถูกต้องและครบถ้วนจะช่วยให้เจ้าหน้าที่ธนาคารตรวจสอบยันกับฐานข้อมูลของธนาคารได้แม่นยำและรวดเร็วขึ้น
6 เรื่องที่ต้องตรวจสอบ ได้แก่
• เลขทะเบียนนิติบุคคล 13 หลัก และชื่อนิติบุคคลต้องกรอกให้ครบถ้วน
• รอบปีสิ้นสุด
• วันที่ขอข้อมูล – ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นวันเดียวกับวันปิดรอบปี
• เลขที่บัญชีและชื่อสาขาที่ใช้หักค่าธรรมเนียมในการออกหนังสือยืนยันยอด – ต้องมั่นใจว่าบัญชี active และมีเงินพอสำหรับตัดค่าธรรมเนียม
• บุคคลที่ลงนาม – ต้องมีอำนาจในการลงนามและลายเซ็นต์ตรงกับที่ให้ไว้กับธนาคาร
• อย่าลืมประทับตรานิติบุคคล (ถ้ามี) ให้เรียบร้อย
ข้อมูลผู้สอบบัญชี
ลองมาดูกันค่ะ ว่าข้อมูลผู้สอบบัญชีตรงไหนที่เราควรให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
• เลขที่อ้างอิงของเอกสารคำขอยืนยันยอด ตรงนี้จะเป็นเลขที่ใช้อ้างอิงของผู้สอบบัญชีเอง เวลาโทรไปติดตามกับธนาคารจะทำให้สืบค้นเอกสารได้ง่ายขึ้น
• ชื่อ-นามสกุลผู้สอบบัญชี
• ชื่อสำนักงาน หรือหากเป็นผู้สอบบัญชีอิสระก็ต้องระบุไว้ด้วยค่ะ
• ที่อยู่ตอบกลับหนังสือยืนยันยอด ต้องตรงกับหน้าซองจดหมายตอบกลับ (ที่ติดแสตมป์) แนบไว้
• หมายเลขโทรศัพท์ และ Email สำหรับการติดต่อ ควรใส่ให้ถูกต้อง
หมายเหตุ ธนาคารจะไม่ตอบหนังสือยืนยันยอดทาง email กรณีที่ไม่ใช่อีเมลนามสกุลบริษัท ฉะนั้น หากผู้สอบบัญชีเป็นผู้สอบบัญชีอิสระ ที่ใช้ email @yahoo.com, @hotmail.com, @gmail.com จะต้องรอรับหนังสือยืนยันยอดตอบกลับมาทางไปรษณีย์เท่านั้น
3. ใช้ฟอร์มคำขอแยกต่างหากสำหรับบัญชีธนาคารที่ปิดระหว่างงวด
สำหรับข้อมูลบัญชีที่ปิดระหว่างงวดจะต้องกรอกฟอร์มคำขอแยกต่างหากอีกฟอร์มหนึ่งค่ะ ซึ่งเราสามารถดาวน์โหลดตัวอย่างแบบฟอร์มได้ที่นี่
ตัวอย่างฉบับภาษาไทย https://www.tfac.or.th/upload/9414/S6xRnzkEju.docx
และฉบับภาษาอังกฤษ https://www.tfac.or.th/upload/9414/ajZ8Gs7SnD.docx
แต่จากประสบการณ์ ธนาคารมักไม่ตอบกลับผู้สอบบัญชีถ้าเค้าไม่สามารถตัดเงินในบัญชีได้ค่ะ ฉะนั้น เราต้องวางแผนไปจ่ายชำระค่าธรรมเนียมไว้ล่วงหน้าดีๆ เลยล่ะสำหรับเคสนี้
4. แนบตัวอย่างแบบฟอร์มตอบกลับไปด้วย
การแนบตัวอย่างฟอร์มตอบกลับอาจจะไม่ได้บังคับสำหรับทุกธนาคาร แต่หากเราแนบตัวอย่างไปจะช่วยให้เจ้าหน้าที่ธนาคารเข้าใจวัตถุประสงค์ของการทำหนังสือยืนยันยอดมากขึ้นและทำงานได้ไวขึ้น เพราะมีตัวอย่างนั่นเอง
ถือว่าเป็นการซัพพอร์ตข้อมูลเพื่อที่เราจะได้ข้อมูลที่เร็วขึ้น
ตัวอย่างแบบฟอร์มตอบกลับรายการ / ธุรกรรมที่มีสถานะคงอยู่ ดาวน์โหลดที่นี่
ตัวอย่างแบบฟอร์มตอบกลับรายการ / ธุรกรรมที่มีการปิดบัญชีระหว่างงวดคลิก
5. แนบซองจดหมายและติดแสตมป์ไปด้วย
ข้อนี้ห้ามลืมเด็ดขาด!!! เราต้องแนบซองจดหมายตอบกลับ จ่าหน้าซองถึงผู้สอบบัญชีให้เรียบร้อย และติดแสตมป์ด้วยค่ะ หลายธนาคารกำหนดให้เราแนบซองจดหมายแบบมาตรฐาน ไซด์ 4.25 x 9 นิ้ว นะคะ เพราะเอกสารหลายแผ่น ถ้าแนบซองจิ๋วๆ ไปธนาคารไม่ตอบกลับไม่รู้ด้วยนะ
และสำหรับบางธนาคารไม่ได้บังคับว่าต้องแนบซองตอบกลับไปนะ เช่น ธนาคารกสิกรไทย เพราะเค้าจะมีซองของเค้าเอง ส่งกลับมาให้ผู้สอบบัญชีได้ง่ายตามขั้นตอนของธนาคารค่ะ
6. เช็คที่อยู่ติดต่อธนาคารให้ชัวร์
เมื่อเตรียมแบบคำขอ แบบฟอร์มตอบกลับ และซองจดหมายติดแสตมป์เรียบร้อยแล้ว อย่าลืมเช็คที่อยู่ติดต่อธนาคารให้ชัวร์ตามขั้นตอนต่อไปนี้จ้า
• เช็คว่าส่งได้ที่สาขาหรือสำนักงานใหญ่
• ถ้าต้องส่งไปสาขา สาขาที่เคยส่งตอนนี้ยังเปิดอยู่ไหม (หลายที่โดนปิดไปแล้วโดยเฉพาะช่วง Covid-19) หรือเปลี่ยนที่อยู่ ต้องตรวจสอบใหม่อีกครั้งเสมอ
การเช็คที่อยู่จัดส่งให้ธนาคารนั้น ช่วยลดขั้นตอนการส่งเอกสารผิด และทำให้เราได้รับคำยืนยันเร็วขึ้นด้วยค่ะ
ที่สำคัญถ้าธนาคารล่าช้า เราก็สามารถติดตามทวงถามเอกสารได้ง่ายมากยิ่งขึ้นจ้า
เช็คที่อยู่ติดต่อธนาคารอัปเดตได้ที่นี่
- ธนาคารทั่วไป https://www.tfac.or.th/upload/9414/DvgREgyyQC.pdf
- ธนาคารของรัฐ https://www.tfac.or.th/upload/9414/FCrchsILDv.pdf
7. เก็บ Tracking No. เอาไว้ด้วย
อย่าลืมเก็บ Tracking No. ไว้ติดตามทวงถามธนาคารด้วยนะคะ เพราะช่วงปิดงบการเงินต้นปีแบบนี้ ธนาคารได้รับเอกสารจากผู้สอบบัญชีเยอะมากๆ จึงมีโอกาสสูงลิ่วที่เอกสารจะตกหล่นได้ การเก็บ Tracking เอาไว้อย่างน้อยก็อุ่นใจระดับนึง เพื่อเช็คว่าเอกสารส่งตรงถึงธนาคารแน่นอนจ้า แล้วยังเป็นข้อดีของเราเองที่เวลาโทรถามธนาคารเราสามารถระบุชื่อผู้รับได้ ถ้าหากผู้รับได้เซ็นรับในระบบของขนส่งที่เราใช้บริการนั่นเองค่า แบบนี้ตามเจอง่ายแน่นอน
หนังสือยืนยันยอดธนาคารแล้ว มีสำคัญมากๆ สำหรับการปิดงบการเงินอย่างสมบูรณ์ค่ะ ดังนั้น ผู้สอบบัญชีเองก็อย่าลืมส่งหนังสือยืนยันยอดธนาคารให้ครบถ้วน และนักบัญชีควรให้ความร่วมมือด้วยเช่นกัน งานปิดบัญชีปีนี้จะได้เสร็จไวๆ ไม่ต้องรอนาน แถมงบการเงินยังถูกต้องมีความน่าเชื่อถือด้วยค่า
อบรมบัญชีเก็บชั่วโมง CPD ออนไลน์ง่ายๆ ได้ที่บ้าน
ติดตาม CPD Academy ได้ที่
โฆษณา