9 มี.ค. 2023 เวลา 05:30 • ครอบครัว & เด็ก

📌6 พฤติกรรมเสี่ยงทำให้เด็กเกิดภาวะสมาธิสั้น

‘สมาธิสั้น’ ไม่ใช่เรื่องไกลตัว ยิ่งในยุคที่สิ่งรอบตัวหมุนไปไวจนเด็กแทบไม่มีเวลาได้จดจ่อกับอะไรเป็นเวลานานยิ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดภาวะสมาธิสั้นมากขึ้น (จากปกติที่พบได้บ่อยในเด็กวัยเรียน) จนพบปัญหาการเข้าสังคมและรบกวนการเรียนไม่น้อย บทความนี้เลยขอชวนผู้ปกครองทุกท่านมาสังเกต 6 พฤติกรรมเสี่ยงทำให้เด็กเกิดภาวะสมาธิสั้นกัน
1) ไม่มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า
ไม่ว่าจะขณะเรียน เล่น ทำงาน หรืออะไรก็ตาม ดูเหมือนเด็กๆ จะไม่มีสมาธิจดจ่อกับกิจกรรมที่กำลังทำอยู่ตรงหน้าเอาซะเลย
2) อยู่ไม่นิ่ง
ต้นฉบับของคำว่า ซนเหมือนลิง จริงๆ แล้วอาจเสี่ยงสมาธิสั้นได้จากการยุกยิกตัวตลอด หรือวิ่งเล่นปีนป่ายไปมาไม่หยุด เหมือนพลังล้น ไม่สามารถนิ่งได้
3) เหมือนไม่ได้ฟังคนที่กำลังคุยด้วย
บางครั้งกำลังคุยอยู่เดี๋ยวก็หันไปสนใจสิ่งนั้น ซักพักก็หันไปสนใจสิ่งนู้น ไม่ได้ฟังสิ่งที่กำลังพูดคุยอยู่ด้วยหรือวอกแวกไปหาสิ่งอื่นได้ง่ายอาจต้องระวังด้วยเหมือนกัน
4) พูดแทรกบ่อย
นอกจากไม่ฟังในสิ่งที่อีกฝ่ายพูดแล้ว เด็กบางคนที่มีภาวะสมาธิสั้นอาจชอบพูดแทรกขัดจังหวะบ่อย พูดไม่หยุด จนคู่สนทนาเหนื่อยเลยล่ะ
5) ทำงานไม่เสร็จหรือไม่ครบถ้วน
ถ้ามีการบ้านหรืองานบ้านที่ได้รับมอบหมาย แต่ผิดพลาดบ่อย ไม่เสร็จตามสั่ง หรือไม่ครบถ้วนบ่อย แม้แต่การทำกิจวัตรประจำวัน ก็อาจไม่ใช่การลืมปกติ แต่เป็นความเสี่ยงเกิดภาวะสมาธิสั้นได้เหมือนกัน
6) รอไม่ได้
หากมีอาการเหมือนคนใจร้อนรอไม่ได้ถึงขั้นขาดความยับยั้งชั่งใจต้องแซงคิวหรืออยู่ๆ ก็พูดออกมาไม่ทันคิดอาจเสี่ยงเป็นสมาธิสั้นได้เหมือนกัน
นอกจากนี้ หากพบว่า เกิดอาการเหล่านี้ตั้งแต่ยังเด็กและเกิดขึ้นในหลายสถานที่ หลายสถานการณ์ จนกระทบกับการดำเนินชีวิตประจำวันอย่าลืมรีบพาเด็กๆ ไปเข้ารับการรักษาฟื้นฟูและหาวิธีปรับพฤติกรรมอย่างเหมาะสม เพื่อให้อาการดีขึ้นหรือหายก่อนเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ เพราะเกินกว่าครึ่งที่ภาวะสมาธิสั้นส่งผลกระทบไปยังตอนโตเลยทีเดียว
#Neurobalanceasia #Neurofeedback #Biofeedback #Brain #Healthwellness #Family #Parenting #Kid #นูโรบาลานซ์ #นิวโรบาลานซ์ #นูโรฟีดแบค #นิวโรฟีดแบค #ไบโอฟีดแบค #ครอบครัว #การเลี้ยงดู #เด็ก #พัฒนาการเด็ก #พัฒนาการช้า #สมาธิสั้น #ออทิสติก #วิตกกังวล #ย้ําคิดย้ําทํา #ซึมเศร้า #อารมณ์รุนแรง
📝ทำแบบประเมินอาการออทิสติก ATEC ได้ที่ >> https://neurobalanceasia.com/atec/
👉กลุ่มอาการที่สามารถพัฒนาได้ด้วยเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ [❌ปราศจากการใช้ยา]
>> ออทิสติก (ASD) https://bit.ly/375Oq35
>> สมาธิสั้น (ADHD) https://bit.ly/3Fl9Tln
>> บกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) https://bit.ly/3ktXzFN
>> ดาว์นซินโดรม (Downsyndrome) https://bit.ly/3F4AQtl
>>ความเครียด (Stress) https://bit.ly/3o8SqoI
สามารถติดต่อขอรับคำปรึกษาฟรี และตรวจประเมิน
การทำงานของสมองโดยผู้เชี่ยวชาญได้ที่
ศูนย์ Neurobalance
ช่องทางการติดต่อ
☎ โทร : 02-245-4227 / 097-429-1546
Line : @neurobalance หรือ https://line.me/R/ti/p/@neurobalance
เว็บไซต์ : www.neurobalanceasia.com
📅 ทำการนัดหมายออนไลน์
โฆษณา