17 มี.ค. 2023 เวลา 23:00 • ครอบครัว & เด็ก

📌ลดความเสี่ยงสมาธิสั้น เมื่อเด็กๆ ติดเล่น TikTok

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า กิจกรรมยอดฮิตของคนทุกเพศทุกวัยในยุคนี้คือ การเล่น TikTok แต่สิ่งที่สร้างความบันเทิงเหล่านี้กลับกลายเป็นอาวุธร้ายที่ย้อนกลับมาทำลายจนเสี่ยงเกิด ‘สมาธิสั้น’ หรือ ADHD จากการเสพติดไถฟีดดูวิดีโอความยาวสั้นๆ ที่เรียงต่อกันแบบถี่ๆ จนเหมือนกับชีวิตนอกหน้าจอดูช้าและไม่น่าสนใจเท่ากับคลิปบนจอ เพราะงั้นเลยขอมาแชร์วิธีลดความเสี่ยงสมาธิสั้น เมื่อเด็กๆ ติดเล่น TikTok กัน
👉จำกัดเวลาในการเล่นสมาร์ทโฟน
วิธีผ่อนปรนแบบไม่ทำร้ายจิตใจเด็กขั้นแรกอาจเริ่มจากการจำกัดระยะเวลาในการเล่นสมาร์ทโฟน เช่น งดเล่นขณะทานอาหารและทำการบ้าน เป็นต้น หรือถ้าเป็นไปได้อาจตกลงกับเด็กๆ ว่า ให้เล่นสมาร์ทโฟนได้ไม่เกิน 1-2 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อฝึกระเบียบวินัย ลดโอกาสเกิดสมาธิสั้น และรักษาสุขภาพที่ดีของดวงตาด้วย
👉ติดตั้งแอปพลิเคชั่นกำหนดเวลาใช้งาน
หากควบคุมลำบากหรือไม่ว่างมาดูแลการใช้งานสมาร์ทโฟนตลอดเวลาอาจติดตั้งแอปพลิเคชั่นกำหนดระยะเวลาการใช้งานสมาร์ทโฟนให้ใช้งานตามเวลาที่กำหนดก็ได้เหมือนกัน
👉ชวนลูกทำกิจกรรมอื่นแทน
ถึงเด็กๆ จะติดเล่นโทรศัพท์มือถือมากแค่ไหน แต่สิ่งที่เด็กทุกคนต้องการจากใจจริงก็คือ ช่วงเวลาที่ผู้ปกครองพร้อมมอบความเอาใจใส่ อีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้ลูกห่างจากการติดจอจนเสี่ยงเกิดสมาธิสั้นได้ก็คือ ชวนลูกทำกิจกรรมอื่นแทน เช่น ศิลปะ, พาไปเที่ยวแหล่งการเรียนรู้, พูดคุย, อ่านหนังสือ เป็นต้น
👉แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับสื่อบน TikTok
ไม่จำเป็นจะต้องห้ามไม่ให้เด็กเล่นแบบไม่มีเหตุผล เพราะหากใช้งานเป็นสื่อเหล่านี้ก็สามารถสร้างประโยชน์ได้เหมือนกัน โดยพยายามสร้างเอนเกจเมนต์กับสื่อมีคุณภาพบ่อยๆ คลิปสไตล์เดียวกันก็จะถูกดันขึ้นฟีดมาเอง และระหว่างการใช้งานอาจแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับสื่อบน TikTok ยกระดับทักษะการเรียนรู้และการให้เหตุผล รวมถึงการสื่อสารกับคนรอบข้างด้วย หลีกเลี่ยงการปล่อยให้เด็กๆ เสพสื่ออิสระตามลำพัง เพราะอาจเข้าถึงสื่อไม่เหมาะสม โดยไม่ระวังได้
แม้การเล่น TikTok จะเพิ่มความเสี่ยงให้เด็กๆ เกิดภาวะสมาธิสั้นได้มากขึ้น แต่ไม่จำเป็นที่จะต้องจำกัดหรือขีดกรอบให้เด็กๆ อึดอัดเกินไป แค่ปรับให้ใช้งานอย่างเหมาะสมด้วยความเข้าใจก็นับว่า เพียงพอแล้ว
#Neurobalanceasia #Neurofeedback #Biofeedback #Brain #Healthwellness #Family #Parenting #Kid #นูโรบาลานซ์ #นิวโรบาลานซ์ #นูโรฟีดแบค #นิวโรฟีดแบค #ไบโอฟีดแบค #ครอบครัว #การเลี้ยงดู #เด็ก #พัฒนาการเด็ก #พัฒนาการช้า #สมาธิสั้น #ออทิสติก #วิตกกังวล #ย้ําคิดย้ําทํา #ซึมเศร้า #อารมณ์รุนแรง
📝ทำแบบประเมินอาการออทิสติก ATEC ได้ที่ >> https://neurobalanceasia.com/atec/
👉กลุ่มอาการที่สามารถพัฒนาได้ด้วยเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ [❌ปราศจากการใช้ยา]
>> ออทิสติก (ASD) https://bit.ly/375Oq35
>> สมาธิสั้น (ADHD) https://bit.ly/3Fl9Tln
>> บกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) https://bit.ly/3ktXzFN
>> ดาว์นซินโดรม (Downsyndrome) https://bit.ly/3F4AQtl
>>ความเครียด (Stress) https://bit.ly/3o8SqoI
สามารถติดต่อขอรับคำปรึกษาฟรี และตรวจประเมิน
การทำงานของสมองโดยผู้เชี่ยวชาญได้ที่
ศูนย์ Neurobalance
ช่องทางการติดต่อ
☎ โทร : 02-245-4227 / 097-429-1546
Line : @neurobalance หรือ https://line.me/R/ti/p/@neurobalance
เว็บไซต์ : www.neurobalanceasia.com
📅 ทำการนัดหมายออนไลน์
โฆษณา