9 มี.ค. 2023 เวลา 15:18 • การเมือง

ความท้าทายที่มีต่อการพูดคุยเพื่อสันติสุข จชต.

๑)การพูดคุยเดินหน้ามาไกลย้อนกลับไม่ได้ หากล้มลงย่อมสร้างผลกระทบต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากการพูดคุยได้สร้างความหวังต่อผู้ที่สน้บสนุน ทั้งนี้หากผู้ใดสร้างปัญหาต่อการพูดคุย คาดว่าจะได้รับการต่อต้านและจำเลยของสังคม ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรัฐ มาเลเซีย และBRN
๒) ความคาดหวังต่อการพูดคุยสร้างการเปลี่ยนแปลงภายในพื้นที่ จชต. โดยในแง่ของสภาวะแวดล้อม(Environmental Situation ) ที่เกี่ยวข้องกับการพูดคุยมีผลให้ภาคส่วนต่างมีการเคลื่อนไหวในหลายระดับ นับตั้งการสังเกตการณ์ การเฝืาดู การต้องมีส่วนร่วม ความต้องการแสดงความคิดเห็น และในปัจจุบัน ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของการพูดคุย ซึ่งถือว่าเป็นความปรารถนาของผู้ที่สนใจนับวันจะเข้มข้นมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้สภาวะในพื้นที่มีการพูดคุยในการแสวงหาทางออก
๓)การเปลี่ยนแปลงอีกประเด็นหนึ่งคือ การที่ต่างประเทศเริ่มเข้ามาเกี่ยวพันตามช่องทางที่แต่ละชาติมีในพื้นที่ โดยมีเป้าหมายในการสนับสนุน โดยมองว่าปัญหาดังกล่าวต้องแก้ไขด้วยการพูดคุย หรือการใช้กระบวนการสันติภาพ เพราะต่างชาติ ได้เฝ้าติดตามปัญหาในพื้นที่ จชต.มาอย่างต่อเนื่องแต่สิ่งที่อาจผกผันคือ การที่ต่างชาติต้องการการเข้าถึงขบวนการBRNด้วย ซึ่งเป็นตามที่BRNต้องการด้วย เพราะ BRNต้องการยกระดับสถานะและปัญหาให้เป็นประโยชน์ต่อขบวนการBRN เนื่องจาก BRNมองว่าตนเองไม่มีความเท่าเทียมกับฝ่ายรัฐ
๔)สำหรับสิ่งที่จะส่งผลกระทบต่อการพูดคุยหากพิจารณาจากการเปลี่ยนแปลง คือ ปัญหาภายในBRNยังขาดเอกภาพ ที่อาจมีspoilers ต่อไปในอนาคต ขบวนการอื่นๆ อยากมีส่วนร่วม เช่นBIPP PULO ปัญหาการเปลี่ยนแปลงภายในไทย จากการเลือกตั้ง ปัญหาของความไม่ลงรอยกันของมาเลเซียกับองค์กรต่างประเทศ ซึ่งการแก้ไขปัญหาและการรับมือของผู้ทีเกี่ยวข้องต้องมีภาพรวมที่ชัดเจนในทุกมิติ และยุทธศาสตร์ที่เหมาะสม และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง ของสถานการณ์ในพื้นที
โฆษณา