11 มี.ค. 2023 เวลา 00:48 • ไลฟ์สไตล์

“มนได (問題)” และ “คะได (課題)” สไตล์ญี่ปุ่น

จากประสบการณ์ที่ทำงานกับบริษัทฯญี่ปุ่นมานานมากกว่า 30 ปี
วัฒนธรรมความคิดเชิงบริหารที่แตกต่างกันอย่างมากถึงขั้นสื่อได้ว่า
เป็นไปคนละแนวความคิดเมื่อสมัยต้นๆยุคร่วมทุนไทยญี่ปุ่น
การร่วมกันระหว่าง ชาติต่างวัฒนธรรมมีความละเอียดอ่อน
ด้านการบริหารจัดการอย่างมากและยากยิ่ง
การทำงานร่วมวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
ตัวที่สำคัญคือ Core Coperate Culture วัฒนธรรมองค์กร ที่แตกต่างกันอย่างมาก ตั้งแต่แนวคิดผู้คนของประเทศอยู่บนทวีปมีผืนดินใหญ่
กับประเทศที่เป็นประเทศเกาะกลางทะเล ที่มีผืนแผ่นดินทุกตารางนิ้ว ทุกตารางเซ็นติเมตร ใช้พัฒนาก่อให้เกิดประสิทธิภาพแบบสมบูรณ์ทางความคิด
บุคคลากรถูกฝึกฝนผ่านความเข้มงวดในกรอบของระเบียบวินัยความตระหนักคิด
ในทุกๆเรื่อง ละเอียดรอบครอบ ดำรงอยู่บนวิถีของคนมีตรรกะและระบบ
เพราะนั่นหมายถึง ระบบ มาตรการ ระเบียบ วินัย ที่เป็นกฎเกณฑ์กำหนด
หมายถถึงความตระหนักในการใช้ชีวิตเพื่อการแก้ปัญหาทั้งสิ้น การดำรงตน
อยู่บนความพร้อมที่จะรับสถานการณ์คุกคาม จากธรรมชาติ คลื่นยักษ์
พายุไต้ฝุ่น แผ่นดินไหวภูเขาไฟระเบิด ดินถล่ม แผ่นดินแยก ฯลฯ สารพัด
ภัยธรรมชาติขนาดใหญ่ที่เราไม่ค่อยพบเจอ
สิ่งเหล่านี้คือ การเรียนรู้ปลูกฝังให้ " มอง คาดการณ์ รับมือปัญหา ละเอียดอ่อน
กับการบริหารปัญหาตลอดชีวิต" เพราะนั่นคือ Life Safety จนถ่ายทอดวัฒนธรรม
ลงไปถึงรากของการบริหารธุรกิจ บริหารครอบครัว บริหารชีวิตอย่างมีหลักคิดและมีแผนงานตลอดเวลา"
มาตรการรับมือของคนญี่ปุ่นอย่างทีระบบแบบแผน
สำหรับคนไทย แผ่นดินสีเขียวกว้างใหญ่ทรัพยากรมากหลากหลาย วัฒนธรรมเรียบง่ายสงบสบาย แผ่นดินก็ไม่เคยไหวซักกะที ไหวแบบแผ่นดินแยก
ลั่นสะเทือนรุนแรง คลื่นยักษ์ มีแต่น้อยจนแทบไม่มี สะเทือนนิดหน่อย
จิ๊บๆเด็กๆมากครับประเทศไทย คนไทยโชคดีมาก...ภูมิยุทธศาสตร์ประเทศ
ดีเยี่ยม
ดังนั้นพายุไต้ฝุ่น ทอนาโด ไซโคลน... คลื่นยักษ์ ภูเขาไฟระเบิดรึ
อะไรก็ไม่มีไม่เคยเจอ
ชีวิตก็เรียบๆ สงบสุข สบายเรื่อยๆ เอื่อยๆเย็นๆ
จะไปรีบวิ่งรีบหลบในอุโมงค์ในหลุมหลบภัย หรือรับมือกับภัยพิบัติอะไรกัน
โดยมากจะติด"เดี๋ยวก่อน เอาไว้ก่อน" ไม่เห็นจะเป็นไรเลย เยอะ!
การฝึกซ้อม ระวังภัยเรียนรู้มาตรการอะไรก็เบาๆบางๆ ระบบคิดการวางแผน
เตรียมการรับมือ ก็ไม่รู้จะรับมืออะไร เพราะไม่มีเหตุการณ์ตื่นเต้นหนักๆ
สักที บางๆเบาๆชิวจริงๆชีวิต แผนฉุกเฉินรึ แผนชีวิตรึ แผนงานรึ...
ไม่เร่งร้อน ไม่เสร็จก็ทำใหม่พรุ่งนี้ พรุ่งนี้ ...ไม่เคยมีวันนี้ซะทีเนาะ
ถ้า เฮฮาข้ามาก่อน ก็ช่วยไม่ได้เมืองไทย สบายๆ
คนนี้ยิ้มสวยจังเนาะ" ไม่มีปัญหา Mondai Nai "  ฮิฮิ
" วัฒนธรรมจ้างงานครั้งเดียวที่เดียวตลอดชีวิตของคนญี่ปุ่น กับ
การเปลี่ยนงานตลอดเวลา ทุกเดือน ทุกปีของคนไทย "
แนวคิด ความมุ่งมั่น เป้าตั้งที่แข็งแรง แตกต่างอย่างไม่สอดคล้องกันจริงๆ
เมื่อมองจากวัฒนธรรมคน ของทั้งสองฝ่าย ในวันนี้ ยังไงคนไทยก็ต้องปรับ
มากกว่าคนญี่ปุ่น เพราะเขาคือ ทุน คือผู้จ้างงาน
Mondai ปัญหา และ Kadai เป้าหมายความคาดหวังที่คาดว่าจะไปถึงความสำเร็จที่ตั้งไว้มีความสอดคล้องกันอย่างไร? ในแนวคิดคนญี่ปุ่น
ความแตกต่างระหว่างผู้บริหารชาวไทย และ ผู้บริหารชาวญี่ปุ่น
คือ ผู้บริหารไทยมักอยากได้ยินได้ฟังว่าคำว่า “ไม่มี ปัญหา” Mondai Nai
เพราะมักคิดว่า ถ้าไม่มีปัญหา หมายถึงผู้รับผิดชอบรับมือได้ เยี่ยมเก่ง โอเค!
ความคาดหวังแบบไทยๆ จ้างมาเพื่อฟังว่า "ไม่มีปัญหา"
ดังนั้นไทยสไตล์ไทยก็จะพูดตอบสังคมว่า “ไม่มีปัญหาครับ/ค่ะ”
##คือ ซุกปัญหาไว้ใต้พรมเพียบพร้อมระเบิดมากมาย.แบบDangerousเลย
ตัวปัญหาMondai ที่ยังคงอยู่แต่ รายงานว่าไม่มีปัญหา
ในทางกลับกันผู้บริหารญี่ปุ่น จะให้ความสนใจคำว่า"ปัญหา" Mondai deska.
มองว่าเป็นไปไม่ได้ ที่จะไม่มีปัญหาเลย ต้องมีต้องหาต้องค้นหาออกมา
แล้วหาวิธีแก้ปัญหาป้องกันสิ่งที่คาดว่าจะมีปัญหา
ผู้บริหารชาวญี่ปุ่นจะกังวลมากว่าผู้รับผิดชอบนั้นใส่ใจการทำงานอยู่หรือเปล่า หรือมีความสามารถเพียงพอหรือไม่ ไม่มีปัญหาเป็นไปได้รึ เพราะมีความเชื่อที่ถูกปลูกฝังประสบการณ์มาทำให้เชื่อว่าการทำงานใด ๆ เป็นไม่ได้ที่จะ ไม่มีปัญหา
ผู้บริหารญี่ปุ่นมองว่าผู้รับผิดชอบที่มีความสามารถจะมองเห็นปัญหา
สามารถรายงานปัญหาและอุปสรรคได้ และมองคนที่รายงานทุกอย่างว่าไม่มีปัญหาเป็นคนที่ไม่ใส่ใจทำงานมากกว่า ( Key success difference reasons )
อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารชาวญี่ปุ่นก็ไม่ได้ชอบที่จะฟังแต่ปัญหาและไม่บอกวิธีแก้ปัญหา
แต่จะชอบคนที่มารายงานปัญหาพร้อมทั้งวิธีรับมือแก้ไขด้วย ซึ่งในญี่ปุ่นจะแยกกันเรียกปัญหาว่า “มนได (問題)” และเรียกวิธีรับมือกับปัญหานั้นว่าจะทำอย่างไรที่จะไปถึงเป้าหมายตามที่คาดไว้ “คะได (課題)”จึงมาผสมความหมายความคาดหวังในเป้าหมายและวิธีการแก้ในความหมาย
ในความเห็นและประสบการณืของผู้เขียน
ถ้าอธิบายให้เห็แก่นของความหมายจริงๆ คือ เรียงลำดับความคิดแบบนี้ครับ
ใช้การวิเคราะห์ปัญหา
มีปัญหาครับ !
ปัญหาอะไร Whyๆๆๆๆๆ 5" why เพื่อค้นหา ฟังเหตุผลลึกลงไปในลักษณะวิเคราะห์ก้างปลาและเครื่องมือสนับสนุนการค้นหาปัญหาเพื่อพร้อมตอบ...
ทำไมถึงคิดว่ามีปัญหา? คิดลอยๆหรือคิดว่ามีปัญหา คิดจากความคาดหวังเป้าหมายอะไร? และที่ไม่ได้ตามที่คาดคิดหรือตามเป้าหมาย ตกเป้าไป มากน้อยอย่าไรเท่าใด? อันนี้แหละจะถามเรื่อง Kadai ว่าตั้งความคาดหวังคาดเป้าหมายไว้อย่างไร? จึงจะได้รู้ว่าต้องหาทางแก้ไขและมี Counter Measure แนวทางการ
แก้ไขอะไร? ตามมาเป็นทางเลือก Option 1,2,3....ตามลำดับความสำคัญ
แต่คนไทยแค่รู้สึกก็ บอกว่ามีปัญหาละ ไม่ได้บอกว่ามีปัญหาจาก มนได Mondai มาแจ้งมาบอกมาเปรียบเทียบ จึงเป็นปัญหาลอยๆจากความรู้สึก ไม่ชัดเจน
เพราะไม่มีข้อมูลไม่มีความคาดหวังตั้งไว้ก่อน ไม่มีตัวชี้วัดแสดง
เป้าหมายที่ต้องการบรรลุความสำเร็จ
##ไม่ได้เอาเป้าไปตั้ง ยิงธนูไปก็ไม่รู้ว่าจะเข้าเป้าหมายอะไร กลางจุดแดง ต่ำกว่าเป้า หรือตกเป้าเท่าไหร่บอกไม่ได้ ###
มนได Mondai (問題): คือ ช่องว่าง ที่เกิดขึ้นระหว่างสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน กับ คาได Kadai (課題) เป้าหมายในอุดมคติที่ตั้งไว้ ซึ่งมีทั้งมนไดเชิงปริมาณ และ มนไดเชิงคุณภาพ
ตัวอย่าง :
Kadai คาได เป้าความคาดหวังตั้งว่าจะลดน้ำหนักจาก 100 กิโลเป็น 70 กิโล
ภายใน 6 เดือน
ทำการวางแผน กำหนด Action Plan.....PDCA สารพัดและเริ่ม Kick Off
ในระหว่างดำเนินการไปตามแผนก็มีการติดตามประเมินfeedback ผลจากวิธีการ
ที่กำหนดในแผน สิ้นสุด 6 เดือน ผลที่ได้รับ เท่ากับ 85 กิโล
เกือบสำเร็จละแต่ยังไม่ถึงเป้าหมาย
แนวทางการนำมาถอดบทเรียนก็คือ เป้าหมายลดลงให้เหลือน้ำหนัก 70 กิโล
แต่ทำได้แค่ 85 กิโล ตำกว่าเป้า 15 กิโล นี่คือ ปัญหา Mondai ที่ทำไม่ได้ตามที่คาดหวัง Kadai ต้องคิดทำต่อ รายงานปัญหาจากการเทียบ ผลลัพธ์กับคววามคาดหวัง ได้ว่าทำอะไรพยายามทำอะไรไปแล้วได้ผลลัพธ์มาแบบนี้ จะทำต่อแบบเดิมหรือเลือวิธีใหม่ อย่างไร ให้ได้เป้าหมาย 70 โดยกำหนด Action Planใหม่...
ทบทวนวิธีไปถึงเป้าหมายอีก และอีก
ทบทวนดูนะครับ
"ปัญหาเป็นแรงขับที่เยี่ยมยอดของนักบริหารปัญหาให้เดินไปสู่เป้าหมาย
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัญหาเป็น Coach เป็นเพื่อนกับความสำเร็จเสมอ"
ขอบคุณทุกท่านที่แวะเวียนมาอ่านให้กำลังใจกันครับ
วันนี้เท่านี้นะครับ
แล้วพบกันโอกาสต่อไปครับ
โฆษณา