11 มี.ค. 2023 เวลา 05:34 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ระวัง Domino Effect อาจกำลังจะเกิดขึ้น!

เมื่อเช้าวันศุกร์ อ่านเจอข่าวหนึ่งที่กลายเป็นความวิตกกังวลครั้งใหญ่ของระบบการเงินสหรัฐฯ
1
และเมื่อลองดูที่มาที่ไปแล้ว ผมคิดว่า นักลงทุนควรติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด ว่ามันจะกลายเป็นโดมิโน และเป็นปัจจุัยกดดันให้เกิดการปรับฐานใหญ่ในตลาดหุ้นโลกอีกรอบหรือไม่
เหตุที่เกิดขึ้นคือ ธนาคารที่ใหญ่ติดอันดับ 1 ใน 20 ของสหรัฐฯ และใหญ่ที่สุดในซิลิคอนวัลเลย์ ที่ชื่อว่า Silicon Valley Bank (ตอนไปนี้ขอเรียกว่า SVB) ราคาปรับตัวร่วงในคืนวันพฤหัสฯ วันเดียวถึง -60%
นักลงทุนใน Wall Street แห่เทขายเพราะ คนฝากเงินใน Main Street ทำให้เกิด bank run หรือ แห่ไปถอนเงินกันจนเกิดวิกฤตสภาพคล่องกับตัวธนาคารเอง
1
พอคนแห่ไปถอนเงิน แต่ธนาคารมีเงินไม่พอ ก็ประกาศขายหุ้นสามัญและบุริมสิทธิมูลค่ารวมสูงถึง 2.25 พันล้านดอลลาร์ให้แก่นักลงทุน
พอประกาศปั๊บ เรื่องก็แดงขึ้นมาว่าธนาคารมีเงินไม่พอ ผลที่ตามมาก็คือ กองทุน Venture Capital หลายรายเริ่มแนะนำให้บริษัทสตาร์ตอัพที่ตัวเองไปลงทุนให้ถอนเงินออกจาก SVB ก็ยิ่งเร่งแรงถอนเงินฝากออกจากธนาคารมากขึ้นไปอีก
2
ล่าสุดเมื่อคืน หน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินแห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย ออกคำสั่งปิด SVB ไปก่อนจนกว่าจะกลับมาแก้สถานการณ์นี้ได้
ทำไม SVB มีเงินไม่พอ?
1
SVB ไม่ใช่ธนาคารทีมี business model แบบที่เราๆเข้าใจว่าจะเหมือนธนาคารทั่วไป หรือ ธนาคารในไทย โดย SVB โฟกัสไปที่การระดมเงินฝากและปล่อยกู้ให้แก่เหล่าสตาร์ตอัพในสหรัฐฯ เป็นหลัก
1
แต่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา การระดมทุนของเหล่าบริษัทสตาร์ตอัพมีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งมันก็มาจากหลายสาเหตุด้วยกัน ทั้งพฤติกรรมผู้ใช้งานที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ทั้งกระแสการเร่งระดมทุนที่มูลค่าเกินจริงไปไกลก่อนหน้านี้
1
และจุด trigger ก็คือ พอธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เริ่มขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วเพื่อสู้กับเงินเฟ้อ ซึ่งนี่คือ จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของ SVB
1
เพราะพอยอดการปล่อยกู้ให้สตาร์ตอัพลดลง ธนาคารมีเงินเหลือ ก็เอาไปหาผลตอบแทนในรูปแบบอื่นด้วยการไปลงทุนในตราสารหนี้ และพันธบัตรรัฐบาลหาผลตอบแทน
และวิกฤตธนาคารก็เริ่มมาเยือนตั้งแต่ปีที่แล้ว เมื่อเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากเดิมอยู่ที่ 0-0.25% มาอยู่ที่ 4.50-4.75% ณ ระดับปัจจุบัน
2
ราคาตราสารหนี้ที่ทาง SVB เข้าไปลงทุนก่อนหน้านี้ จำเป็นต้องคำนวนเป็นมูลค่าปัจจุบันตามราคาตลาด (Mark to Market) คราวนี้ พอดอกเบี้ยในตลาดมันเพิ่มสูงขึ้น ก็ทำให้ราคาตราสารหนี้ที่ SVB ถืออยู่ มีมูลค่าปรับตัวลดลง
1
ความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในตลาด กับ ราคาตราสารหนี้
แล้วพอมีการแห่ถอนเงินจากบริษัทสตาร์ทอัพที่เอาเงินมาฝาก SVB มากๆ ทางธนาคารก็จำเป็นต้องขายตราสารหนี้ในพอร์ตที่ขาดทุนอยู่ออกมา ก็ยิ่งมีปัญหาหนักขึ้นไปอีก
3
จากรายงานของบริษํท เมื่อวันพุธ SVB มีการขายตราสารหนี้ออกจากพอร์ตไป 2.1 หมื่นล้านดอลลาร์ เพื่อเอามาคืนให้กับลูกค้าที่มาถอนเงิน
2
ซึ่งตราสารส่วนใหญ่คือพันธบัตรรัฐบาล จากงบของบริษัทที่ประกาศออกมาก่อนหน้า อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยของพอร์ตตราสารหนี้ของบริษัทอยู่ที่ 1.79%
1
แล้วลองดูสิครับ ตอนนี้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ระดับปัจจุบันอยู่ที่ 3.7% แปลว่า การขายตราสารหนี้ออกมาก็ต้องขาดทุนแน่นอน ซึ่งคิดรวมกันเป็นการขาดทุนสูงถึง 1.8 พันล้านดอลลาร์
2
ทางด้าน คุณ Greg Becker CEO ของ SVB ได้ส่ง video message ให้กับพนักงานภายในว่า "เขากำลังทำงานร่วมกับหน่วยงานกำกับดูแลด้านการธนาคารเพื่อหาพันธมิตรให้กับธนาคาร" แต่ก็แจ้งกับพนักงานว่า ไม่มีการรับประกันว่าข้อตกลงจะเกิดขึ้น
1
คุณ Greg Becker CEO ของ Silicon Valley Bank
ด้าน Bloomberg ไปขุดข้อมูลก็พบข้อมูลว่า คุณ Becker ขายหุ้นของ SVB ออกไปจำนวน 12,451 หุ้น ที่แถวๆราคาเฉลี่ย $285 หรือ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 3.6 ล้านดอลลาร์ เมื่อวันที่ 27 ก.พ. ที่ผ่านมานี่เอง
2
แล้วตลาดการเงินเป็นอย่างไร
ที่กระทบโดยตรงเลย เห็นจะเป็นหุ้นกลุ่มธนาคารในสหรัฐฯ ที่ปรับตัวลงแรงด้วยเช่นเดียวกันในช่วง 2 วันทำการล่าสุด
SPDR Select Sector Fund - Financial ETF หรือ XLF กองทุนที่ลงทุนล้อกับดัชนีหุ้นกลุ่มสถาบันการเงินในสหรัฐฯ ปรับตัวลงมาตั้งแต่วันพุธถึงเมื่อคืน คิดแล้วติดลบมากกว่า -8% เรียกได้ว่า เหตุการณ์นี้ สะเทือนกันไปทั้ง Wall Street
1
ตอนนี้สำนักข่าวต่างประเทศเริ่มตั้งคำถามว่า เหตุการณ์นี้ จะลุกลามกลายเป็นวิกฤตเหมือนตอนปี 2008 หรือเปล่า เพราะย้อนกลับไปช่วงนั้น หลังการล่มสลายของ Lehman Brothers มีสถาบันการเงินปิดตัวไปรวมตั้งแต่ปี 2008-2010 มากกว่า 300 แห่งทีเดียว
5
จำนวนสถาบันการเงินที่ปิดตัวไปนับตั้งแต่ปี 2002 ถึง 2022
เพราะน่าจะไม่ได้มีแค่ SVB เท่านั้น ที่ระดมทุนและปล่อยกู้ให้กับเหล่าสตาร์ทอัพในยุครุ่งเรือง น่าจะมีธนาคารขนาดกลางขนาดเล็กอีกไม่น้อยที่มี business model คล้ายๆคลึง หรือใกล้เคียงกับ SVB โดยไม่ได้กระจายความเสี่ยงอย่างเพียงพอ
1
ข้อมูล ณ สิ้นปี 2022 ตัวธนาคาร SVB มีสินทรัพย์รวม 2.09 แสนล้านดอลลาร์ เป็นเงินฝาก 1.754 แสนล้านดอลลาร์
1
ด้วยขนาดเท่านี้ เท่ากับว่า SVB เป็นสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดที่ต้องปิดตัวนับตั้งแต่การปิดกิจการของ Washington Mutual เมื่อปี 2008
ในวันเดียวกัน Silvergate Capital ธนาคารที่เน้นการให้บริการกับลูกค้าที่อยู่ในอุตสาหกรรมคริปโต ก็ประกาศปิดตัวด้วยเช่นเดียวกัน จากตลาดหมียาวนานของคริปโตฯ และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับ FTX และ Alameda Research ก็กระทบกับ Silvergate มาก่อนหน้านี้ด้วย
3
ดัชนีที่วัดความผันผวนของตลาดหุ้นอย่าง VIX Index ปรับตัวขึ้นมาเมื่อคืนวันเดียวกว่า +9% ขึ้นมาอยู่ที่ 24.79 จุด โดยจุดสูงสุดของเมื่อคืน VIX Index พุ่งไปถึง 28.97 จุด สูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 25 ต.ค. 2022 เลย
ทองคำ ปิดบวกวันเดียว +$37 ขึ้นมาที่ $1,866 ชัดเจนว่า นักลงทุนแห่เข้าลงทุนในทองเพราะกลัวความเสี่ยง
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับฐานต่อเนื่อง Dow Jones ปิดลบ -1.07%, S&P500 ร่วง -1.45%, และ NASDAQ ก็ลบ -1.76% 3 ดัชนีหลัก ลงมาหลุดแนวรับสำคัญเส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน ในวันที่มีข่าวใหญ่พอดี อะไรจะบังเอิญขนาดนั้น
1
NASDAQ
S&P500
Dow Jones
ไปดู Fed Fund Futures ที่ Fedwatch Tool บนเว็ป CME Group พบความน่าสนใจด้วยเช่นเดียวกัน เพราะก่อนหน้าข่าว SVB มีปัญหา ตลาดกังวลว่า เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมครั้งถัดไปวันที่ 22 มี.ค. ที่ 0.50% เพื่อสู้กับเงินเฟ้อ โอกาสสูงมากกว่า 70%
แต่โอกาสนั้นก็ปรับตัวลดลงมาเมื่อคืนอยู่ที่ 68.3% สะท้อนว่านักลงทุนกลุ่มหนึ่ง เชื่อว่า เหตุการณ์นี้ อาจทำให้เฟดเองคิดหนักขึ้นว่า ผลกระทบจากการขึ้นดอกเบี้ยเร็วเพื่อสู้เงินเฟ้อ อาจหนักว่าที่ตัวเองคิดจนนำมาสู่วิกฤตเศรษฐกิจในอนาคต
1
Fed Fund Futures
ถึงแม้หน่วยงานรัฐในแคลิฟอร์เนียจะประกาศว่า ให้การคุ้มครองเงินฝากที่ 250,000 ดอลลาร์แรกแก่ผู้ฝาก แต่ผู้ฝากแต่ละรายก็คือ สตาร์ทอัพรายใหญ่ๆซึ่งมีเงินฝากมากกว่าวงเงินคุ้มครองอยู่แล้ว
1
จึงถือว่า น่าห่วงพอสมควรว่า SVB จะแก้ไขสถานการณ์ครั้งนี้ไปได้ด้วยดีหรือไม่ เพราะถ้าสตาร์ทอัพ เข้าไม่ถึงเงินฝากของเขา ขาดสภาพคล่อง และจ่ายเงินเดือนให้กับพนักงานไม่ได้ก็ยิ่งน่าเป็นห่วงมากขึ้นไปอีก
2
มีรายงานว่า Tech Startup เจ้าใหญ่หลายเจ้า ใช้บัญชีธนาคาร SVB เป็น main bank รวมถึง Shopify และ Pinterest ด้วย
2
พนักงานธนาคาร SVB จำนวนมากกว่า 8,500 ชีวิต และพนักงานบริษัทสตาร์ทอัพที่เป็นลูกค้าอีกจำนวนไม่น้อย กำลังเอาใจช่วยให้เหตุการณ์ครั้งนี้ผ่านไปได้ด้วยดี
1
คนมีหุ้นทุกคนในพอร์ตทุกคนก็ควรติดตามสถานการณ์นี้ด้วยเช่นเดียวกัน
คุณ Michael Burry นักลงทุนผู้โด่งดังจาก Big Short โพสในทวิตเตอร์ก่อนลบ ว่า "เป็นไปได้ว่าวันนี้เราพบ Enron ของเราอีกรอบ" ซึ่งอ้างอิงถึงเหตุการณ์ Enron ล้มละลายเพราะปกปิดหนี้สินมหาศาลในบริษัทเมื่อปี 2001
2
ในขณะที่ Scott Melker เทรดเดอร์ฉายา "Wolf of All Streets" ก็ทวีตข้อความว่า "Silvergate กำลังแย่ แต่ SVB จะแย่เป็นทวีคูณ" ได้แต่หวังว่ามันจะไม่เกิดขึ้น
2
Mr.Messenger รายงาน
โฆษณา