11 มี.ค. 2023 เวลา 15:28 • หุ้น & เศรษฐกิจ
สหรัฐอเมริกา

#SVB

Bank run เข้าใจได้ง่ายที่สุด..คือเหตุการณ์ที่ผู้ฝากเงินคิดว่าธนาคารจะล้มละลายเลยแห่กันไปถอนและปิดบัญชีเงินฝากทำให้ธนาคารล้มจริง ๆ
เรื่องแบบนี้เป็นเรื่องอันตราย กระทบวงกว้างถึงขั้นกลียุค ป้าจึงค้นอ่านเจออันนี้ จากเฟซบุ๊คเพจ Punyawe Chantarakajorn ค่ะ
อ่านเจอคำอธิบายแบบง่าย ๆ ทำให้เข้าใจได้ดียิ่งขึ้น ต้องขอบคุณ คุณ Punyawe มาก ๆ คุณเค้าอธิบายให้เข้าใจโครงสร้างงบดุลตามนี้..
#Silicon Valley Bank
งบดุลฝั่งซ้ายเป็นสินทรัพย์
งบดุลฝั่งขวาเป็นหนี้สิน + ทุน
สินทรัพย์ฝั่งซ้ายของเเบงค์ คือ เงินกู้+พันธบัตร
หนี้สินฝั่งขวาของเเบงค์คือ เงินฝาก
เงินฝากเข้ามามาก ๆ กลายเป็น "ต้นทุน" ของเเบงค์
เมื่อเงินฝากเข้ามามากๆ ฝั่งหนี้ก็จะโตขึ้น
โดยปกติ ซ้ายขวาต้องเท่ากัน
เมื่อขวาโตขึ้น ซ้ายต้องโตขึ้นด้วย
เมื่อเงินฝากมากขึ้น หนี้สินก็โตขึ้น
พอหนี้สินโตขึ้นก็ต้องหาสินทรัพย์มาบาลานซ์
ถึงจะเรียกว่าเป็นงบดุล ( Balance กันสองฝั่ง )
กรณี SVB นี้ ฝั่งซ้ายโหลดพันธบัตรไว้เยอะ
ซึ่งต้องถือไว้เป็นระยะเวลา..กลางถึงยาว
ส่วนฝั่งขวาเก็บเงินฝากไว้เหมือนกรณีทั่วไป
ปัญหามันเริ่มเกิดตอนที่ ...
สินทรัพย์ฝั่งซ้ายมันด้อยค่าลงเรื่อย ๆ(จากการขึ้นดอกเบี้ย)
การขึ้นดอกเบี้ยทำให้พันธบัตรชุดเดิมราคาตก
งบดุลเริ่ม "ไม่สมดุลย์" เพราะฝั่งซ้ายมูลค่าลดลงเรื่อยๆ เเต่ยังดีที่เป็นเพียงการขาดทุนทางบัญชี เพราะยังไม่ต้องขายพันธบัตรออกไป
แต่ มาถึงวันนี้ มันเริ่ม "พัง" เพราะ
ฝั่งขวา ( ลดลง ) จากการ "ถอนเงิน"
(สาเหตุมาจาก
-1)ดอกเบี้ยเงินฝากไม่น่าสนใจเมื่อเทียบกับพันธบัตร
-2)ลูกค้าหลายๆกลุ่มที่ถอนเงินอย่างต่อเนื่อง(โดยเฉพาะ SVB ที่ได้ฐานลูกค้า Tech Start up มา)
2
#เมื่อฝั่งขวาต้องการเงิน
#ก็ต้องขายฝั่งซ้ายมาคืน
ฝั่งซ้ายที่เดิมขาดทุนเเค่ทางบัญชีกลับมาเริ่มขาดทุน "จริง" ด้วยการ Mark to Market
(M to M คือการคำนวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิโดยให้สะท้อนราคาตลาดที่เป็นธรรม
ใช้ Mark to Market นั้นหละดีแล้ว)
👉ยิ่งขวาถอนเงินออกเร็วเท่าไหร่ ยิ่งทำให้ฝั่งซ้ายต้องเทขายออกมาหนัก ๆ
1
***เกิดเป็น วงจร หรือ วนเป็นลูปที่สร้างความเสียหายหนักขึ้นเรื่อย ๆ
...
..ป้าคิดว่า อธิบายแบบนี้เข้าใจง่ายดี
..เชิญไปอ่านต้นโพสต์ เลยค่ะ ตามลิ้งค์นี้
เค้ามีส่วนสรุป ตอนท้ายน่าสนใจมาก ๆ ด้วยค่ะ ว่า
1
- เป็นปัญหาพื้นฐาน คือ ปัญหาเชิงโครงสร้าง
- เป็นความผิดพลาดในการบริหารความเสี่ยง ( Duration Mismatch )
ด้วยการที่ฝั่งขวาเป็นเงินฝากพร้อมถอนในระยะสั้น เเต่ดันเอาไปเเมทซ์กับพันธบัตรระยะกลางถึงระยะยาวซะมาก
-ถ้าหากไม่มีคนถอนในปริมาณมาก ๆ เเละดอกเบี้ยกลับลงมา เเบงค์นี้อาจไม่มีปัญหาก็ได้
- แต่สามารถลามไปเป็นปัญหาการล้มละลาย(Solvency) ได้หากเกิดแบงค์ล้ม .Bank Run จริง ๆ
- ความซวยรอบนี้ไม่ใช่เเค่ SVB เเต่ที่หนักเลยคือกิจการสตาทอัพที่ฝากเงินไว้กับ SVB มันเลยต้องมีการทำ Stress test เเบงค์กันทุกปี เพื่อทดสอบว่าสถาบันการเงินที่เราฝากเงินไว้นั้นจะมีเงินคืนเราจริง ๆ หากเกิดปัญหา
และเรื่องตลกทิ้งท้าย
- 1.มูดดี้ส์เพิ่งให้ A rating กับ SVB ก่อนหน้าไม่ถึงอาทิตย์
- 2. Forbes ก็เพิ่งให้รางวัล America Best Banks กับ SVB
- 3. การเเก้ปัญหาประเด็นการถอนเงินฝากทำได้โดยขึ้นดอกเบี้ยเงินฝาก เเต่เเน่นอนว่า NIM โดยรวมมันจะลดลง
- 4. CEO เเละผู้บริหารระดับสูงของ SVB เทขายหุ้นออกมาก่อนหน้าราคาจะร่วง
..ซึ่งไม่รู้ว่าบังเอิญหรือจงใจ.. โอ้
ป้าพาหามาเล่า

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา