12 มี.ค. 2023 เวลา 05:29 • กีฬา

30 ปีพรีเมียร์ลีก เปลี่ยนการแข่งกีฬา ให้เป็นสุดยอด Soft Power ของโลก

คนอังกฤษ มีความภาคภูมิใจกับฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอย่างมากจริงๆ เพราะนี่คือ Soft Power ที่สมบูรณ์แบบ และทรงพลังมากที่สุด
1
เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว ก่อนเกมแดงเดือด สถานทูตอังกฤษ จัดงานวาระครบ 30 ปีพรีเมียร์ลีก ซึ่งผมเองก็ไปร่วมงานด้วยครับ
ภายในงานมีการนำถ้วยพรีเมียร์ลีกของจริง เอามาให้แฟนบอลชาวไทยได้ถ่ายรูปกัน
ส่วนสาเหตุว่าทำไมพรีเมียร์ลีกถึงเลือกมาเยือนไทย ในวาระนี้ เหตุผลคือ ขอบคุณที่คนไทย "ให้คุณค่า" กับพรีเมียร์ลีก และประเทศอังกฤษมากจริงๆ
ประเทศไทยซื้อลิขสิทธิ์อย่างถูกต้อง และต่อเนื่องมาหลายสิบปี มีแอบดูเถื่อนบ้าง แต่ก็น้อยกว่าชาติอื่นๆ มาก นอกจากนั้น คนไทยยังมีแฟนคลับของแต่ละสโมสรที่เหนียวแน่นมากๆ ไม่ใช่แค่ ลิเวอร์พูล, แมนฯ ยูไนเต็ด, เชลซี, อาร์เซน่อล แต่ทีมระดับกลางๆ อย่าง เวสต์แฮม, นิวคาสเซิล หรือ ลีดส์ ยูไนเต็ด ก็มีแฟนที่เหนียวแน่นของตัวเอง
1
ผมคุยกับชาวอังกฤษท่านหนึ่งในงาน เขาแปลกใจมาก ว่าที่ไทย มีเพจเชียร์ภาษาไทย ของสโมสรดาร์บี้ เคาน์ตี้ ที่อยู่ในลีกวันด้วย! คนอังกฤษเขาดีใจที่ ฟุตบอลของเขามาอยู่ในชีวิตประจำวันของคนไทยขนาดนี้
1
เดฟ โทมัส รองหัวหน้าคณะทูต ได้กล่าวเปิดงานว่า ในปี 1992 ตอนฟุตบอลอังกฤษ รีแบรนด์ จากดิวิชั่น 1 มาเป็นพรีเมียร์ลีก ณ เวลานั้น ไม่เคยคาดคิดเลยว่า บอลอังกฤษจะโด่งดังในระดับ worldwide ขนาดนี้
เดฟ โทมัสบอกว่า ข้อดีของพรีเมียร์ลีกมีหลายอย่าง มันสร้างความภาคภูมิใจให้คนอังกฤษ มันนำมาซึ่งรายได้มากมายให้คนในประเทศ และสำหรับนักการทูตอย่างเขา มีข้อดีพิเศษอีกอย่างคือ เวลาต้องสนทนากับตัวแทนประเทศต่างๆ พวกเขาใช้ "พรีเมียร์ลีก" เป็นกลยุทธ์ small talk เปิดนำเบาๆ ในการพูดคุยกันก่อนเสมอ และได้ผลดีทุกครั้งด้วย
ตัวแทนจากประเทศส่วนใหญ่ ที่มาเจรจากันไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตาม มักจะเป็นแฟนบอลทีมใดทีมหนึ่งในพรีเมียร์ลีกเสมอ ดังนั้นพอเริ่มคุยเรื่องบอลก่อน เป็นการละลายพฤติกรรม ทำให้การเจรจาต่อจากนั้น ทำได้ง่ายและราบรื่นขึ้น
การทำให้พรีเมียร์ลีกโด่งดัง จนนำมาซึ่งรายได้มหาศาล เป็น Soft Power ของโลกได้นั้น เคล็ดลับของพวกเขาก็คือ "พัฒนาคุณภาพของตัวเองให้ดีก่อน" เมื่อสินค้าดี โปรดักต์ดี เดี๋ยวความชื่นชอบ ความชื่นชมจากทั่วโลกมันจะตามมาเอง
คำถามคือ แล้วทำอย่างไร ถึงจะพัฒนาสินค้าให้ดีได้ คำตอบคือ พรีเมียร์ลีกนั้น ใช้หลักการ "กระจายรายได้ที่เป็นธรรม" กล่าวคือ 20 สโมสรที่ได้ร่วมแข่งขัน จะได้เงินค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดในระดับที่ใกล้เคียงกัน
ตัวอย่างเช่น ในฤดูกาลที่แล้ว (2021-22) ทุกสโมสรจะได้เงิน ขั้นต่ำสุดคือ 95.9 ล้านปอนด์ แล้วถ้าทีมไหนทำอันดับดีกว่า มีสนามที่สมบูรณ์กว่า ก็จะได้เงินเพิ่มขึ้นอีก
ตัวเลขขั้นต่ำ 95.9 ล้านปอนด์ เป็นเงินที่มหาศาลมากๆ มันทำให้แต่ละทีม เอาไปซื้อผู้เล่นชั้นดีทั่วโลกมาเสริมทัพให้แข็งแกร่งขึ้น
แล้วเมื่อแต่ละทีมมีสตาร์ของตัวเอง ทำให้ฟุตบอลทุกนัด มันสนุกหมด ขนาดทีมเล็กเจอกันยังมันส์
เมื่อเกมมันสนุก มันมีดราม่าตลอดเวลา ทำให้คนดูก็เริ่มชอบ และเมื่อชอบทางทีวี ก็อยากสัมผัสของจริง อยากรับรู้ฟีลลิ่ง บรรยากาศในสนามแข่งขัน จึงก่อให้เกิด "การท่องเที่ยวเชิงกีฬา" ตามมามากมาย
คนอังกฤษเขาประทับใจ ที่ประเทศไทย มีการจัดทัวร์ดูบอลพรีเมียร์ลีกมากมาย หรือบางคนก็จัดทริปไปเองกันในครอบครัว สิ่งเหล่านี้ ทำให้เห็นว่า Soft Power การทำให้คนอื่นๆ ชอบในสิ่งที่เราเป็น ท้ายที่สุดแล้วก็นำมาซึ่งรายได้มากมายให้อังกฤษ
สิ่งสำคัญที่ทำให้ Soft Power ได้ผล คือคนในประเทศอังกฤษเองก็หลงใหลและรักในเกมฟุตบอลอยู่แล้ว มันคือธรรมชาติ มันคือ Culture ของพวกเขา ภาครัฐแค่ช่วยผลักดันสิ่งที่ดีอยู่แล้ว ให้เด่นยิ่งขึ้น จนสามารถขายได้มากขึ้น ก็เท่านั้นเอง
ตัวอย่างเช่น มีการบังคับใช้กฎหมาย ว่าทุกสเตเดี้ยมในพรีเมียร์ลีก ต้อง "ติดที่นั่ง" แบบ 100% จะไม่มีสแตนด์ยืนอีกต่อไป และห้ามสูบบุหรี่ในบริเวณที่นั่งอย่างเด็ดขาด นี่เป็นการการันตีว่า ทุกคนที่จะมาดูบอลในสนาม ไม่ว่าจะเป็นคนท้องถิ่น หรือนักท่องเที่ยว ก็จะมาดูได้อย่างปลอดภัยแน่นอน
หรืออย่างเรื่องกฎ Work Permit ที่เมื่อก่อน นักเตะต่างชาติสักคนจะเข้ามาเล่นในอังกฤษ จะเป็นอะไรที่ยากมาก แต่ภาครัฐก็มีการแก้กฎหมายใหม่ ปัจจุบันใช้กระบวนการชื่อ PBS ซึ่งทำให้การเซ็นสัญญานักเตะต่างชาติง่ายกว่าเดิม เป็นการส่งเสริมแต่ละทีม ให้ตามล่าหานักเตะเก่งๆ มาเสริมทัพได้ง่ายขึ้นอีก
ไม่เพียงแค่นั้น ถ้ามีสิ่งไหน ที่จะทำให้ Soft Power มีปัญหา รัฐบาลก็จะเข้ามาเทกแอ็กชั่นอย่างจริงจัง เช่น ตอนที่ 6 สโมสรใหญ่ในอังกฤษ จะแยกตัวไปเล่นซูเปอร์ลีก ในปี 2021 นายโอลิเวอร์ ดาวเด้น รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม ขึ้นไปพูดในสภาเพื่อยับยั้งไม่ให้เกิดขึ้น เพราะจะเป็นการทำลายฟุตบอลระดับรากหญ้าไปหมด จนท้ายที่สุดแล้วแผนซูเปอร์ลีกก็ล่มไปจริงๆ
เอกชนเดินหน้า ช่วยกันทำ ช่วยกันสร้าง ส่วนภาครัฐก็ซัพพอร์ทเต็มที่ ความร่วมมือที่ดีของทั้งสองฝ่าย ส่งผลให้ฟุตบอลอังกฤษ เป็น Soft Power เป็นอาวุธสำคัญของประเทศมาจนถึงวันนี้ และเชื่อว่าจะเป็นต่อไปอีกนานด้วย
ขอบคุณสถานทูตอังกฤษ ที่เชิญผมไปร่วมงานนี้ด้วยนะครับ ดีใจมากเลยที่นึกถึงกันครับ
1
เมื่อพูดถึงแล้ว สำหรับประเทศไทยของเรานั้น เราก็มี Soft Power หลายอย่าง ถ้าในมิติของกีฬา เรามี "มวยไทย" ที่แข็งแรงมากจริงๆ
1
ความคล้ายกันของ พรีเมียร์ลีก กับ มวยไทย คือเป็นกีฬาที่อยู่ใน Culture ของประชาชนอยู่แล้ว คนอังกฤษดูบอลกันเป็นปกติ ส่วนคนไทยก็เข้าไปดูมวยไทยกันแน่นสังเวียนทุกวีกเหมือนกัน
1
ทุกวันนี้ มวยไทย อยู่ในวัฒนธรรมต่างๆ ในหนัง ในซีรีส์ ในเกม ในการ์ตูน นอกจากนั้น ยังอยู่ในชีวิตประจำวันของคนทั่วไป ในฟิตเนส มีการเรียนคลาสมวยไทย เพศไหนก็ต่อยมวยไทยได้ทั้งนั้น
อุตสาหกรรมมวยไทย สร้างรายได้เข้าประเทศมหาศาล เราเอ็กซ์พอร์ท ส่งครูมวยไปโกยรายได้ที่โรงยิมทั่วโลก หรือในไทย ก็มีการขายบัตรอีเวนต์สำคัญ ทั้ง One Lumpini และ ราชดำเนิน เวิลด์ซีรีส์ (RWS) เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ชาวต่างชาติใฝ่ฝันว่าจะมาดูมวยไทยแบบสดๆ สักครั้ง
2
ดังนั้น จึงไม่มีอะไรแปลกใจ ที่ตอนมวยไทยของเรา มีดราม่ากับ กุน ขแมร์ คนไทยจะออกมาปกป้องมวยไทยอย่างเต็มที่
2
เพราะมันคือ Soft Power ที่เราสร้าง เป็นความภูมิใจที่นำมาซึ่งรายได้ อยู่ๆ กัมพูชาจะขอเปลี่ยนชื่อดื้อๆ โดยไม่ได้สร้างอะไรมาเองเลย ใครมันจะไปยอมรับได้ล่ะครับจริงไหม
5
โฆษณา