12 มี.ค. 2023 เวลา 09:49 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ถอดบทเรียนสำคัญ สาเหตุ SVB ล้มละลาย และวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดกับธนาคารไทย

เรื่องราวและรายละเอียดเป็นอย่างไร Dinner Talks พร้อมแชร์ให้ทุกคนครับ (12/03/2023)
🥄จบตำนาน 40 ปีของธนาคารเพื่อ Startup SVB
จุดเริ่มต้นมาจากการที่ธนาคารประกาศความจำเป็นในการต้องระดมทุนเพิ่ม 2.25 พันล้านดอลลาร์ เนื่องจากต้องนำเงินมาพยุงงบดุล และลูกค้า Startup ส่วนใหญ่ต้องการนำเงินออกมาใช้ ส่วนทางกับทิศทางเงินฝากที่เข้ามาในธนาคาร
การประกาศครั้งนี้ทำให้นักลงทุนกังวล และเริ่มแห่ถอนเงินหนักขึ้น
ธนาคารจึงจำเป็นต้องขายขาดทุนตราสารหนี้เพื่อรักษาสภาพคล่องให้ธนาคาร นำมาสู่การขาดทุนเพิ่มกว่า 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และได้ถูกบรรษัทค้ำประกันเงินฝากของรัฐบาลกลางสหรัฐ (FDIC) เข้ายึดและประกาศล้มละลาย
สถานการณ์เลวร้ายนี้ ได้รับผลกระทบส่วนหนึ่งมาจากการที่ Fed ประกาศขึ้นดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องเพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อ ทำให้ตราสารหนี้ในอดีตมีผลตอบแทนต่ำกว่าตราสารหนี้ที่ออกใหม่ในช่วงที่ดอกเบี้ย Fed สูง ส่งผลให้ธนาคารที่ถือสินทรัพย์ตราสารหนี้ไว้เยอะขาดทุน ซึ่งการขาดทุนนี้จะยังไม่ถูกบันทึกไว้ จนกว่าที่ธนาคารจะนำตราสารหนี้มาขาย
เหตุการณ์ครั้งนี้ ถือเป็นการล้มละลายของธนาคารที่ใหญ่ที่สุด นับตั้งแต่วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ในปี 2008
🥄เรื่องฉาวเริ่มโผล่ CEO ขายหุ้นก่อนธนาคารล้มไม่กี่อาทิตย์ พนักงานได้รับโนัสก่อนรัฐบาลเข้ายึดธนาคารไม่กี่ชั่วโมง
Greg Becker CEO ของธนาคาร SVB ได้ขายหุ้นกว่า 3.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 126 ล้านบาท) ก่อนที่บริษัทจะเปิดเผยสถานะขาดทุนและต้องการระดมทุนเพื่อที่นำมาสู่สภาวะล้มละลายในท้ายที่สุด ซึ่งการขายหุ้นดังกล่าวเป็นธุรกรรมที่น่าสงสัยว่าจะใช้ข้อมูลภายใน Inside Trading เนื่องจากขายก่อนเหตุการณ์ล้มละลายเพียงสองสัปดาห์
CNBC รายงานว่าพนักงาน SVB ได้รับโบนัสเร็วกว่าปกติ โดยทั่วไปจะได้รับโบนัสในช่วงสัปดาห์ที่สองของเดือน มี.ค. อย่างไรก็ตาม ในปีนี้พนักงานได้รับเงินโบนัสเร็วกว่ากำหนด ซึ่งกลายเป็นจ่ายเงินโบนัสในวันอิสรภาพสุดท้ายของ SVB ก่อนที่จะถูก FDIC เข้ายึดและประกาศล้มละลาย
2
🥄5 สิ่งที่ไทยสามารถทำได้เลย เพื่อลดความเสี่ยงต่อการล้มละลายแบบเดียวกับ SVB
1
1. ธนาคารกลางของแต่ละประเทศ ควรต้องตระหนักถึงผลทางอ้อมของการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายให้รอบคอบ แม้วัตถุประสงค์หลักของการขึ้นดอกเบี้ยจะเพื่อช่วยลดผลกระทบของเงินเฟ้อที่พุ่งสูง แต่การขึ้นดอกเบี้ยที่เยอะเกินไป นำมาสู่ต้นทุนที่สูงขึ้นของการทำธุรกิจและอาจทำให้ธนาคารล้มได้จากหนี้เสียที่เพิ่มขึ้นและการขาดสภาพคล่อง
2. การเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชน จะเห็นได้ชัดว่าการแถลงข่าวให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นมีความสำคัญมาก CEO ของ SVB ได้ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงจากการพยายามกล่อมนักลงทุนให้ "Stay Calm" แต่ไม่มีแผนหรือมาตรการใด ๆ ที่มีน้ำหนัก ดังนั้น ธนาคารไทยควรเริ่มสร้างความมั่นใจให้ประชาชนตั้งแต่ตอนนี้ และเตรียมแผนสำรองเผื่อวิกฤตที่อาจเกิด
3. บังคับใช้และเข้มงวดมาตรฐานการเงินให้มากยิ่งขึ้น สอดส่องจุดที่ธนาคารที่ถือสินทรัพย์เสี่ยง หรือปล่อยเงินทุนให้ธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะธนาคารที่มีขนาดกลางและเล็ก
2
4. งดนโยบายกระตุ้นการใช้จ่ายหรือสนับสนุนการปล่อยกู้ในธุรกิจที่เสี่ยงชั่วคราว เพื่อควบคุมหนี้เสียได้ลดลง คอยดูสถานการณ์ก่อนอย่างน้อย 1-2 ไตรมาส
5. ธนาคารควรเพิ่มอัตราสภาพคล่องให้สูงขึ้น ยอมสละความสามารถในการทำกำไรชั่วคราว เพื่อเสถียรภาพที่สูงขึ้น พร้อมรับมือคลื่นวิกฤตที่อาจจะกระทบมาจากต่างประเทศ
1
🥄Fed เตรียมประชุมเรื่อง SVB ในวันจันทร์พร้อมหาทางออก
Fed ได้มีการจัดประชุมด่วน และเผยว่าการประชุมดังกล่าวจะเป็นเรื่องการทบทวนและตัดสินใจเรื่องอัตราดอกเบี้ยล่วงหน้าและอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน
🥄ประเทศไทยยังไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตที่เกิด แต่ควรจับตาอย่างใกล้ชิด
1
จากข้อมูลที่รายงาน ณ ปัจจุบัน พบว่าความเสี่ยงของธนาคารในประเทศไทยที่จะเป็นแบบ SVB นั้นมีอยู่ต่ำ ที่สำคัญ ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ได้ประกาศขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในอัตราที่สูงและต่อเนื่องอย่างที่ Fed อย่างไรก็ดี ควรติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด
1
หมายเหตุ: บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล ไม่ได้สะท้อนถึงความเห็นขององค์กรที่สังกัดอยู่
ที่มาข้อมูล
1
จบแล้วกับบทความนี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคน
หากชอบบทความ อยากชวนเพื่อนทุกคนมากดติดตามเพื่อเป็นกำลังใจให้ผู้เขียนและขอฝากช่องทาง FB และ Twitter ด้วยครับ
Dinner Talks ขอกล่าวคำว่า "แล้วพบกันใหม่มื้อหน้าครับ :)"
โฆษณา