13 มี.ค. 2023 เวลา 05:28 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Benchachinda Holding Company Limited - เบญจจินดา

“โคเปนเฮเกน” เส้นทางสู่การปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ ภายในปี 2025

ประชากรโลกจำนวนมากกว่าครึ่งอาศัยอยู่ในเขตเมือง ภายใน ค.ศ. 2050 การอพยพย้ายถิ่นฐานจากชนบท จะทำให้ตัวเลขประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองเพิ่มขึ้นเป็น 70 เปอร์เซ็นต์ โจทย์ท้าทายที่สุดที่มนุษย์กำลังเผชิญ คือ เราจะสร้างเมืองที่รองรับคนจำนวนมหาศาล ไปพร้อมกับการเติบโตอย่างยั่งยืนได้อย่างไร ภายใต้วิกฤติโลกร้อน ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง เมืองต้องสามารถสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้ผู้อยู่อาศัยจำนวนมาก ในขณะเดียวกันก็ยังรักษาและส่งต่อทรัพยากรธรรมชาติไปยังลูกหลานในอนาคต
‘โคเปนเฮเกน’ ประเทศเดนมาร์ก คือหนึ่งในเมืองที่วางแผนรับมือเรื่องความยั่งยืนได้ล้ำหน้าที่สุดในโลก เราจะพาคุณไปทำความเข้าใจนโยบายและการสร้างเมืองที่เป็นมิตรกับผู้คนและโลก ทั้งความตั้งใจจะเป็นเมืองที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ ภายใน ค.ศ. 2025 จนถึงการสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว และล่าสุด CopenHill โรงงานผลิตพลังงานจากขยะที่ใหญ่ที่สุด และสะอาดที่สุดที่มนุษย์เคยสร้าง
ขับเคลื่อนเมืองด้วยศูนย์คาร์บอน นโยบายการพัฒนาเมืองของโคเปนเฮเกน มุ่งเน้นไปที่การสัญจรที่ยั่งยืน (Mobility) การยุติการปล่อยมลพิษ (Pollution) และการใช้พลังงานหมุนเวียน (Energy) ซึ่งการสร้างเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตที่ดี ต้องมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงสีเขียว การลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นศูนย์ หรือ Carbon Neutrality คืออะไร ในแง่การขับเคลื่อนเมือง หมายถึงการสร้างโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว
และการใช้พลังงานหมุนเวียน ไม่ว่าจะเป็นพลังงานลม แสงอาทิตย์ ความร้อนใต้พิภพ น้ำ และชีวมวล ในสัดส่วนที่มากกว่าพลังงานจากถ่านหิน ก๊าซธรรมชาตหรือน้ำมันปิโตรเลียมที่ใช้แล้วหมดไป ทั้งยังปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาไหม้ จนถึงจุดที่ทั้งเมืองขับเคลื่อนด้วยพลังงานหมุนเวียน
การลงทุนสีเขียว ในแง่โครงสร้างพื้นฐานสีเขียว โคเปนเฮเกนมีโครงข่ายจักรยานที่มีคุณภาพระดับต้นๆ ของโลก ชาวโคเปนเฮเกนทุกคนปั่นจักรยาน มากกว่า 62 เปอร์เซ็นต์ของพวกเขาใช้จักรยานเป็นพาหนะหลักในชีวิตประจำวัน หน่วยงานภาครัฐเรียนรู้เรื่องนี้และไม่นิ่งเฉย ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พวกเขาลงทุนกว่า 300 ล้านเหรียญดอลลาร์ ในการสร้างระบบสาธารณูปโภคเพื่อจักรยานอย่างมีคุณภาพ เงินลงทุนนั้นคุ้มค่า
เพราะทุกวันนี้ ปริมาณจักรยานในเมืองโคเปนเฮเกน มีมากกว่ารถยนต์ถึง 5 เท่า นอกจากนี้ เมืองยังลงทุนกับระบบขนส่งมวลชน รถประจำทางทั้งหมดเปลี่ยนจากเชื้อเพลิงดีเซลไปเป็นรถพลังงานไฟฟ้าหมดแล้ว อาคารบ้านเรือน รวมถึงตึกสูง 99 เปอร์เซ็นต์ในโคเปนเฮเกน เชื่อมต่อกันทั้งหมดด้วย District Heating System ที่มีประสิทธิภาพ ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าในส่วนนี้ไปได้ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ของทั้งเมือง
เปลี่ยนขยะเป็นทรัพยากร อีกหนึ่งนวัตกรรมสู่ความยั่งยืนที่เรียกเสียงฮือฮาไปทั่วโลกของโคเปนเฮเกนคือ CopenHill หรือ Amager Bakke โรงเผาขยะ ที่ใช้เทคโนโลยีล่าสุดในการเปลี่ยนขยะปีละ 485,000 ตันเป็นพลังงาน (Waste to Energy Power Plant) นอกจากจะผลิตพลังงานไฟฟ้าป้อน 30,000 ครัวเรือน และผลิตความร้อนแก่ 72,000 ครัวเรือน โรงเผาขยะแห่งนี้ ยังเป็นศูนย์การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม และสถานที่ท่องเที่ยว ที่มีเนินสกีเทียมเปิดตลอดทั้งปี รวมถึงเส้นทางวิ่ง รวมทั้งผนังปีนผา 100 เมตรที่สูงที่สุดในโลก
CopenHill หรือ Amager Bakke โรงเผาขยะ
“โคเปนฮิลล์ คือโรงงานผลิตพลังงานจากขยะที่ปลอดมลพิษที่สุดในโลก ไม่มีสารพิษเล็ดลอดออกมาจากส่วนใดของโรงงาน มีเพียงไอน้ำเท่านั้นที่ระบายออกมาจากปล่องระบายขนาดใหญ่ เรามีลิฟต์ที่พาคุณพุ่งขึ้นจากชั้นพื้นดินสู่ชั้นบนสุด เมื่อมองออกไประหว่างทางขึ้น คุณจะมองเห็นทิวทัศน์สุดลูกหูลูกตาของเมือง มองกลับเข้ามา คุณจะเห็นอุปกรณ์อันซับซ้อนของหอคอยที่เปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน”
บริษัท ยูไนเต็ด เทคโนโลยี เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (UTE) บริษัทในกลุ่มเบญจจินดา ร่วมสนับสนุนด้านเทคโนโลยี ให้แก่ หน่วยงานด้านการศึกษา หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น และเทศบาลทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย โดยมุ่งพัฒนาพื้นที่นำร่องประเทศไทยให้มีความเติบโตก้าวสู่การเป็น Smart City เมืองอัจฉริยะอย่างยั่งยืน UTE ได้วางระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลติดตั้งเสาอัจฉริยะ “LUCKY POLE” ในพื้นที่เป้าหมายหลายพื้นที่
โดย “เสาอัจฉริยะ LUCKY POLE” สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถปรับแต่งระบบได้อย่างไร้ขีดจำกัด ยืดหยุ่นตามความต้องการของแต่ละเมือง มีการติดตั้งระบบกล้องวงจรปิดอัจฉริยะ และมีปุ่มช่วยเหลือฉุกเฉินเฝ้าระวังผ่านเสาอัจฉริยะ LUCKY POLE ตลอด 24 ชั่วโมง
ซึ่งช่วยดูแลความปลอดภัยของประชาชนในพื้นที่ และยังเป็นจุดให้บริการบอกตารางการเดินรถ การบังคับการจราจรการเดินทางของประชาชน ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการใช้ชีวิตให้ง่าย ยกระดับคุณภาพและการวางแผนการใช้ชีวิตให้ดียิ่งขึ้น สู่การเป็น Smart City อย่างยั่งยืน
สนใจข้อมูลเสาอัจฉริยะ LUCKY POLE
ดร.กนกวรรณ มะสุวรรณ
Business Development Sales & Marketing Manager
โฆษณา