13 มี.ค. 2023 เวลา 15:44 • ข่าว

นักวิทย์ฯค้นพบ "ไวรัสซอมบี้" ใต้ทะเลน้ำแข็งไซบีเรีย

ดร.ชอง-มิเชล คาราเวลรี่ (Jean-Michel Claverie) นักชีววิทยาวิวัฒนาการจากมหาวิทยาลัย Aix-Marseille ในฝรั่งเศส เปิดเผยงานวิจัยเกี่ยวกับ 'จุลชีพ' จากยุคโบราณในวารสารที่มีชื่อว่า The Journal Viruses -โดยนิตยสารฉบับนี้เพิ่งจะถูกตีพิมพ์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมานี้ เป็นเรื่องของการค้นพบไวรัสใหม่ทั้งหมด 13 ชนิดจากบริเวณใต้น้ำแข็งของทะเลสาบแถบไซบีเรียในรัสเซีย ซึ่งมันอยู่ลึกลงไปส่วนใต้ของ "ชั้นดินเยือกแข็ง" หรือ Permafrost ที่น้ำแข็งชั้นบนกำลังค่อยๆละลาย สาเหตุมาจาก "ภาวะโลกร้อน"
ทะเลสาบแถบไซบีเรียในรัสเซีย
ไวรัสซอมบี้
โดยหนึ่งในไวรัส 13 ชนิดที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบก็คือ "ไวรัสโบราณ" อายุ 48,500 ปี ซึ่งถือว่าเก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยมีการค้นพบมา และเมื่อนำมาตรวจสอบก็พบว่าพฤติกรรมของไวรัสชนิดนี้สามารถทำให้เซลล์ของจุลชีพชนิดอื่นๆ เช่น เซลล์อะมีบา ติดเชื้อได้ ไม่ต่างไปจากพฤติกรรมของเชื้อไวรัสในสมัยปัจจุบัน
ซึ่งเหตุผลที่กลุ่มนักวิทยาศาสตร์เรียกไวรัสโบราณชนิดนี้ว่า "ไวรัสซอมบี้" เพราะมีความหมายว่า "ไวรัสที่ยังสามารถแพร่เชื้อได้"
1
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบ "ไวรัสซอมบี้" ใต้ทะเลสาบน้ำแข็งแถบไซบีเรียของรัสเซีย
ขณะเดียวกันกลุ่มนักวิทย์ฯนี้ยังค้นพบไวรัสโบราณอีกชนิดหนึ่งซึ่งได้มาจากซากช้างแมมมอธขนยาวอายุ 27,000 ปี - ที่ถึงแม้จะถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มของไวรัสโบราณที่มีอายุน้อยที่สุดในการค้นพบครั้งนี้ แต่ถึงกระนั้นไวรัสดังกล่าวนี้ก็สามารถทำให้เซลล์อะมีบาติดเชื้อได้เช่นเดียวกัน
แฟ้มภาพซากช้างแมมมอธ
"ไวรัสซอมบี้" ใต้ทะเลสาบน้ำแข็งแถบไซบีเรียของรัสเซีย
ดร.คาราเวลรี่ เปิดเผยอีกว่า ถึงแม้ว่าไวรัสพวกนี้จะไม่สามารถแพร่เชื้อต่อไปสู่มนุษย์ได้ แต่การค้นพบในครั้งนี้ชี้ให้โลกเห็นถึงความเสี่ยงทางสาธารณสุขจากโรคระบาดที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
ดร.ชอง-มิเชล คาราเวลรี่ (Jean-Michel Claverie)
และการค้นพบครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า น่าจะยังคงมีไวรัสโบราณอีกหลายชนิดในชั้นดินเยือกแข็งที่ "ยังไม่ตาย" และรอวันฟื้นคืนชีพเพื่อออกมาสร้างหายนะทางสาธารณสุขโลกได้ในอนาคต
"ไวรัสซอมบี้"
ส่วนสาเหตุหลักที่ไวรัสและแบคทีเรียบางชนิดยังคงดำรงชีวิตอยู่ได้ท่ามกลางอุณหภูมิที่เย็นจัดภายในชั้นดินเยือกแข็งคงตัว (Permafrost) เป็นเวลานานได้นั้น
เนื่องจากภายใต้พื้นที่ดังกล่าวเป็นที่มืดมิด แสงส่องไปไม่ถึง และไม่มีออกซิเจน ทำให้เชื้อที่อยู่ในซากศพของมนุษย์และซากสัตว์โบราณซึ่งถูกกลบฝังไว้ ยังคงสามารถมีชีวิตอยู่ต้อได้นานนับร้อยนับพันปีหรือแม้กระทั่งอีก 'หลายล้านปี'
โฆษณา