19 มี.ค. 2023 เวลา 02:55 • หุ้น & เศรษฐกิจ

สวีเดน ประเทศที่นำเข้าขยะ มาสร้างรายได้ 3,000 ล้านต่อปี

รู้ไหมว่าขยะที่หลายคนมองว่าไม่มีค่า เป็นแค่ของเหลือที่สกปรก แต่มันกลับเป็นสิ่งมีค่าราวกับทองคำ ในประเทศสวีเดน
2
ที่บอกแบบนี้ก็เพราะว่า สวีเดน มีการนำเข้าขยะจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยไม่ต้องเสียเงินสักบาท แต่สามารถนำไปสร้างรายได้เข้าประเทศสูงถึง 3,400 ล้านบาทต่อปี
2
ทำไมสวีเดนถึงต้องนำเข้าขยะ แล้วสวีเดนนำขยะไปทำอะไร ถึงสร้างรายได้เป็นพันล้านบาทต่อปี ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
1
ต้องบอกอย่างนี้ว่า สวีเดนก็เหมือนกับประเทศอื่น ๆ
ที่มีขยะจำนวนมาก
โดยในทุก ๆ ปี ขยะในสวีเดน มีมากถึง 4.6 ล้านตัน เทียบเท่ากับน้ำหนักของเครื่องบินโดยสาร รวมกันทั้งหมด 131,428 ลำ เลยทีเดียว..
1
แม้ว่าจะมีขยะเป็นจำนวนมาก แต่สวีเดนก็มีการกำจัดขยะด้วยวิธีฝังกลบ เพียง 4.6 หมื่นตัน หรือเพียง 1% ของขยะทั้งหมดเท่านั้น
1
คำถามที่ตามมาคือ แล้วขยะที่เหลือ
สวีเดน มีวิธีกำจัดอย่างไร ?
ขยะที่เหลืออีก 99% ในประเทศ จะถูกนำไปใช้ 2 อย่าง นั่นคือ
- 47% ของขยะ ถูกนำไปรีไซเคิล
- 52% ของขยะ ถูกนำไปใช้ผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า
เรียกได้ว่า เป็นการเปลี่ยนขยะจากสิ่งที่ไม่มีค่า ให้กลายเป็นสิ่งที่มีค่าอีกครั้ง
แต่กว่าจะมาถึงจุดนี้ สวีเดนก็ไม่ได้จัดการขยะได้ดีมาตั้งแต่ต้น เพราะถ้าย้อนกลับไปเมื่อ 50 ปีที่แล้ว อากาศในสวีเดนมีทั้งฝุ่นและมลพิษที่แย่มาก
1
สาเหตุของเรื่องนี้ มาจากการที่สวีเดน ต้องพึ่งพาพลังงานจากก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน มากถึง 77%
ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อต้องเจอกับวิกฤติราคาน้ำมันในช่วงปี 1970 ราคาพลังงานในประเทศพุ่งสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อคนในประเทศ
ในที่สุด ประชาชนก็เริ่มออกมาประท้วง ทำให้รัฐบาลสวีเดนในตอนนั้น ต้องออกกฎหมายเพื่อให้ธุรกิจต้องรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีการให้เงินกองทุนสนับสนุนในช่วงเปลี่ยนผ่านอีกด้วย
นอกจากนี้ สวีเดนยังเริ่มต้นหาแหล่งพลังงานใหม่ให้กับประเทศ เพื่อลดความเสี่ยงในการพึ่งพาแค่น้ำมันและก๊าซธรรมชาติมากเกินไป
โดยพลังงานใหม่ที่ว่านี้ ก็เช่น พลังงานน้ำ พลังงานลม พลังงานนิวเคลียร์ และพลังงานที่มาจากสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันอีกอย่าง นั่นคือ ขยะ
ซึ่งในตอนนั้น มีการค้นพบว่า หากนำขยะ 4 ตัน
มาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า จะเท่ากับการใช้น้ำมัน 1 ตัน มาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าเลยทีเดียว
ด้วยขยะที่มีเป็นจำนวนมาก ในขณะที่น้ำมันมีปริมาณที่จำกัด สวีเดนจึงตัดสินใจที่จะใช้ขยะมาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าอีกทางเลือกหนึ่งตั้งแต่ตอนนั้น
จนในปัจจุบัน จากโครงสร้างพลังงานไฟฟ้าของสวีเดนในอดีต ที่พึ่งพาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติสูงมาก กลายมาเป็นพลังงานทางเลือกอื่น ๆ เกือบทั้งหมด
1
โดยแหล่งพลังงานที่ว่านี้ มาจาก
- พลังงานน้ำและพลังงานนิวเคลียร์ 80%
- พลังงานลม 11%
- พลังงานไฟฟ้าจากขยะ 9%
1
ที่น่าสนใจ ก็คือ พลังงานไฟฟ้าจากขยะ แม้จะมีสัดส่วนที่ไม่มากนัก แต่ก็ทำให้สวีเดน จำเป็นต้องนำเข้าขยะจากประเทศเพื่อนบ้าน
โดยสวีเดนก็ได้มีการออกนโยบายมาสนับสนุนการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพร่วมด้วย ตัวอย่างก็เช่น
- ออกกฎหมายไม่ให้ทิ้งขยะ ที่สามารถรีไซเคิลหรือนำไปผลิตเป็นไฟฟ้าได้ ลงในหลุมกลบ ตั้งแต่ปี 2002 เป็นต้นมา
- สอนการแยกขยะตั้งแต่ในโรงเรียน เพื่อให้ประชาชนคุ้นเคยกับการจัดการขยะตั้งแต่เด็ก และมีการแยกถุงเป็นสี สำหรับขยะที่แตกต่างกันในแต่ละประเภท
- มีสถานที่รับซื้อขยะรีไซเคิลอยู่ทั่วประเทศ และหากเราจะซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อันใหม่ สามารถนำเครื่องเก่ามาเป็นส่วนลดได้ด้วย
ผลจากนโยบายทั้งหมดนี้ ทำให้ขยะเกือบครึ่งหนึ่งของสวีเดน สามารถนำไปรีไซเคิลได้ และนี่จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมสวีเดนต้องนำเข้าขยะจากประเทศอื่น
ในทุก ๆ ปี สวีเดนจะเปิดรับขยะจากประเทศเพื่อนบ้านในยุโรป เช่น อังกฤษ นอร์เวย์ ไอร์แลนด์ และอิตาลี เข้ามาในประเทศ
โดยจะคิดเงิน 43 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1,485 บาท สำหรับขยะทุก ๆ 1 ตัน ซึ่งมีการประเมินว่า สวีเดนได้รับรายได้ส่วนนี้สูงถึง 3,400 ล้านบาทต่อปี เลยทีเดียว
3
พูดง่าย ๆ ก็คือ สวีเดนมีเตาเผาขยะ ซึ่งหากประเทศไหนกำจัดขยะไม่ทัน อยากเอาขยะมาให้เผา ก็ต้องเสียเงินค่าบริการให้กับสวีเดน
ในขณะที่ขยะที่เผาได้ สวีเดนก็จะได้ทั้งค่าบริการ รวมถึงสามารถนำขยะไปเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าอีกทอดหนึ่ง
1
ย้อนกลับมาที่ประเทศไทย จริง ๆ แล้วประเทศไทยก็มีโรงผลิตไฟฟ้าจากขยะแล้ว แต่ปัญหาก็คือ ขยะของไทยยังไม่ได้ถูกคัดแยก ทำให้การผลิตไฟฟ้าไม่ได้มีประสิทธิภาพแบบสวีเดน
2
ดังนั้นประเทศไทยอาจไม่ต้องนำเข้าขยะแบบสวีเดน แต่ควรเริ่มจากจะทำอย่างไรให้คนไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เห็นความสำคัญของ “การแยกขยะ” เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ให้ได้แบบสวีเดน..
4
"พิเศษ คนที่เปิดบัญชี Dime! ผ่านลิงก์ของลงทุนแมน ตั้งแต่วันนี้ จนถึง 31 มีนาคม 2566 จะได้รับ “ฟรี” ค่าคอมมิชชัน การซื้อขายหุ้นต่างประเทศ ตลอดเดือนเมษายน 2566 พิเศษสำหรับแฟนเพจลงทุนแมนเท่านั้น สมัครเลยที่ https://link.dime.co.th/Longtunman
ผู้ที่สนใจ สามารถศึกษารายละเอียด และ เงื่อนไขเพิ่มเติมได้ที่ https://dime.co.th/en/articles/dime-x-ltman
คำเตือน : ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน"
1
โฆษณา