17 มี.ค. 2023 เวลา 10:40 • หุ้น & เศรษฐกิจ

Credit Suisse ปัญหาใหญ่จริง แต่ยังไม่น่าทำให้เกิดวิกฤตโลก

วุ่นกันเรื่อง Silicon Valley Bank ยังไม่ทันจบ ตลาดกลับมาเริ่มปั่นป่วนอีกรอบ เมื่อหุ้นธนาคารยักษ์ใหญ่อย่างเครดิตสวิสถูกกระหน่ำเทขาย จนราคาหุ้นร่วงไปจุดต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์ ราคาสัญญาประกันความเสี่ยงของหุ้นกู้ธนาคารพุ่งสูงสุดแบบที่ไม่เคยเห็นมาก่อน และส่งสัญญาณว่าโอกาสที่ธนาคารจะผิดนัดชำระหนี้สูงขึ้นเรื่อยๆ
ซึ่งล่าสุดทางการสวิตเซอร์แลนด์ได้เข้ามาให้ความช่วยเหลือเป็นมูลค่ากว่าห้าหมื่นล้านเหรียญเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่จะเพียงพอหรือไม่เดี๋ยวคงรู้กัน
1
เรามาลองไล่กันดีกว่าครับว่า ปัญหานี้เกิดจากอะไร
Credit Suisse ใหญ่จริง
เมื่อเทียบกับธนาคาร Silicon Valley Bank ที่มีสินทรัพย์สองแสนกว่าล้านเหรียญ ธนาคารเครดิตสวิสนั้นใหญ่กว่าเกือบสามเท่า ด้วยสินทรัพย์มูลค่าห้าแสนกว่าล้านเหรียญสหรัฐ (เทียบกับ GDP ของสวิตเซอร์แลนด์ประมาณแปดแสนล้าน)
1
ถือเป็นธนาคารที่มีชื่อเสียงมาก เรื่อง Wealth management และ Investment Banking ทั้งยังมีเงินฝากเกือบสามแสนล้านเหรียญ และเป็นธนาคารที่มี Operation ในหลายประเทศทั่วโลก โดย 1 ใน 3 ของเงินฝากอยู่นอกสวิตเซอร์แลนด์
นอกจากนี้ เครดิตสวิสขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในธนาคารที่มีความสำคัญต่อระบบการเงินของโลก (Global Systemically Important Banks—GSIBs) เพราะ ไม่ใช่แค่มีขนาดใหญ่เท่านั้น แต่ยังมีความเชื่อมโยงกับธนาคารอื่นๆ ที่ ถ้าล้มขึ้นมาไปจะพาธนาคารอื่นๆแย่ไปด้วย เช่น เป็นคู่สัญญาอนุพันธ์กัน หรือเป็นคู่ในการ Settlement หรือถือครอบทรัพย์สินให้กัน
โดย BIS ได้บอกว่า ในปี 2021 ธนาคารมี Exposure กับคนอื่นรวมกัน แปดแสนกว่าล้านเหรียญสหรัฐ และเป็นคู่สัญญา OTC derivatives ที่มีมูลค่า Notional amount กว่า 14 ล้านล้านเหรียญ
ซึ่งธนาคารเหล่านี้นอกจากจะต้องถูกกำกับดูแลเป็นพิเศษแล้ว ยังต้องดำรงเงินกองทุนเยอะกว่าชาวบ้าน และต้องมีแผนในการจัดการกับธุรกิจในกรณีล้มขึ้นมาด้วย
1
แล้ว Credit Suisse มีปัญหาอะไร?
1
ต้องบอกว่าปัญหาที่เกิดขึ้นกับ Credit Suisse ไม่ใช่เพิ่งเกิด และไม่ได้โดนหางเลขจากกรณี SVB แต่ เป็นปัญหาที่มีมาหลายปีมากแล้ว ดูจากราคาหุ้นก็จะเห็นว่าปรับลดลงมาต่อเนื่อง
อาจจะบอกได้ว่าเริ่มจากประเด็นการควบคุมความเสี่ยง การบริหารงานภายใน ที่กระทบไปถึงชื่อเสียง จนนำไปสู่ปัญหาความสามารถในการทำกำไร ที่ผู้บริหารกำลังปรับโครงสร้างขนานใหญ่เพื่อทำให้ธนาคารกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง
1
แต่ด้วยสภาพตลาดในปัจจุบันที่ไม่ได้ให้เวลากับธนาคารเลย ยิ่งมีปัญหาความเชื่อมั่น คนยิ่งชี้นิ้วมาที่ Credit Suisse และจะพาลพาคนอื่นไปด้วย
1
ซึ่งหากใครได้ตามข่าวในอดีต จะได้ยินชื่อ Credit Suisse เข้าไปเกี่ยวข้องและโดนทางการปรับ ในประเด็นต่างๆ ทีละหลายพันล้านเหรียญ เช่น...
  • 1.
    กรณีทางการสหรัฐฯ สั่งปรับเรื่องช่วยลูกค้าหลบเลี่ยงภาษี
  • 2.
    เกี่ยวข้องกับกรณีการออกพันธบัตรใน Mozambique ที่มีปัญหาเรื่องคอร์รัปชั่น
  • 3.
    เกี่ยวข้องกับกรณี Greensill Capital ที่ล้มไป
  • 4.
    เสียหายจากกรณี Archegos Capital ที่ไปเกี่ยวข้องกับการฟอกเงินของมาเฟียใน Bulgaria
2
รวมถึงประเด็นผู้บริหารมีดราม่าการสปายกันจนเป็นข่าวไปทั่วโลก ซึ่งสะท้อนถึงการบริหารความเสี่ยงและวัฒนธรรมขององค์กร ที่ทำให้พนักงานและลูกค้าตั้งคำถาม จนนำไปสู่ความสามารถในการทำกำไร
โดยปีที่แล้วปีเดียว ธนาคารขาดทุนไปกว่า 7.2 พันล้านฟรังค์ จากต้นทุนการปรับโครงสร้าง และการไหลออกของพนักงาน
แต่กระนั้นก็ต้องบอกว่า ธนาคารยังมีสถานะที่แข็งแกร่งมาก
1
ด้วยอัตราส่วนเงินกองทุนขั้นที่หนึ่งสูงถึง 20% แม้โดนกระหน่ำอย่างต่อเนื่อง หรือแม้แต่เงินฝากที่หายไปในไตรมาส 4 ปีที่แล้ว ไตรมาสเดียวกว่า 1.4 แสนล้านเหรียญ แต่ก็ยังคงมีสภาพคล่องเพียงพอแบบสบายๆ (เพราะได้นักลงทุนเติมเงินมาเพิ่ม..)
สรุป คือ ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องภายใน เรื่องความสามารถในการทำกำไร จนกระทบความเชื่อมั่น มากกว่าเรื่องหนี้เสีย สินทรัพย์ลดมูลค่าที่ต้องใส่ทุนอย่างรวดเร็ว
แต่ทั้งนี้ถ้าไม่จัดการสร้างความมั่นใจกลับมา เงินฝากที่ทยอยออกไปเรื่อยๆ จะทำให้ฐานะธนาคารย่ำแย่ลง และสุดท้ายก็ทำให้แหล่งรายได้สำคัญ เช่น ลูกค้า Wealth หรือลูกค้า Investment Bank เลิกใช้บริการไปเรื่อยๆ โอกาสธนาคารกลับมาก็ยากขึ้นเรื่อยๆ
จนมีคนพูดถึงทางเลือกของการไปรวมกับธนาคารอื่นๆ หรือให้ทางการเข้าควบคุมแล้วแยกหน่วยธุรกิจที่มีกำไรขาย แล้วลด Exposure ลง
1
  • Too Big to Fail
ด้วยขนาด ความสำคัญ และสถานะของธนาคารที่ยังดีอยู่ แทบไม่มีทางเลยที่ทางการจะปล่อยให้ธนาคารล้มครืน (แต่ไม่ได้แปลว่าผู้ถือหุ้น และผู้ถือหุ้นกู้จะไม่โดนกระทบ)
แต่ผู้ฝากเงินและ exposure ที่มีต่อธนาคารอื่นๆ น่าจะได้รับการปกป้องอย่างเต็มที่เท่าที่ทำได้ เพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินสวิตเซอร์แลนด์และระบบการเงินโลก รวมถึงรักษาความเชื่อมั่นของผู้ฝากเงิน
แต่ด้วยปัญหาที่มีมานานแล้ว และเจอข่าวแบบนี้มาหลายรอบ ผมว่าผู้กำหนดนโยบายมีแผนชัดเจนและคงมีการประสานกับธนาคารกลางประเทศอื่นๆแล้ว เกี่ยวกับแผนในการจัดการ หลายคู่สัญญาต่างๆ กำลังทยอยลด exposure ที่มีกับ Credit Suisse แล้ว
กรณีนี้จึงไม่น่าจะทำให้เกิดวิกฤตใหญ่อย่างที่กลัวกันไป แม้หุ้นกับหุ้นกู้อาจจะต้องรับรู้ความเสียหายถ้าทางการเข้าควบคุม หรืออาจจะมีความเสี่ยงที่คู่สัญญาอาจจะได้รับความเสียหาย ถ้าการเข้าจัดการไม่คุ้มครองเจ้าหนี้ทั้งหมด
  • ความมั่นใจสำคัญที่สุด
1
แต่ แต่ ครับแต่ สิ่งที่สำคัญที่สุดกับธุรกิจธนาคารคือความเชื่อมั่นและเชื่อใจครับ ไม่มีอะไรรับประกันได้เลยว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ หรือใหญ่กว่านี้กับธนาคารถัดๆ ไป ถ้านักลงทุนและผู้ฝากเงินยังไม่เชื่อมั่น
ธนาคาร ธนาคารกลาง รัฐบาล และผู้กำหนดนโยบาย คงต้องรีบเตรียมแผนรับมือเพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบการเงิน ยิ่งสถานการณ์ปัจจุบันที่คนเริ่มกังวลแล้ว ความเสี่ยงระหว่างธนาคารสูงขึ้น สภาพคล่องในระบบอาจจะเริ่มหดตัวลง ต้นทุนทางการเงินสูงขึ้น ยิ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุได้มากขึ้น
2
  • เหมือนแก้วที่มันร้าว…
ส่วนนักลงทุนจำเป็นต้องติดตามสถานการณ์ กระจายและบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสมครับ
โฆษณา