ปัญหาโลกแตกวันนี้คือกลยุทธ์ในการซื้อหุ้นและกองทุนแบบ Dollar Cost Average (DCA) หรือ Market Timing มันดีกว่ากัน เรา #เด็กการเงิน ขอถือโอกาสนำมาสรุปให้เลยตรงนี้ว่ามันดีกว่ากันอย่างไร หัวใจหลักมันอยู่ตรงไหน 😍 เป็นพื้นฐานที่สำคัญ และคุณอาจจะเจอบางสิ่งที่ไม่เคยรู้ !!!
DCA:
การลงทุนแบบ DCA คือการลงทุนสม่ำเสมอโดยไม่ต้องจับจังหวะ
การลงทุน เพื่อเฉลี่ยต้นทุนและสะสมหน่วยลงทุนในระยะยาว เช่น ลงทุนทุกเดือน ทุกวันที่ 1 เป็นต้น โดย
หากตลาดหุ้นเป็นขาลง จำนวนเงินที่เท่ากัน จะได้หน่วยลงทุนมากขึ้น
หากตลาดหุ้นเป็นขาขึ้น จำนวนเงินที่เท่ากัน จะได้หน่วยลงทุนน้อยลง
หัวใจของการทำ DCA คือลงทุนสม่ำเสมอ เพื่อสะสมหน่วยลงทุน
Market Timing:
กะจังหวะการลงทุน ซื้อถูก ขายแพง ด้วยการใช้ข้อมูล:
(1) สภาวะตลาดและคาดการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจ หรือ
(2) รอจังหวะให้ตลาดปรับฐาน (Buy-on-Dip)
(3) ใช้เครื่องมือทางเทคนิค ช่วยในการตัดสินใจ
หัวใจของการทำ Market Timing คือการตัดสินใจ+Action ได้อย่างเหมาะสม (ไม่ใช่ซื้อแพง ขายถูกนะ 😅แต่ก็เป็นเช่นนี้ได้.. ถ้าต้อง cut loss ตามแผน)
การเปรียบเทียบกลยุทธ์ DCA vs. Market Timing เป็นที่ Debate กันมาอย่างยาวนาน
แถมด้วยงานศึกษาของ Nick Maggiulli ที่สรุปว่ากลยุทธ์ Market Timing จะเอาชนะ DCA ได้คือการซื้อ Buy-at-Dip หากพ้นช่วงต่ำที่สุดไปแล้ว 2 เดือน ผลตอบแทนจะ underperform DCA ถึง 97%
ดังนั้นใครรันเทรนด์ระยะยาว เห็นจังหวะตลาดย่อ ก็อาจจะใช้เป็นจังหวะเข้าไม้แรกก่อน และตามด้วย DCA ก็ได้นะ (hybrid) ไม่มีถูกไม่ผิดแต่อย่างใด 😄 อย่างไรก็ตาม ความสม่ำเสมอและวินัย คือสิ่งสำคัญ แอดเห็นคนที่ประสบความสำเร็จ เค้าใชเวลาพอสมควรในการหาสไตล์ของตัวเอง และลงทุนจนพบอิสรภาพทางการเงินในที่สุด
LINETODAY 👉https://today.line.me/th/v2/publisher/10240
5 ถูกใจ
1 แชร์
1.1K รับชม
แสดงความคิดเห็นของคุณ...