18 มี.ค. 2023 เวลา 05:51 • หุ้น & เศรษฐกิจ

QE และ QT คืออะไร??

ช่วงนี้นอกจากจะได้ยินข่าวเรื่องการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้น ยังมีการพูดถึงเรื่อง QE และการทำ QT ด้วย มาอ่านสรุปแบบเข้าใจง่ายๆ กันกว่า QE และ QT ที่พูดถึงนี้คืออะไรกัน
Quantitative Easing (QE) เป็นนโยบายทางการเงินที่ธนาคารกลางใช้ โดยเพิ่มปริมาณเงินขึ้นมา แล้วใส่เงินนี้เข้าสู่ระบบ การเพิ่มเงินเข้าระบบตรงนี้ ไม่ใช่เป็นกรแจกเงินให้กับประชาชน แต่นำเงินนี้ไปซื้อสินทรัพย์ทางการเงินต่างๆ เน้นพวกตราสารหนี้ที่เป็นพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว และตราสารหนี้ธนาคารพาณิชย์ ทำให้สภาพคล่องของระบบการเงินมากขึ้น และเพิ่มขนาดงบดุลของธนาคารกลาง
เมื่อสภาพคล่องของเงินในระบบมาก และดอกเบี้ยต่ำ ก็เป็นแรงจูงใจให้ทั้งภาคธุรกิจต่างๆ และผู้บริโภค กู้ยืมเงินไปลงทุน ไปใช้จ่าย ด้วยต้นทุนดอกเบี้ยที่ถูกมาก ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวเร็ว แต่ก็ตามมาด้วยเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น
ส่วน Quantitative Tightening (QT) เป็นนโยบายทางการเงินของธนาคารกลาง โดยดำเนินนโยบายตรงข้ามกับ QE เป็นการขายสินทรัพย์ที่เคยซื้อมาออกไป หรือปล่อยให้สินทรัพย์ที่เคยซื้อมาให้หมดอายุ (เมื่อตราสารหนี้ครบกำหนดอายุ จะได้เงินต้นคืน) และนำเงินออกจากระบบ จึงเป็นการลดสภาพคล่องของระบบทางการเงิน และลดขนาดงบดุลของธนาคารกลาง
เมื่อสภาพคล่องเงินในระบบลดลง และดอกเบี้ยสูงขึ้น ภาคธุรกิจต่างๆ และผู้บริโภคจะกู้ยืมเงินไปลงทุน ไปใช้จ่าย ด้วยต้นทุนดอกเบี้ยที่สูง ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว และลดเงินเฟ้อลง
ธนาคารกลางสหรัฐ (FED) มีการทำQE ตั้งแต่ปี 2008 ที่เกิดวิกฤต subprime มาเรื่อยๆ เริ่มมีการทำ QTเมื่อช่วงปี 2018 แต่ก็ทำได้ไม่เท่าไหร่ มีเรื่อง COVID-19 ก็มาทำ QE ต่อ ทำให้สภาพคล่องในระบบมาก ขนาดงบดุล หรือ balance sheet ของ FED จึงเพิ่มขึ้นมาอีก ต่อมามีเรื่องเงินเฟ้อ สภาพคล่องในระบบมากเกินไป จึงเริ่มมีการทำ QT ในเดือนมิ.ย. 2022 และจะทำต่อเนื่องเดือนละ 95,000 ล้านดอลลาร์มาเรื่อยๆ เพื่อลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจและสกัดเงินเฟ้อ
แต่เมื่อเร็วๆ มีการหักหัวขึ้นเล็กน้อย จากการที่ต้องการเพิ่มสภาพคล่องให้สถาบันการเงินในช่วงนี้ ส่วนการทำ QT คือการปล่อยให้พันบัตรรัฐบาลหมดอายุไปก็ยังทำตามแผนต่อเนื่อง
หมอยุ่งอยากมีเวลา พูดคุยเรื่องหุ้นและกองทุน เข้าใจง่าย ใช้ได้จริง
ติดตามความรู้ทางการเงินแบบเข้าใจง่าย
ในช่องทางอื่นๆ ได้ที่
#หมอยุ่งอยากมีเวลา #เศรษฐกิจ #เศรษฐกิจร้อนแรง #เศรษฐกิจชะลอตัว #สภาพคล่อง #สภาพคล่องทางการเงิน #QE #QT #ลดสภาพคล่อง #เพิ่มสภาพคล่อง #ลงทุน #QuantitativeEasing #QuantitativeTightening
โฆษณา