20 มี.ค. 2023 เวลา 13:29 • สุขภาพ

สาธารณสุขไม่พบรังสีซีเซียม-137 ในร่างกายคนงานโรงถลุงเหล็กทั้ง 70 คน

หลังศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน จ.ปราจีนบุรี รายงานผลตรวจร่างกายคนงานโรงถลุงเหล็กที่หลอมวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 โดยสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ "ไม่พบรังสีในร่างกาย" แต่ยังให้ติดตามตรวจเลือดต่อเนื่องเพื่อเฝ้าระวังในระยะยาว
2
นพ. โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์กรณีตรวจพบวัตถุกัมมันตรังสี ซีเซียม-137 ที่หายไปจากโรงไฟฟ้าใน อ.ศรีมหาโพธิ ในโรงถลุงเหล็กเขตอุตสาหกรรมกบินทร์บุรี จ. ปราจีนบุรี ว่า ได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรี เปิดศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน (EOC) ติดตามสถานการณ์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดและเฝ้าระวังและดูแลสุขภาพประชาชนตั้งแต่เริ่มเกิดเหตุการณ์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
1
รายงานจากสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) ได้ตรวจสอบบริเวณโรงงานที่พบวัสดุกัมมันตรังสีแล้วไม่พบการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม รวมทั้งตรวจการปนเปื้อนรังสีในร่างกายของคนงานโรงงานทั้ง 70 คน ไม่พบปริมาณรังสีเช่นกัน โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรีจะติดตามอาการผิดปกติและตรวจเลือดเพื่อเฝ้าระวังสุขภาพคนงาน รวมทั้งญาติผู้ใกล้ชิดในครอบครัวอย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะมั่นใจว่าไม่ได้รับผลกระทบจากกัมมันตรังสี
ด้าน นพ. โอภาพ ระบุว่า ความรุนแรงจากการได้รับรังสีซีเซียม-137 ขึ้นกับความเข้มข้น ระยะเวลาที่สัมผัส และระยะห่างในการสัมผัส โดยหากสัมผัสโดยตรงจะเกิดบาดแผลไหม้จากรังสี เช่น ผิวหนังมีตุ่มน้ำพอง เป็นแผล หรือเนื้อตายได้ อาการทั่วไป เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศรีษะ
ผลระยะกลางและระยะยาว จะส่งผลต่อเซลส์ที่มีการแบ่งตัว เช่น เซลส์เม็ดเลือดขาว หรือเส้นผม เป็นต้น โดยแต่ละกรมจะใช้เหตุการณ์นี้มาทบทวนกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบให้รัดกุมยิ่งขึ้น
☢️ ซีเซียม-137 คืออะไร?
1
ซีเซียม-137 เป็นไอโซโทปกัมมันตรังสีของธาตุซีเซียม เป็นผลผลิตฟิชชันที่เกิดจากปฏิกริยานิวเคลียร์ฟิชชัน ซีเซียม-137 มีครึ่งชีวิต 30.17 ปี ประมาณ 95% สลายตัวโดยการปลดปล่อยรังสีบีต้าแล้วกลายเป็นแบเรียม-137m
คือวัสดุกัมมันตรังสี ชื่อภาษาอังกฤษคือ Caesium-137 หรือ Cesium-137 ลักษณะทางกายภาพ มีลักษณะเป็นของแข็ง คล้ายผงเกลือ สามารถฟุ้งกระจายได้เมื่อแตกออกจากแคปซูลที่ห่อหุ้มไว้
4
*** ทั้งนี้ ดร.กิตติ์กวิน อรามรุญ หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติให้สัมภาษณ์กับ สวพ.FM 91 โดยอธิบายเรื่องค่าครึ่งชีวิตของซีเซียม-137 ไว้ว่า อายุของซีเซียมอยู่ที่ประมาณ 30 ปี โดยศัพท์ภาษาของการเรียกอายุของสารกัมมันตรังสี จะเรียกว่า ค่าครึ่งชีวิต
หมายความว่า สมมตินับวันที่ผลิตวันแรกมีอยู่ 100% ผ่านไป 30 ปีจะเหลือ 50% อีก 30 ปีต่อมา จะเหลือ 25% จะเหลือครึ่งชีวิตไปเรื่อยๆ ตัวสารรังสีจะไม่เท่ากับศูนย์ อายุของมันจะลดลงเรื่อยๆ ลดไปจนถึง 10 ครึ่งชีวิตถึงจะไม่มีความอันตราย 10 ครึ่งชีวิตก็คือ 300 ปี ***
☢️ ซีเซียม-137 เอามาใช้ประโยชน์อย่างไร
ซีเซียม-137 มีการนำมาใช้ไม่มากนัก ถ้าปริมาณน้อยๆ จะใช้สำหรับปรับเทียบเครื่องมือวัดรังสี ใช้เป็นต้นกำเนิดรังสีแกมมาในการวัดความหนาแน่นของเครื่องมือเจาะสำรวจน้ำมัน ใช้เป็นต้นกำเนิดรังสีในการรักษามะเร็ง และใช้ในเครื่องมือวัดทางอุตสาหกรรม เช่น เครื่องวัดความหนาของวัสดุ เครื่องวัดการไหลของของเหลว
1
ในการทดลองอาวุธนิวเคลียร์หรือเกิดอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ จะมีไอโซโทปรังสีซีเซียม-134 และซีเซียม-137 ถูกปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมเล็กน้อย
โดยเหตุการณ์ที่ถูกปล่อยออกมามากที่สุดมาจากอุบัติเหตุที่เชอร์โนบิลในอุบัติเหตุที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลในปี 2005 จากนั้นในเดือนเมษายน ปี 2011 ก็มีการพบไอโซโทปรังสีเหล่านี้ในฝุ่นควันรั่วไหลออกมาจากเครื่องปฏิกรณ์โรงไฟฟ้าที่ฟุคุชิมา ญี่ปุ่น เป็นต้น
☢️ อันตรายจากซีเซียม-137
ผลกระทบหรืออันตรายจากรังสีของวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ถ้าได้รับในระยะเวลาสั้นจะไม่ส่งผลอันตรายให้เห็นผลชัดเจน แต่ก่อความเสี่ยงที่อาจเกิดโรคมะเร็งได้ หากได้รับปริมาณรังสีต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ จะทำให้ผิวหนังแสบร้อน มีผื่นแดงคล้ายโดนน้ำร้อนลวกหรือโดนไฟไหม้ มีอาการคลื่นเหียนอาเจียนถ้าได้รับปริมาณรังสีสูงมากพอ
ถ้าได้รับเข้าไปในร่างกายผ่านทางผิวหนังที่มีบาดแผล หรือโดยการหายใจ และรับประทานผงซีเซียม-137 เข้าไปในร่างกาย จะเข้าไปสะสมอยู่ในเนื้อเยื่ออ่อนของอวัยวะต่างๆ และแผ่รังสีให้แก่อวัยวะเหล่านี้ ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งจากอวัยวะที่ซีเซียม-137 เข้าไปสะสมอยู่
☢️ ไทม์ไลน์การหายไปของซีเซียม-137 ☢️
10 มีนาคม 2566 เวลา 18.30น.
ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินทางนิวเคลียร์รังสี ได้รับแจ้งเหตุกรณีวัสดุกัมมันตรังสีสูญหายจากสถานประกอบการทางรังสีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม 304 อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี
1
11 มีนาคม 2566 เวลา 09.30น.
เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบโดยละเอียดด้วยเครื่องมือวัดทางรังสีในพื้นที่เกิดเหตุร่วมกับสถานประกอบการ แต่ไม่พบวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ที่ได้รับแจ้งว่าสูญหายไป
1
จากนั้นในเวลา 23.00น. สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปราจีนบุรีได้รับแจ้งจากศูนย์อำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยว่า วัสดุกัมมันตรังสีได้สูญหายจากบริษัทดังกล่าว
13 มีนาคม 2566 เวลา 09.00น.
สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติจัดเจ้าหน้าที่พร้อมเครื่องมือตรวจวัดทางรังสี ตรวจสอบร่วมกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง มีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินภายในโรงงานพร้อมเจ้าหน้าที่บริษัทฯ ร่วมปฏิบัติงานจำนวน 50 คน ตรวจอย่างละเอียดทุกพื้นที่ก็ยังไม่พบวัสดุกัมมันตรังสีดังกล่าว
1
14 มีนาคม 2566
สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติร่วมกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองอำเภอศรีมหาโพธิได้ร่วมกันปฏิบัติการค้นหาวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 สูญหาย โดยเข้าตรวจสอบสถานประกอบการกิจการรับซื้อเศษโลหะและโรงหลอมเหล็กขนาดใหญ่จำนวน 15 แห่ง ภายในอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ก็ยังไม่พบวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ในพื้นที่
จากนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรีและตัวแทนบริษัทจึงจัดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเรื่องวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 สูญหาย
15 มีนาคม 2566
เจ้าหน้าที่สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติร่วมกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองอำเภอศรีมหาโพธิได้ร่วมกันปฏิบัติการค้นหาวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ที่สูญหาย โดยเข้าตรวจสอบสถานประกอบกิจการรับซื้อเศษโลหะ จังหวัดฉะเชิงเทรา
16 มีนาคม 2566
เจ้าหน้าที่ปรมาณูเพื่อสันติดำเนินการตรวจสอบความเปรอะเปื้อนทางรังสีในพื้นที่และของบุคลากรของโรงงาน
17 มีนาคม 2566
สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติดำเนินการค้นหาต่อเนื่องและขยายกำลังค้นหาเพิ่มในวงกว้าง
18 มีนาคม 2566
สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติค้นหาต่อเนื่อง ระดมกำลังเจ้าหน้าที่กว่า 40 คน ค้นหาวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 บริเวณพื้นที่โรงไฟฟ้าทั้งหมดและบริเวณรอบรั้วด้านในของจุดเกิดเหตุ แบ่งกลุ่มค้นหาเป็น 7 ทีมๆ ละ 7 คน ค้นหาอย่างละเอียดด้วยเครื่องมือวัดปริมาณรังสีและค้นหาทางสายตาอย่างละเอียด ยังไม่พบ
19 มีนาคม 2566
สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ค้นหาต่อเนื่อง และแบ่งทีมค้นหาวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ดังนี้ กลุ่มตรวจสิ่งแวดล้อมภายในโรงงาน (ดิน น้ำ อากาศ) กลุ่มตรวจวัสดุกัมมันตรังสีที่มีใบอนุญาต Safety และ Security โดยละเอียด และกลุ่มตรวจโรงเหล็ก ตามสถานประกอบการ
☢️ ลักษณะของวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ที่หายไป ☢️
มีลักษณะเป็นแท่งทรงกระบอก ภายนอกทำด้วยโลหะ ภายในประกอบด้วยตะกั่วสำหรับกำบังรังสี มีขนาดสูงประมาณ 20-30 เซนติเมตรและมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 14-20 เซนติเมตร มีฐานทำด้วยแผ่นโลหะ ทรงสี่เหลี่ยมด้านเท่าเชื่อมติดอยู่ น้ำหนักประมาณ 25 กิโลกรัม
2
ด้านบนของแท่งทรงกระบอกจะปิดสนิทไม่มีรู หรือช่องเปิดใดๆ มีแกนหมุนโลหะสำหรับควบคุมช่องเปิด-ปิดรังสี และอาจมีสัญลักษณ์ทางรังสีรูปใบพัดสามแฉกปิดอยู่ ส่วนด้านล่างจะมีช่องเปิดให้ลำรังสีพุ่งออกมาภายนอกได้ **ถ้าช่องเปิดนี้ไม่ได้ปิดล็อกไว้ด้วยกลไกของอุปกรณ์ จะมีลำรังสีปริมาณรังสีสูงพุ่งออกมาตลอดเวลา**
4
โฆษณา