Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
STORY BEHIND
•
ติดตาม
23 มี.ค. 2023 เวลา 12:01 • ท่องเที่ยว
สงขลา
เมืองเก่าสงขลา มีอะไรน่าเที่ยวบ้าง
เมืองเก่าสงขลา มีความเป็นมายาวนานถึง 200 ปี ซึ่งดูจากความเก่าแก่ของตึกอาคารต่างๆ บน ถ.นครนอก, ถ.นครใน, และ ถ.นางงาม
"ถนนนางงาม" เดิมชื่อ ถนนเก้าห้อง หรือ ย่านเก้าห้อง ถนนเส้นนี้เกิดจากการตัดถนน เพื่อเป็นเส้นทางในการประกอบพิธีสมโภชเสาหลักเมือง ถนนนางงามนี้มีสถานที่สำคัญ คือ ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลา
และบริเวณ ถนนนางงาม ก็จะมี Street Art สวยๆ ให้นักท่องเที่ยว ที่มาเที่ยวเมืองเก่าได้ถ่ายรูปสวยๆหลายจุด
"ถนนนครนอก" เป็นถนนที่ติดกับฝั่งทะเลสาป จากเดิมจุดนี้เป็นท่าเทียบเรือเพื่อการค้าขาย และขนสินค้าจากต่างประเทศ ซึ่งสังเกตได้จากมีโรงสีข้าวขนาดใหญ่อยู่บริเวณริมแม่น้ำ ที่ชื่อว่า "หับ โห้น หิน" หรือ "โรงสีแดง"
โรงสีข้าวแห่งนี้ตั้งอยู่บริเวณริมทะเลสาปสงขลา มีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกับพื้นที่เพาะปลูกข้าว แต่ในปัจจุบันได้ยกเลิกกิจการไปแล้ว เพราะจากสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีต่างๆ
ปัจจุบันโรงสีแดงนี้ได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งท่องเที่ยว ให้นักท่องเที่ยวได้ทราบถึงประวัติและความเป็นมา วัฒนธรรมต่างๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ภายในเมืองเก่าสงขลา ก็มีร้านอาหารเก่าแก่หลายร้าน อาทิ ร้านเจ้นิ ที่อยู่ใกล้กับโรงสีแดง
เจ๊นิ ข้าวต้มปลา ร้านข้าวต้มปลาเก่าแก่ที่เปิดให้บริการยาวนานกว่า 60 ปี มี 2 สาขา คือ สาขาถนนรามัญ และสาขาโรงสีแดง
แต่สาขาโรงสีแดงจะเป็นร้านสาขาที่ 2 แต่ตกแต่งให้เข้ากับย่านเมืองเก่าสงขลา ดำเนินการโดยทายาทรุ่นที่ 3 แล้ว
ส่วนคาเฟ่นั่งทานเครื่องดื่มเย็นๆ ชื่อว่า "Heart Made Coffee And Eatery" ร้านกาแฟที่ด้านนอกเป็นตึกจีนโบราณ แบบฮกเกี้ยน ที่มีอายุมายาวนานกว่า 60 ปี ซึ่งดูคลาสสิคและโดดเด่นมากบนถนน นางงามแห่งนี้
ออกมานอกเมืองเก่ากันอีกหน่อย "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา" ซึ่งห่างจากหับ โห้น หิน ประมาณ 2 กิโลเมตร
ตัวอาคารพิพิธภัณฑ์สวยมาก ๆ เป็นคฤหาสน์เก่าของพระยาสุนทรานุรักษ์ผู้ช่วยราชการเมืองสงขลาตั้งแต่สมัยร้อยกว่าปีก่อน จน พ.ศ. 2516 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียน คฤหาสน์หลังนี้เป็นโบราณสถานแห่งชาติและเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติสงขลาเมื่อปี พ.ศ. 2525
ภายในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงเรื่องราวของจังหวัดสงขลาตั้งแต่ประวัติตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เรืองการค้า ศิลปะ วัฒนธรรมต่างๆ พื้นที่ของพิพิธภัณฑ์ไม่ได้ใหญ่โตมากนัก เดินแป๊บเดียวก็ทั่ว อาคารพิพิธภัณฑ์เองก็มีแค่ 2 ชั้นเท่านั้น
"เขาตังกวน" อยู่ทางทิศตะวันตกของเขาน้อย มีบันไดทางขึ้นอยู่ใกล้วัดแหลมทราย สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 290 ฟุต
ปัจจุบันทางเทศบาลสงขลาสร้างลิฟต์ขึ้นเขาตังกวน โดยเสียค่าลิฟท์ 30 บาท/คน และเปิดให้ขึ้นไปข้างบนตั้งแต่ 08.30-18.00 น.
บนยอดเขามีเจดีย์สร้างในสมัยศิลปะสมัยทราวดี ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเมืองสงขลา พ.ศ.2402 ได้โปรดเกล้าฯให้ พระยาสงขลาบูรณะปฏิสังขรณ์ เพื่อเป็นที่เคารพสักการะของชาวสงขลา
และเมื่อขึ้นไปด้านบนแล้วก็ยังเห็นวิวสวยๆของเมืองสงขลาได้ 360 องศา
มาสงขลาถ้าไม่แวะไปทักทายนางเงือกที่หาดสมิหลาก็เหมือนจะมาไม่ถึง รูปปั้นนางเงือกทองสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2509 ด้วยบรอนซ์รมดำ
นางเงือกทองถูกสร้างขึ้นตามนิยายปรัมปราของไทยโบราณ ซึ่ง ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์) ได้บอกเล่าไว้ว่า ในวันดีคืนดีนางเงือกจะมานั่งหวีผมบนชายหาดด้วยหวีทองคำ วันหนึ่งบังเอิญว่ามีชายชาวประมงเดินผ่านมา ทำให้นางเงือกตกใจ รีบหนีลงทะเลไปโดยลืมหวีทองคำไว้ ฝ่ายชาวประมงเห็นดังนั้นก็เก็บหวีทองคำไว้และเฝ้าคอยนางเงือกที่หาดนั้นเสมอ แต่นางเงือกก็ไม่เคยปรากฏกายให้เห็นอีกเลย
มัสยิดกลางสงขลา มีชื่อเต็มว่า “มัสยิดดีย์นุลอิสลาม” เป็นมัสยิดขนาดใหญ่ที่รองรับได้ประมาณห้าพันคนทีเดียว ด้านหน้าของมัสยิดมีสระน้ำยาวประมาณ 200 เมตร ทำให้ที่นี่ได้ฉายาว่าเป็นทัชมาฮาลเมืองไทย
มัสยิดกลางสงขลา เป็นสถาปัตยกรรมแบบอิสลาม ทุกๆส่วนของมัสยิดนั้นถูกออกแบบ และตกแต่งด้วยความประณีต ละเอียดอ่อนช้อย ทางเดินถูกปูด้วยหินอ่อนทุกตารางนิ้ว พื้นที่ภายในตัวมัสยิดก็กว้างขวาง เปิดโล่งพร้อมรับผู้มีจิตศรัทธาทุกศาสนาที่ต้องการจะเรียนรู้คำสอนของพระอัลเลาะห์
"ตลาดกิมหยง" หรือชื่อเต็มๆคือ "ตลาดชีกิมหยง" ซึ่งเป็นคหบดีชาวจีน ผู้ซึ่งเป็นหนึ่งในเศรษฐีที่ดินและสร้างเมืองหาดใหญ่ให้เจริญรุ่งเรืองอย่างทุกวันนี้
ใครที่มาเที่ยวหาดใหญ่จะต้องไม่พลาดที่จะแวะซื้อของฝากกันที่นี่
** ถ้าชอบการท่องเที่ยว ร้านอาหาร โรงแรม แค้มปิ้ง มาเจอเราได้ที่
www.facebook.com/followmeonearth
www.facebook.com/pratuneung
ท่องเที่ยวไทย
ท่องเที่ยว
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย