31 มี.ค. 2023 เวลา 07:25 • หนังสือ

โลกนี้ช่างกว้างใหญ่ “เราคือมนุษย์คนเดียวในโลกที่ไม่เหมือนใคร”

ก่อนเดินทางไกลเพื่อสำรวจโลก สิ่งแรกที่ต้องสำรวจ
คือ ตัวคุณเอง
หนังสือ : มองโลกให้เป็นต้องเห็นตัวเองก่อน
Mentalist DaiGo : ผู้เขียน
เมื่อเราเป็นแฟนคลับตัวยงของ DaiGo มีทุกเล่มที่แปลเป็นไทย ทั้งที่อ่านและ remind ไปแล้ว รวมถึงยังอยู่ในกองดอง!
ด้วยความที่ชอบศึกษาเรื่องจิตวิทยา เลยแพ้ทางDaiGo ได้ไม่ยาก อีกทั้งหนังสือทุกเล่มของผู้เขียน อ่านง่าย
รวมทั้งเป็นหนังสือที่เหมาะกับการอ่านเพื่อลงมือทำได้จริง รวมทั้งหนังสือเล่มนี้ อ่านจบเมื่อเดือนที่แล้ว พกใส่กระเป๋าเดินทางไปหลายจังหวัด แต่พึ่งจะได้เริ่มต้นปี 2023 กับการ Remind ครั้งแรกของปีนี้
น้อยคนนักจะได้พูดคุยกับตัวเอง หนังสือเล่มนี้มีบททดสอบให้คนได้เริ่มต้นคุยกับตัวเองมากขึ้น
หนังสือมีทั้งหมด 8 บาท
บทที่ 1 ความเชื่อที่เราคิดไปเองเกี่ยวกับ การมองโลกตามความเป็นจริง 3 เรื่อง
1.ความเชื่อที่เราคิดไปเองเรื่องแรก ฉันคือคนที่มองสิ่งต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง
ความจริง มนุษย์ส่วนใหญ่มองเรื่องต่างๆ ด้วยสายตาผิดเพี้ยน
2.ความเชื่อที่สอง ฉันคือคนที่รู้เรื่องเกี่ยวกับตัวเองดีที่สุด
ความจริง ทุกคนเข้าใจเรื่องของตัวเองได้ถูกต้องเพียง 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
3.ความเชื่อที่สาม เรื่องของตัวเอง ตัดสินใจเองดีที่สุด
ความจริง การให้คนอื่นช่วยตัดสินใจมีความถูกต้องแม่นยำกว่า
บทที่ 2 ทำความรู้จักตัวเองด้วยคำถาม 6 ข้อ และรายการสิ่งที่ตัวเองให้ความสำคัญ
คนที่นิยามตัวเองได้อย่างชัดเจน มีแนวโน้มที่จะมีระดับความสุขอยู่ในระดับสูงมักไม่ยอมแพ้ต่อปัญหาและไม่ไม่ค่อยมีเรื่องกังวลหรือไม่สบายใจ
ในบทนี้จะมีแบบทดสอบสิ่งสำคัญในชีวิตด้วยรายการสิ่งที่ตัวเองให้ความสำคัญ
เมื่อได้ทำแบบทดสอบแล้วจะได้ลองเรียงลำดับแต่ละรายการ จะได้เห็นความจริงอย่างชัดเจนว่าต้องการให้ตัวเองเติบโต และให้ความสำคัญกับเป้าหมายเรื่องอะไรบ้าง
ในบทนี้จะให้ขุดสิ่งที่ตัวเองให้ความสำคัญในชีวิตให้ลึกลงไป
1.สิ่งที่ตัวเองให้ความสำคัญข้อนี้มีความหมายสำหรับคุณอย่างไร
2.สิ่งที่ตัวเองให้ความสำคัญข้อนี้มีความสำคัญกับคุณเพราะเหตุใด
ผ่อนคลายสมองที่ยังไม่คุ้นชินด้วยคำถาม 6 ข้อ
1.คุณเติบโตมาในครอบครัวที่ให้ความสำคัญกับเรื่องอะไร สิ่งนั้นมีอิทธิพลต่อทัศนคติที่มีในตอนนี้หรือไม่ หรือมีความคิดอะไรที่แตกต่างกับสิ่งที่พ่อแม่หรือครอบครัวให้ความสำคัญผ่านการสั่งสอนหรือไม่
2.ลองนึกย้อนถึงช่วงเวลาตอนเด็ก อย่างช่วงก่อนเข้าโรงเรียน หรือตอนสมัยมัธยมต้น หรือ มัธยมปลาย เรื่องหรือประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเหล่านั้น
แล้วยังหลงเหลืออยู่ในความทรงจำมากที่สุดคือเรื่องอะไร ประสบการณ์เหล่านั้นได้มีอิทธิพลต่อมุมมอง วิธีคิด หรือ พฤติกรรมของตัวเองอย่างไรบ้าง
3.ลองย้อนถึงตอนอยู่ที่ทำงานหรือชีวิตส่วนตัวคนที่คุณรู้สึกว่าน่านับถือที่สุดในบรรดาคนที่พูดคุยด้วย คุณรู้สึกนับถืออะไรในตัวพวกเขา
4.ในทางกลับกัน ใครคือคนที่รู้สึกว่า ไม่น่านับถือเหตุผลที่ทำให้คิดว่าไม่น่านับถือคืออะไร
5.ลองนึกถึงคนที่อยู่ในตำแหน่งสูงกว่าหรือผู้นำ หรือหัวหน้างานที่เคยเจอมาในชีวิตใครคือหัวหน้าที่สุดยอด ใครคือหัวหน้าที่แย่ที่สุด พฤติกรรมใดของคนนั้นที่ทำให้คุณตัดสินใจแบบนี้
6.ถ้าคุณมีลูก พฤติกรรมไหนที่คุณอยากสอน ให้ลูกทำมากที่สุด และพฤติกรรมแบบไหนที่ไม่อยากให้ลูกทำมากที่สุด ถ้าไม่มีลูกให้นึกถึงลูกน้อง ว่าแบบไหนที่ไม่อยากสอน
บทที่ 3 เทคนิคการทบทวนตัวเอง เพื่อค้นหา ว่าเราเป็นคนแบบไหน
สำหรับ ชุดคำถาม 19 ข้อ
ที่เป็นประโยชน์สำหรับการทบทวนตัวเอง
Q1 เรื่องใดที่ทำให้คุณรู้สึกเป็นกังวลกับอนาคตมากที่สุด
Q2 ถ้าวันนี้เป็นวันสุดท้ายของชีวิต คุณจะใช้เวลาไปกับการทำอะไร
Q3 ความกลัวที่ฝังอยู่ในจิตใจลึก ๆ ของคุณคืออะไร
Q4 เรื่องที่เกิดขึ้นในช่วงนี้และมีค่าควรแก่การจดจำคือเรื่องอะไร
Q5 วันแบบไหนที่ทำให้คุณตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกพร้อมใช้ชีวิตทันที
Q6ถ้าคุณสามารถชวนตัวเองในช่วงวัยสิบปีคุยได้
คุณอยากบอกอะไรกับตัวเอง
Q7ถ้าให้เลือก 2 เรื่องที่เป็นช่วงเวลาที่คุณไม่สามารถลืมได้ในชีวิตนี้ คุณจะเลือกช่วงเวลาไหน และเหตุผลที่ไม่สามารถลืมช่วงเวลาเหล่านั้นได้เป็นเพราะอะไร
Q8เรื่องที่สามารถสร้างรอยยิ้มให้ตัวคุณเองได้มีเรื่องอะไรบ้าง ให้เขียนสิ่งที่ทำให้คุณยิ้มออกมาโดยไม่รู้ตัวอย่างน้อย 10 อย่าง
Q9"ความฝัน" ในวัยเด็กของคุณคืออะไร เหตุผลที่มีความฝันนั้นเป็นเพราะอะไร
Q10 คำพูดหรือวลีไหนที่สร้างพลังให้คุณ
Q1 1 ในเวลาที่รู้สึกเจ็บปวด (ทั้งทางร่างกายและง
สิ่งใดที่จะช่วยปลอบใจตัวคุณเองได้ดีที่สุด
Q 1 2 ถ้าคุณสามารถยอมรับข้อผิดพลาดหรือความบกพร่องทางความสามารถของตัวเองได้อย่างไร้เงื่อนจะเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคุณในตอนี้หรือไม่
Q 1 3 ให้เขียนโปรเจ็กต์หรือกิจกรรมที่คุณสามารถทำให้โดยไม่รู้สึกเบื่อมาอย่างน้อย 5 อย่าง
Q 14 ให้เขียนโปรเจ็กต์หรือกิจกรรมที่คุณรู้สึกไม่สนุกที่จะทำมาอย่างน้อย 5 อย่าง
Q 15 เรื่องอะไรบ้างที่ทำให้คุณเสียน้ำตาโดยไม่คาดคิ(เรื่องราว ความทรงจำ รูปภาพ เป็นต้น)
Q16 ความผิดพลาดที่ใหญ่ที่สุดที่ตัวคุณเคยทำในอดีตคือเรื่องอะไร และคุณได้เรียนรู้อะไรจากเรื่องนั้น
Q17 คุณรู้สึกถึงความหมายของวิธีการใช้เวลาในปัจจุปันหรือไม่ ถ้าไม่ จงบอกเหตุผลที่ทำให้เป็นเช่นนั้น
Q18 คุณจำเป็นต้องเรียนรู้เรื่องอะไรเพื่อให้รู้สึกพึงพอใจในชีวิตมากขึ้น
Q19 อยากฝากอะไรไว้บนโลกใบนี้
บทที่ 4 เทคนิคติดตามผล เพื่อเพิ่มทักษะการทบทวนตัวเอง
สำหรับบทนี้ คือการบันทึกอารมณ์ โดยในหนังสือได้ทำตารางอารมณ์ประจำวัน เป็นการจดบันทึกการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ หากมีการจดและสังเกตอารมณ์ต่อเนื่องอย่างน้อย 14 วัน ก็จะค่อยๆ มองเห็นการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ของตัวเองได้
แบ่งเป็น การบันทึกความเครียด
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย
คุณภาพการนอน
ระดับของกิจกรรมที่ทำโดยมีคำถาม 36 ข้อสำหรับวินิจฉัยระดับ NEAT (อยู่ในหนังสือ หน้า 90-96)
บทที่ 5 วิธีเผชิญหน้ากับศัตรูตัวฉกาจของทักษะการมองโลกตามความเป็นจริง “การเคี้ยวเอื้อง”
แบบทดสอบการคิดแบบเคี้ยวเอื้อง
QIแม้ในเวลาที่ต้องการหยุดคิด แต่ก็มักจะคิดถึง
เรื่องนั้นอยู่บ่อย ๆ
Q2สิ่งที่ตัวเองได้พูดหรือทำไปจะวนอยู่ในหัวหลายครั้งซ้ำไปมา
Q3การหยุดความคิดแง่ลบที่เกี่ยวข้องกับตัวเองบางครั้งก็เป็นเรื่องยาก
Q4บ่อยครั้งที่หวนคิดถึงเรื่องที่ดันทำลงไปแล้ว
Q5บ่อยครั้งที่กลับไปคิดถึงเรื่องโต้เถียงหรือเรื่องขัดแย้งหลังจากที่สถานการณ์จบลงไปแล้วสักพัก
Q6บ่อยครั้งที่คิดถึงสิ่งที่ตัวเองเคยทำในสถานการณ์หนึ่งในอดีต
Q7บ่อยครั้งที่ใช้เวลาไปกับการนึกย้อนถึงเหตุการณ์
ที่น่าอาย
เพิ่มการตระหนักรู้ในตัวเองโดยการเปลี่ยนจากทำไม เป็น อะไร
วิธีการใช้คำถาม อะไร (what) ในการจัดการกับปัญหาหรือข้อสงสัยในชีวิตประจำวัน ซึ่งได้ผลลัพธ์อย่างชัดเจนสำหรับการคิดถึงสิ่งต่างๆ ด้วยการมองตามความเป็นจริง
บทที่ 6 ความถ่อมตนทางปัญญา วิธีเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจที่กูเกิลให้ความสำคัญมากที่สุด
มีชุดคำถาม 22 ข้อ เพื่อวัดระดับ ความถ่อมตนทางปัญญา
บทที่ 7 แบบฝึกหัด 10 ข้อเพื่อสร้างความถ่อมตนทางปัญญา
ใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที ตั้งคำถามกับตัวเองก่อนนอนทุกคืนว่า “วันนี้ได้ตัดสินใจเลือกและได้ทำอะไรไปบ้าง แล้วตัวเองรู้สึกอย่างไรต่อการเลือกหรือการกระทำนั้นการเลือกหรือการกระทำที่ดำเนินไปด้วยดีที่เกิดขึ้นในวันนี้คืออะไร และการเลือกหรือการกระทำที่ติดปัญหาคืออะไร”
บทที่ 8 การตอบแบบโสกราตีสเพื่อปลผูกฝังความถ่อมตนทางปัญญา
ขั้นแรกตรวจสอบระดับความหลงตัวเองของอีกฝ่าย
Q1 มีคนรอบตัวชมว่าเก่งอยู่บ่อย ๆ หรือรู้สึกเขินอายเวลาถูกคนอื่นชม
Q2 เป็นคนประเภทที่ชอบเป็นจุดสนใจ หรืออยาก
กลมกลืนไปกับฝูงชน
Q3 คิดว่าตัวเองเป็นคนที่มีความพิเศษไหม หรือคิดว่าตัวเองไม่ได้เก่งหรือไม่เก่งอะไร
Q4 ชอบมีอำนาจเหนือคนอื่น หรือยอมรับได้ถ้าให้
เป็นฝ่ายรับคำสั่งจากคนอื่น
Q5 คิดว่าการควบคุมคนอื่นเป็นเรื่องง่าย หรือไม่ค่อยชอบที่จะทำแบบนั้น
Q6 คิดว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่ได้รับการนับถือจากสิ่งที่ตัวเองทำ หรือคิดว่าได้รับความนับถือที่เหมาะสมอยู่เสมอ
Q7เมื่อมีโอกาส ถนัดโชว์ศักยภาพตัวเอง หรือพยายามระวังไม่โอ้อวด
Q8คิดว่าเข้าใจสิ่งที่ตัวเองกำลังทำอยู่ หรือบางครั้งก็ไม่เข้าใจว่าตัวเองกำลังทำอะไร
Q9รู้สึกว่าคนอื่นชอบฟังเราพูด หรือรู้สึกว่าบางครั้งเราก็พูดได้ดีเหมือนกัน
Q 10 คาดหวังให้คนอื่นนำเรื่องดี ๆ มาให้ หรือชอบทำอะไรเพื่อคนอื่นมากกว่า
Q11 ชอบเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น หรือรู้สึก
ไม่สบายใจเมื่อมีผู้อื่นมาให้ความสนใจ
Q12 รู้สึกว่าตัวเองมีอำนาจ หรือเป็นคนประเภทที่ไม่ค่อยรู้สึกถึงความหมายของการมีอำนาจ
Q13 คิดว่าตัวเองน่าจะกลายเป็นคนยิ่งใหญ่ หรือคิดเพียงว่าถ้าสักวันหนึ่งประสบความสำเร็จ
ได้ก็คงดี
Q14 คิดว่าตัวเองมีความสามารถทำให้คนรอบข้าง
เชื่อสิ่งที่ตัวเองพูด หรือคิดเพียงว่าคนรอบข้างเชื่อ
สิ่งที่ตัวเองพูดบ้างเป็นบางครั้ง
Q15 รู้สึกว่าเรามีความสามารถมากกว่าคนอื่น หรือรู้สึกว่ามีเรื่องให้เรียนรู้จากคนอื่นมากมาย
Q16 รู้สึกว่าตัวเองเป็นคนที่มีความแตกต่างจากคนทั่วไปหรือรู้สึกว่าตัวเองมีหลายมุมที่เหมือนกับคนอื่น
โฆษณา