29 มี.ค. 2023 เวลา 02:50 • หนังสือ

รีวิวหนังสือ The Five Dysfunctions of a Team

ช่วงนี้ได้มีโอกาสไปช่วยองค์หนึ่งเรื่องการสร้างทีม และก็มีพี่ที่เคารพท่านหนี่งก็ได้แนะนำหนังสือเล่มนี้มา
ชื่อว่า The Five Dysfunctions of a Team ซึ่งเป็นเวอร์ชันการ์ตูนด้วย ก็ทำมาจากหนังสือชื่อเดียวกันครับ
ตอนแรกก็คิดว่าถ้าเป็นการ์ตูนแล้วคงเนื้อหาเบา ๆ แตะโน่นนี่นิดหน่อย แต่กลายเป็นว่าไม่ใช่เลย เป็นการ์ตูนที่ Text เยอะมาก ประมาณว่า อ่านเอาจริงจัง ไม่ได้อ่านขำ ๆ
.
หนังสือเล่มนี้บอกเล่าเรื่องราวของบริษัทแห่งนึง ที่กำลังประสบปัญหา โดยเฉพาะด้านการทำงานเป็นทีม ซึ่งทางตัวผู้บริหารเองก็ไม่รู้ตัวว่าเกิดปัญหาขึ้น โดยอุปสรรคที่ขัดขวางการทำงานเป็นทีมนั้น หนังสือได้สรุปออกมาเป็นปัญหาที่บั่นทอนทีม 5 ระดับ ซึ่งส่งผลต่อเนื่องกัน สรุปใจความคือ
1) ขาดความไว้เนื้อเชื่อใจกัน (Absence of Trust.): เริ่มจากสมาชิกในทีมไม่ trust ซึ่งกันและกัน ซึ่งจะเห็นได้จาก การที่แต่ละคน “ปิดบังจุดอ่อนของตน” กลัวที่จะแสดงความผิดพลาด
2) กลัวความขัดแย้ง (Fear of Conflict): พอไม่ trust กันแล้ว สมาชิกในทีมไม่สามารถร่วมมือ หรือ ถกเถียงกันได้อย่างเต็มที่ ทีมอาจไม่มีความขัดแย้ง แต่หนังสือบอกมันคือ “การปรองดองแบบปลอม ๆ”
3) ไม่ผูกมัดตัวเอง (Lack of Commitment): ซึ่งจะนำไปสู่ระดับที่ 3 คือสมาชิกในทีมขาดความชัดเจน และ ไม่ยอมการยอมรับในการตัดสินใจ ซึ่งนำไปสู่ “ความคลุมเครือ” และขาดการติดตาม
4) การหลีกเลี่ยงการตรวจสอบกัน (Avoidance of Accountability): ถึงจุดนี้สมาชิกในทีมจะเริ่มหลีกเลี่ยงการรับผิดชอบต่อการกระทำ และ ไม่ตรวจสอบซึ่งกันและกัน นำไปสู่ “มาตรฐานตกต่ำ”
5) ไม่ใส่ใจในผลลัพธ์ (Inattention to results): ท้ายที่สุด สมาชิกในทีมก็จะละเลยเป้าหมายหลักของทีม สนใจแต่เป้าหมายของตัวเอง ซึ่งทำให้เกิดเป็น Silo ซึ่งเป็นปัญหา Status & Ego
.
ผู้เขียนเสนอว่า สิ่งทั้ง 5 นี้ จะส่งเสริมซึ่งกันและกัน เป็นเหมือนวงจรอุบาทว์ ที่จะนำไปสู่ความล้มเหลวของทีมหรือองค์กรได้ และ เพื่อเอาชนะปัญหาเหล่านี้ ผู้เขียนได้เสนอแนวทางสร้างทีมไว้ดังนี้
1) การสร้างความไว้วางใจ (Build trust): สมาชิกในทีมต้องเต็มใจที่จะแสดงจุดอ่อนแอ ต่อกันและกัน ยอมรับความผิดพลาด และ สร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นบนพื้นฐานของความเคารพ
สิ่งที่ควรทำเช่น สร้างกิจกรรมให้คนในทีมได้รู้จักตัวตนของกันและกัน, feedback 360 องศา, กิจกรรมทีมสัมพันธ์
2) มีส่วนร่วมในความขัดแย้งที่ดี (Engage in constructive conflict): สมาชิกในทีมต้องเต็มใจที่จะมีส่วนร่วมในการถกเถียงอย่างสร้างสรรค์ ท้าทายความคิดของกันและกัน
สิ่งที่ควรทำเช่น ค้นหาความขัดแย้ง, มีสิทธิ์เตือนกันทันที,เรียนรู้เทคนิค conflict management
3) บรรลุความมุ่งมั่น (Ensure commitment): สมาชิกในทีมต้องชัดเจนเกี่ยวกับเป้าหมายของทีม ให้คำมั่นสัญญากับทีม
สิ่งที่ควรทำเช่น ทบทวนความเข้าใจทีละประเด็น เช่น ข้อสรุปต่าง ๆ เป็นต้น, กำหนด Deadline, เตรียมแผนฉุกเฉินสำหรับกรณีที่เลวร้าย
4) การยอมรับความรับผิดชอบ (Ensure commitment): สมาชิกในทีมต้องเต็มใจที่จะรับผิดชอบซึ่งกัน และกัน และเต็มใจที่จะรับผิดชอบด้วยตัวเอง
สิ่งที่ควรทำเช่น ประกาศให้ทีมรู้ถึงเป้าหมายหรือมาตรฐานที่ใช้, ทบทวนความคืบหน้า, ให้รางวัลกับความสำเร็จของทีม
5) การมุ่งเน้นผลลัพธ์ (Focus on Outcomes): สมาชิกในทีมต้องจัดลำดับความสำคัญของเป้าหมายส่วนรวมของทีมเหนือความต้องการและเป้าหมายส่วนบุคคล ทำงานร่วมกันเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดสิ่งที่ควรทำเช่น ประกาศให้ทีมรู้ถึงเป้าหมายหรือมาตรฐานที่ใช้, ให้รางวัลตามผลงานทีม ไม่ใช่รายบุคคล
.
จริง ๆ หนังสือยังได้แนะนำ เทคนิคแนวทางไว้เยอะเลยนะครับ ว่าเราสามารถทำอะไรได้บ้าง ซึ่งอ่านแล้วสามารถนำไปลองปรับใช้กันได้เลย
เหมาะสำหรับคน ที่ต้องการหาแนวทางในการสร้าง Team ไม่ว่าจะเป็นทีมเล็ก หรือ ระดับองค์กร
การ์ตูนเล่มนี้มีแปลไทยด้วยนะครับ แต่เก่านิดนึง อาจจะหาซื้อยากหน่อย ถึงหนังสือจะเก่า แต่เนื้อหาก็ไม่ได้เก่าตาม เลย
โดยสิ่งที่หนังสือเล่มนี้พูด ก็จะมีความล้อกับหลักการในหนังสือดัง ๆ เล่มใหม่กว่า เช่น หนังสือเรื่อง Culture code เป็นต้น หรือ หลักการพวก Psychological Safety
เล่มที่ 19/2566
โฆษณา