Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Lesson Learned Log
•
ติดตาม
3 เม.ย. 2023 เวลา 11:00 • สุขภาพ
ทำไมช่วงนี้ว่อกแว่กตลอด โฟกัสอะไรไม่ได้นาน และวิตกกังวลบ่อย ๆ
ทำงานชิ้นเดิมยังไม่เสร็จก็แว้บไปคิดเรื่องอื่นซะแล้ว ต้องทำอะไรหลาย ๆ อย่างไปพร้อมกัน ผลัดวันประกันพรุ่ง รู้สึกเหนื่อยล้าสมอง หรือโฟกัสอะไรนาน ๆ แบบที่เคยทำเมื่อก่อนไม่ได้ ถ้าคุณมีอาการแบบนี้ ไม่ต้องกังวล เราคือเพื่อนกัน นี่ยังไม่นับคนอีกมากมายในสังคมทุนนิยมอันเร่งรีบที่สาดชุดความคิดที่ว่า เราต้องมีต้องเป็น ต้องใช้สินค้า และบริการต่าง ๆ เพื่อชีวิตที่ดีกว่า ต้องเสพย์คอนเทนต์ออนไลน์ตลอดเวลา ต้องทำงานให้มี Productivity สูงสุดเท่าที่ทำได้ ใช้เวลาให้คุ้มค่าซะ
มันก็คงไม่ผิดถ้าเราจะเสพย์คอนเทนต์ที่โคตรดีใน Youtube หรือ Tiktok เปิด IG ดูชีวิตดี๊ดีของเพื่อน ๆ ชอปปิงใน Double Digits campaign บน Lazada หรือตีป้อมกับเพื่อน แต่คำถามที่เราควรตอบตัวเองให้ได้คือ เราใช้เวลากับมันมากเกินไปรึป่าว ลองเปิดดูเวลาที่ใช้งานไปกับแต่ละแอปดูก็ได้ น่าจะเซอไพรซ์อยู่เหมือนกัน เราเคยเปิดดูวันนึง ที่เล่นเกมหนัก ๆ กดไป 11 ชั่วโมง แทบช็อก
หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่แอปความบันเทิงทั่วโลกใช้ เพื่อวัดผลความสำเร็จคือ ความสนใจของผู้ใช้งาน (Attention) ยิ่งมีคนดูแอปเค้าเยอะ ใช้เวลาบนนั้นเยอะ ก็มีแนวโน้มที่จะทำเงินได้เยอะ ถ้า Subscription Model แบบ Netflix ก็ตรงไปตรงมา คนดูเยอะ ก็มีคนจ่ายตังให้เยอะ แต่แอปที่แฝงตัวมาในรูปของ Free to use เนี่ย เค้าทำเงินจากการโฆษณา อย่าง Facebook หรือ Google (ใน Youtube) ดังนั้นเค้าก็พยายามดึงคนให้อยู่บนแอปนั้นให้นานที่สุด ทั้ง Customized Content ทั้งเด้งแจ้งเตือนถี่ ๆ กลับมาเถอะ กลับมาเถอะ ตลอดเวลา
ตลอดหนึ่งวัน มือถือเราก็จะเด้งแจ้งเตือนให้เราเปิดโน่น เปิดนี่ดูบ่อย ๆ ตั้งแต่เกมให้ไปรับ Daily Reward ยันอีเมล์จากลูกค้า คือถ้าไม่ได้มีจิตใจเข้มแข็งจริง ๆ เราก็จะหยิบมือถือมาดูตลอดเวลา ว่ามีอะไรเด้งไหม สำคัญบ้างไม่สำคัญบ้างสลับกันไป เหมือนทุกวันนี้เราฝึกให้สมองเราอยู่ไม่นิ่ง ต้องคิดหลาย ๆ เรื่องพร้อมกัน เรียกเป็นชื่อเท่ ๆ ว่า Multi-tasking ทั้งที่จริง ๆ สมองเราไม่ได้คิดทุกอย่างพร้อมกัน เราแค่สลับความสนใจได้เร็วมากในระดับเสี้ยววินาที ซึ่งใช้พลังงานเยอะ และเสี่ยงที่จะมีข้อผิดพลาดมากอีกด้วย
ความตลกร้ายในเรื่องนี้คือ สมองเราชอบการกระตุ้นด้วยข้อมูลเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้ อย่างตอนที่เราเปิดแจ้งเตือนที่เด้งขึ้นมา เราได้รู้ข่าวสารข้อมูลใหม่ ๆ สมองของเราถึงกับตบรางวัลงาม ๆ ให้เราด้วยการหลั่งโดพามีน สารที่ทำให้เรารู้สึกฟิน ซึ่งปกติจะหลั่งตอนที่เราได้กินไอติมถ้วยโปรด ได้รางวัลชนะเลิศการแข่งกีฬา หรือตอนมีเซ็กส์ ไม่แปลกเลยที่เราจะเปิดแอปพวกนี้ทั้งวัน สลับไปสลับมา เรื่องนี้มันไม่ใช่แค่เราเคยชิน แต่มันเกี่ยวกับสารเคมีในสมอง
Chris Bailey เจ้าของ TEDxManchester ตอน How to Get Your Brain to Focus ที่เราลองฟังมา เค้าบอกว่าสมองของเรามัน Overstimulated หรือ เป็นภาวะที่สมองถูกกระตุ้นมากเกินไป เราควรดึงมันลงมาในภาวะปกติ เพื่อให้เรากลับมามี สมาธิในช่วงเวลาที่นานขึ้น มีไอเดียมากขึ้น และวางแผนได้มากขึ้น วิธีการที่เค้าแนะนำคือ ให้ลองทำอะไรที่น่าเบื่อมาก ๆ ให้ได้ซักชั่วโมงนึง ติดกันซักอาทิตย์ อย่างที่เค้าทำคืออ่านข้อกำหนดและเงื่อนไขของ iTunes และอื่น ๆ อีก คืออย่างฮา
ส่วนที่เราได้รับคำแนะนำและลองเอามาปรับใช้ คือใช้ประโยชน์จากฟังก์ชันกำกับการใช้มือถือไม่ให้ใช้มากไป ฟังดูทำง่ายแต่พอทำจริงก็คือรู้เลยว่า เราติดมือถือสุด ๆ เราก็เลยลองกำหนดช่วงเวลาที่จะใช้มือถือ คือกะว่า 4-5 ทุ่ม พยายามไม่ใช้มือถือแล้ว และให้เวลากับการอ่านหนังสือมากขึ้น กลับมาเขียนโน่นเขียนนี่มากขึ้น
นอกจากนี้เราก็ลองศึกษาเรื่อง ADHD หรือโรคสมาธิสั้นนั่นแหล่ะ คิดว่าเริ่มจากการมี Self Awareness แล้วก็จะป้องกัน และแก้ไขได้ดีมากยิ่งขึ้น ใครมีไอเดียเรื่องนี้มาแชร์กันเพิ่มเติมได้ จะได้เรียนรู้และเติบโตไปพร้อมกันครับ
Ref.
How to Get Your Brain to Focus | Chris Bailey | TEDxManchester
https://www.youtube.com/watch?v=Hu4Yvq-g7_Y
Multitasking doesn’t work—here’s what does.
https://asana.com/resources/multitasking
โรคสมาธิสั้น ผู้ใหญ่ก็เป็นได้!
https://www.sikarin.com/health/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99-%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B9%80
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย