27 พ.ค. 2023 เวลา 00:00 • หนังสือ

บทความ Blockdit ตอน นอสตราดามุสตัวจริง

นักทำนายอนาคตที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งในโลกย่อมคือนอสตราดามุส ข้อเขียนของเขาถูกตีความเป็นคำทำนายต่างๆ ว่าแม่นยำยิ่งนัก
6
แต่หากศึกษาอย่างละเอียดจะรู้ว่า การทำนายแบบนี้เป็นการเอาข้อเขียนในอดีตมาผูกกับเหตุการณ์ เป็นประเภท จับยัด เหมือนผลสลากกินแบ่งออกมาแล้ว ค่อยโยงว่าตัวเองทายแม่น คำทำนายของนอสตราดามุส (หากเขาตั้งใจให้งานเขียนเป็นคำทำนายจริง) จึงไม่มีความเป็นวิทยาศาสตร์
2
ทว่าโลกเราก็มีบุคคลผู้หนึ่งที่ทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าอย่างแม่นยำและอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ เขาคนนั้นมิใช่หมอดู แต่เป็นนักวิทยาศาสตร์และนักเขียน คนเขียนนิยายไซไฟชั้นดีจำนวนหนึ่ง
4
อาร์เธอร์ ซี. คลาร์ก (Arthur C. Clarke) คนที่ผมชอบเรียกเขาว่า ปู่อาร์เธอร์
3
ACC สมัยหนุ่ม
นิยายวิทยาศาสตร์ของปู่อาร์เธอร์ต่างจากนักเขียนคนอื่นคือหากนักเขียนคนหนึ่งจะเล่าเรื่องการเดินทางในอวกาศ นักเขียนทั่วไปจะบรรยายว่ายานข้ามจากดาว ก. ไปดาว ข. ก็จบ แต่เขาจะอธิบายแบบจัดเต็ม นั่นคือยานอวกาศหน้าตาเป็นอย่างไร ทำงานด้วยระบบอะไร มันสร้างแรงโน้มถ่วงเทียมได้ยังไง ถ้าเดินทางนานๆ ระบบจำศีลเป็นอย่างไร เขาอธิบายความเป็นไปได้ทางเทคนิคในแทบทุกจุด
2
ในเรื่อง 2001: A Space Odyssey อธิบายว่ายานอวกาศมีแรงโน้มถ่วงเทียมที่เกิดจากการหมุนเหวี่ยงของยาน หรือเรื่อง Rendezvous with Rama บรรยายยานของพวกต่างดาวแบบละเอียดยิบ
5
ในเรื่อง Imerial Earth เขาบรรยายว่าหากมนุษย์จากดาวเคราะห์ดวงอื่นเดินทางมาเยือนโลกเรา ก็ต้องผ่านการปรับและฝึกให้ร่างกายรับแรงโน้มถ่วงต่างกันได้ก่อน ไม่ใช่มาถึงก็เดินปร๋อเลยอย่างในหนัง
6
นอกจากงานนิยาย ปู่อาร์เธอร์ยังเขียนสารคดีวิทยาศาสตร์มากมาย โดยเฉพาะเรื่องการเดินทางไปในอวกาศ เขียนมาตั้งแต่ 1950 งานของเขาจริงจังจนสามารถใช้เป็นงานอ้างอิงได้ ทั้งนี้เพราะเขาเป็นนักวิทยาศาสตร์จริงๆ ด้วย
2
ความรู้จริงเรื่องวิทยาศาสตร์อวกาศ และการเดินทางระหว่างดวงดาว ทำให้เขาเป็นที่ต้องการตัวในฐานะผู้บรรยายหรือผู้วิจารณ์การส่งจรวดไปนอกโลก เช่น การเดินทางครั้งประวัติศาสตร์ของอพอลโล 11
2
เมื่อนักสร้างจรวดเยอรมัน-อเมริกัน เวอร์เนอร์ ฟอน บราวน์ ต้องการอธิบายต่อประธานาธิบดีเคนเนดีว่า การไปดวงจันทร์เป็นไปได้จริงอย่างไร ก็ต้องใช้หนังสือของปู่อาร์เธอร์เรื่อง The Exploration of Space (1951) อ้างอิง
3
ปู่อาร์เธอร์มองไปไกลจนได้รับฉายาว่า Prophet of the Space Age (นักพยากรณ์แห่งยุคอวกาศ)
ขณะที่คนจำนวนมากในโลกตอนนี้กลัวว่า AI หรือเครื่องจักรฉลาดๆ จะมาแทนที่มนุษย์ นานปีมาแล้ว ปู่อาร์เธอร์กลับมีความเชื่อว่าวันหนึ่งเรานั่นแหละที่อาจย้ายไปอยู่ในร่างเครื่องจักร เพราะมันคือส่วนหนึ่งของวิวัฒนาการ
5
"ผมคิดว่าเป็นไปได้ว่าเราขณะที่เราพัฒนา เราจะเคลื่อนจิตของเราไปสู่เครื่องจักร คุณจะสามารถมีประสบการณ์ทุกอย่าง สามารถอยู่ได้ทุกที่"
3
ถ้าคนทั่วไปหรือนักเขียนนิยายไซไฟทั่วไปพูดอย่างนี้ เราก็อาจสรุปได้ว่ามันเป็นแค่จินตนาการฝันเฟื่อง แต่หากคนพูดปู่อาร์เธอร์ เราต้องรับฟังมันอย่างจริงจัง
2
เขามองไปไกลและคิดข้ามช็อตเสมอ
1
ในปี 1945 คลาร์กทำนายว่าจะมีการสื่อสารทางดาวเทียม ทั้งที่ตอนนั้นโลกยังไม่มีดาวเทียม
แม้จะไม่ใช่คนแรกที่คิดเรื่องดาวเทียมโคจรรอบโลก แต่เขาเป็นคนพัฒนาความคิดนี้อย่างเป็นรูปธรรม มีส่วนแผ้วทางให้เกิดดาวเทียมขึ้นจริงๆ เราจึงให้เครดิตเขาเรื่องเป็นผู้ทำให้โลกมีดาวเทียม
2
นอกจากนี้เขายังเสนอไอเดียการถ่ายทอดสดผ่านดาวเทียม ทั่วทุกมุมโลก ตีพิมพ์ในนิตยสาร Wireless World ฉบับตุลาคม 1945 และทำได้จริงก็ในปี 1962
1
ปี 1964 ปู่อาร์เธอร์ทำนายการเกิดของระบบคอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ต มันกลายเป็นความจริง
2
หลายสิบปีก่อนยุคโทรศัพท์มือถือ เขาทำนายเรื่องสิ่งประดิษฐ์อุปกรณ์สื่อสารส่วนตัวที่ทุกคนมีติดตัว เวลาจะมาถึงเมื่อเราสามารถโทร.หาใครสักคนที่ไหนในโลกได้ เพียงแค่กดปุ่มเลขหมาย เขายังทำนายว่าอุปกรณ์ชนิดนี้จะสามารถกำหนดพิกัดใดๆ บนโลกได้ และจะไม่มีคนหลงทางอีกต่อไป เขาเชื่อว่าสิ่งประดิษฐ์ชนิดนี้น่าจะเป็นจริงในทศวรรษ 1980
8
ทายพลาดแค่เรื่องเวลา แต่สิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่าสมาร์ทโฟนทำทุกอย่างที่ว่ามานี้ได้จริงหมด
2
ในปี 1974 คลาร์กทำนายการกำเนิดอี-แบงกิ้ง ช็อปปิ้งออนไลน์ การจองตั๋วหนัง ฯลฯ เขาทำนายว่าคนในยุคอนาคตยุคนั้น จะมีคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กกะทัดรัดที่สามารถใช้พูด สามารถใช้หาข้อมูลทุกอย่างที่ต้องการ เช่น บัญชีธนาคาร การจองตั๋วหนัง
2
ทุกอย่างเป็นจริงหมด
เขาเป็นมนุษย์ผู้มาก่อนกาลจริงๆ
4
ถ่ายคู่กับฉากหนังเรื่อง 2001
ขณะที่ชาวโลกไม่น้อยเห็นว่าโครงการอวกาศเป็นเรื่องสิ้นเปลือง เปล่าประโยชน์ ปู่อาร์เธอร์กลับมองว่าประโยชน์ของโครงการอวกาศไปไกลกว่าแค่การศึกษา เฉพาะคุณค่าทางแรงบันดาลใจของมันสูงกว่าเงินลงทุนหลายเท่า
3
ยังไม่ต้องพูดถึงประโยชน์การพัฒนาวิทยาการต่างๆ นับร้อยๆ อย่างที่ปรับปรุงคุณภาพชีวิตของชาวโลก
เรื่องบางเรื่องมองใกล้ๆ จะเห็นแค่มุมของความเปล่าประโยชน์ ต้องมองไกลๆ จึงจะเห็นประโยชน์ในภาพรวมของมนุษยชาติ
1
ปู่อาร์เธอร์มักพูดเรื่องการขึ้นบกของปลา จนวิวัฒนาการเป็นมนุษย์ในวันนี้ หากวันนั้นไม่มีปลาตัวไหนกล้าขึ้นบก หรือเห็นว่าการขึ้นบกเป็นเรื่องเปล่าประโยชน์ เราก็ไม่มีทางเกิดเป็นสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน ในรูปชีวิตอย่างที่เป็นอยู่ ณ วันนี้
5
และขณะที่เราชาวมนุษย์ขึ้นจรวดไปในอวกาศแล้ว พวกมันยังคงเป็นปลา
เขาชอบคำกล่าวของเพื่อนนักเขียนไซไฟ แลร์รี นิเวน ที่ว่า "พวกไดโนเสาร์สูญพันธุ์เพราะพวกมันไม่มีโครงการอวกาศ และถ้าเราสูญพันธุ์เพราะเราไม่มีโครงการอวกาศ ก็สมน้ำหน้าว่ะ"
4
โลกคือความเปลี่ยนแปลง ชีวิตคือความเปลี่ยนแปลง ถ้าเราตามไม่ทันความเปลี่ยนแปลง และไม่มีวิสัยทัศน์ เราก็จะสูญพันธุ์
3
นอกจากนี้เรายังต้องมีความกล้าที่จะคิดในเรื่องที่คนส่วนมากเห็นว่าเป็นไปไม่ได้
3
ความจริงที่เขาพยายามชี้คือ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ของโลกก้าวไปเร็วมาก จนเขามองว่า ด้วยอัตราเร็วของความก้าวหน้าในยุคปัจจุบัน (ปีที่เขาพูดประโยคนี้คือ 1983) มันแทบเป็นไปไม่ได้ที่จะจินตนาการว่าการค้นพบทางเทคโนโลยีใดๆ ที่จะทำไม่สำเร็จ (ถ้าหากมันทำได้จริงๆ) ภายในไม่กี่ร้อยปีข้างหน้า
2
หากโลกไม่พังเพราะสงครามนิวเคลียร์หรือโรคร้ายใดๆ เสียก่อน มนุษยชาติก็น่าจะไปถึงจุดที่ ณ ปัจจุบันเราเห็นว่ามันเป็นแค่ความฝันเฟื่องหรือเป็นไปไม่ได้
เทคโนโลยีชั้นสูงมากๆ นั้นมักแยกไม่ออกจากมายากล
เขาบอกว่า มันสำคัญที่จะจดจำว่า ข้อมูล (information) ไม่ใช่ความรู้ (knowledge) ความรู้ไม่ใช่ปัญญา (wisdom) และปัญญาไม่ใช่การมองเห็นอนาคต (foresight) แต่ข้อมูลเป็นขั้นตอนจำเป็นอันแรกที่จะนำไปสู่ทั้งหมดนี้
18
ปู่อาร์เธอร์บอกว่า "นี่เป็นยุคแรกในประวัติศาสตร์มนุษยชาติที่เราสนใจเรื่องอนาคต ซึ่งเป็นเรื่องย้อนแย้งอยู่บ้าง เพราะเราอาจจะไม่มีอนาคต!"
5
มนุษย์เสียเงินทองทรัพยากรมากมายมหาศาลเพื่อทำลายตัวเอง
12
นิยายวิทยาศาสตร์น้อยครั้งพยายามทำนายอนาคต ที่เป็นมากกว่าคือมันพยายามป้องกันอนาคต
1
เพราะเราอาจฆ่ากันตายหมดก่อน
1
ACC ในวัยชรา
ในความคิดของปู่อาร์เธอร์ วิสัยทัศน์ไม่เพียงมาจากการคิดนอกกรอบ แต่ความกล้าที่จะคิดนอกกรอบ ซึ่งมนุษยชาติยังติดอยู่ในกรอบของหลายเรื่อง เช่น ศาสนา
2
มุมมองเรื่องศาสนาของเขาน่าสนใจ โดยเฉพาะคริสต์ศาสนา และเขาก็มักพูดตรงๆ แรงๆ
เขาบอกว่าเขาเป็น atheist เขาไม่เชื่อเรื่องพระเจ้าและชีวิตหลังความตาย แต่นั่นไม่ได้ทำให้เขามีอคติต่อศาสนาเทวนิยม เขาว่าที่เหตุผลและหลักฐานที่ปรากฏ (คุณปู่สั่งเสียว่า งานศพของเขาต้องไม่มีพิธีกรรมทางศาสนาใดๆ โดยเด็ดขาด)
8
เขามองว่า ความเชื่อว่าพระเจ้าสร้างมนุษย์ขึ้นมาโดยอิงกับรูปลักษณ์ของพระองค์ เป็นระเบิดเวลาของรากฐานของศาสนาคริสต์
5
ประโยคของเขาที่สวนแทงความเชื่อของคนจำนวนมากคือ "I don't believe in God but I'm very interested in her."
5
เขาเคยบอกว่า หากพระเยซูไม่ได้ตายบนไม้กางเขน สัญลักษณ์ของคริสต์ก็จะเป็นรูปเครื่องประหารที่ใช้
4
J. B. S. Haldane นักเขียนที่เขาชื่นชม เขียนจดหมายถึงเขาว่า ถึงแม้เขาจะอยู่ฝั่งตรงข้ามกับคริสต์จักร แต่คลาร์กสมควรได้รับรางวัลในด้านเทวนิยม เพราะเขาเป็นหนึ่งในไม่กี่คนในโลกที่สามารถหามุมมองใหม่มาเขียนเรื่องศาสนาคริสต์ได้เสมอ
4
คนที่เคยอ่านเรื่องสั้น The Nine Billion Names of God (1953) และ The Star (1956 รางวัล Hugo Award) น่าจะเห็นด้วย
3
ในเรื่องศาสนาโดยทั่วไป เขาบอกว่า ทางใดก็ตามที่พาไปหาความรู้ก็คือทางของพระเจ้า หรือความจริง แล้วแต่ว่าชอบคำไหน
2
ความเชื่อศรัทธาที่ไม่สามารถอยู่รอดการทดสอบด้วยความจริง ไม่มีค่าควรให้คิดถึง
3
คำกล่าวหนึ่งของเขามีมุมมองที่น่าสนใจคือ "หนึ่งในโศกนาฏกรรมยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติคือการที่ศีลธรรมถูกศาสนาปล้นชิงไปเป็นสมบัติของตัวเอง"
15
เหตุผลเพราะเราไม่ต้องมีศาสนาก็มีศีลธรรมได้
7
เขาบอกว่า หลักการของศีลธรรมนั้นง่ายมาก และไม่ต้องมีศาสนาเลย มันก็คืออย่าทำต่อคนอื่นสิ่งที่เราไม่อยากให้คนอื่นทำกับเรา สำหรับผมมันดูเหมือนมีแค่นั้น
24
แต่เขาก็เห็นว่ามันต้องมีทั้งสองอย่าง แต่ "เราไม่สามารถมีวิทยาศาสตร์ที่เหนือกว่าศีลธรรม มันเป็นส่วนผสมที่ไม่มั่นคงและทำลายตัวเอง"
6
เพราะเขาเห็นว่า "ต่อให้เป็นคนที่มีการศึกษาก็ยังต้องการ ไม้ค้ำทางอารมณ์ มันเป็นความรู้สึกที่ดีที่รู้สึกว่ามีใครเบื้องบนกำลังดูแลเราอยู่ ความคิดความเชื่อแบบนี้ไม่มีอันตรายอะไร จนกระทั่งมันกลายเป็นความลุ่มหลง"
6
ในเรื่องโหราศาสตร์ เขาบอกว่า "อาจเป็นว่านักโหราศาสตร์โบราณได้รับความจริงสวนทางกัน เมื่อพวกเขาเชื่อว่าดวงดาวควบคุมชะตาชีวิตมนุษย์ เวลาอาจมาถึงเมื่อมนุษย์ควบคุมชะตาชีวิตของดวงดาว"
4
จะมองแบบนี้ได้ เขาต้องเป็นนัก lateral thinking ตัวจริง
1
ผมอ่านงานของปู่อาร์เธอร์เกือบครบ ชอบมุมมองของเขาที่คาดไม่ถึงเสมอ หลายเรื่องก็เข้าไปในพื้นที่ของศาสนา ปรัชญาซึ่งสวนทางกับที่เคยได้รับการสั่งสอนมา แต่เมื่อขบคิดดู ก็พบว่าเขามีเหตุผลรองรับ
3
ปู่อาร์เธอร์มองเห็นว่าสื่ออาจมีอำนาจเหนือกว่านักการเมืองเสียอีก เขาพูดขำๆ ว่า "ผมมีแฟนตาซีว่า เท็ด เทอร์เนอร์ (คนก่อตั้ง CNN) ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี แต่ปฏิเสธตำแหน่งนั้น เพราะเขาไม่ต้องการสูญเสียอำนาจของเขา"
10
แล้วเขามีความเห็นเกี่ยวกับสิ่งทรงภูมิปัญญาต่างดาวอย่างไร?
เขาเชื่อว่าจักรวาลมีสิ่งทรงภูมิปัญญาต่างดาว แต่ยังไม่เคยมีสิ่งทรงภูมิปัญญาใดๆ มาเยือนโลก ยังไม่มีหลักฐานสักชิ้นเดียวที่ชี้ไปทางนั้น แต่เขาเชื่อว่าวันหนึ่งเราจะมีแขกจากจักรวาลมาเยือน
7
เขาเคยทายเล่นๆ ว่า น่าจะเป็นปี 2100
เขาบอกขำๆ ว่า ผมแน่ใจว่าจักรวาลเต็มไปด้วยชีวิตทรงภูมิปัญญา พวกนั้นทรงภูมิปัญญามากเกินกว่าจะมาที่นี่
4
มองต่างมุม มองข้ามช็อตเสมอ และมีอารมณ์ขันแบบเจ็บๆ
อ่านงานของปู่อาร์เธอร์แล้วฉลาดขึ้นจริง
ทำอย่างไรเราจึงจะสามารถคิดลึกได้สักเสี้ยวหนึ่งของเขา?
1
คุณปู่บอกว่า "ทางเดียวที่จะค้นพบข้อจำกัดของความเป็นไปได้ก็คือก้าวข้ามมันไปในความเป็นไปไม่ได้"
4
ในมุมมองของเขา ไม่มีอะไรเป็นไปไม่ได้ หรือไม่คุ้มทดลอง เขาบอกว่าทุกไอเดียใหม่ๆ ต้องผ่านสามด่าน
3
1 มันทำไม่ได้หรอก
2
2 มันอาจจะทำได้ แต่ไม่คุ้มทำว่ะ
1
3 กูรู้แต่แรกแล้วว่ามันเป็นไอเดียดี!
2
หมายเหตุ : คำทำนายอนาคตที่ปู่อาร์เธอร์เขียนทำนายมาหลายสิบปี จำนวนหนึ่งตีพิมพ์ในเรื่อง Profiles of the Future เป็นหนังสือเปิดกะโหลกเล่มหนึ่ง ขอแนะนำ
7

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา