6 เม.ย. 2023 เวลา 04:37 • ธุรกิจ

เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ทำงาน จะโทษใคร !

ถ้ามีคนถามคุณว่า ปัญหาในบ้านเมืองเป็นหน้าที่ และความรับผิดชอบของใคร ? คุณสามารถที่จะตอบได้ใน 2 ระดับ
1.ในระดับนโยบาย ก็ต้องเป็นหน้าที่ของรัฐบาล
ระดับนโยบาย หมายถึง การกำหนดทิศทาง ที่จะนำพาประเทศชาติไป (ตามนโยบายที่ได้แถลงการณ์เอาไว้) / ดำเนินการสนับสนุน กำกับดูแล การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้เกิดผลลัพธ์ และเป้าหมายที่ต้องการ
และรัฐบาลในที่นี้ หมายถึง ผู้แทนฯ หรือ นักการเมือง นั้นล่ะ
2.ในระดับปฏิบัติการ ก็ต้องเป็นหน้าที่ของข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่จะต้อง ดำเนินการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล / ดำเนินการตามภารกิจของหน่วยงาน / ดำเนินการภายใต้กฎระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายของรัฐ
มาถึงตอนนี้ เราก็รู้แล้วว่า ปัญหาในบ้านเมืองมัน เป็นหน้าที่ของใคร
คราวนี้เรามาดูเรื่องจริง ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยเรา
@ กรณีด่านเก็บเงิน ค่าผ่านทาง จากเส้นทางลัด ที่ทำขึ้นเพื่อเชื่อมซอยสุขุมวิท 77 (อ่อนนุช) กับซอยปรีดีพนมยงค์ 2 เข้าด้วยกัน โดยในตอนเริ่มต้นนั้น ได้มีการขออนุญาตสร้างถนนและสะพาน เพื่อข้ามคลองพระโขนงกับทางเขตของกรุงเทพฯ ซึ่งก็ได้อนุญาตให้ก่อสร้างในปี 2556 มาเสร็จสิ้นในปี 2558 หลังจากเปิดให้ใช้งาน ก็มีการเรียกเก็บเงินค่าผ่านทาง กับประชาชนที่ต้องการจะใช้เป็นเส้นทางลัด (รวมระยะเวลาการเก็บค่าผ่านทาง กี่ปีแล้วล่ะ !)
>คำถามว่า การอนุญาติให้มีการก่อสร้างถนนในพื้นที่สาธารณะ (ข้ามคลองพระโขนง) เอกชนสามารถจะเรียกเก็บเงินค่าผ่านทาง กับประชาชนได้หรือไหม ?
ถ้าไม่สามารถทำได้ ก็เท่ากับมีการละเมิดเกิดขึ้นแล้ว ผู้ที่เรียกเก็บเงินจะผิดทางแพ่งหรืออาญา ก็ต้องมาว่ากันตามตัวบทกฎหมาย
>คำถามต่อมา คือ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่ดูแลในพื้นที่นี้ ได้ปล่อยปะละเลย จะต้องรับผิดชอบอย่างไร ?
(เรื่องนี้ผมได้ยินข่าวนี้มาตั้ง 2 ปีแล้ว สว.ท่านหนึ่งก็พูด ,รายการเจาะลึกทั่วไป ก็เสนอเป็นข่าว ก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่า จนท.ของเขตฯ ไม่ได้ให้ความสนใจกับประเด็นเรื่องนี้เลยหรือ ?
(ที่มามีเรื่องในตอนนี้ก็เพราะว่า มีผู้บริหารที่เป็นเจ้าของโครงการอสังหาฯในพื้นที่นี้ ได้ลงไปเล่นการเมืองก็เลยมีการ ขุดคุ้ยวีรกรรมเก่าๆกันขึ้นมา แล้วก็กลายเป็นเรื่องใหญ่โต ที่สังคมกำลังจับตามอง)
บทสรุปของผม : จากกรณีนี้มันสะท้อนได้ว่า ปัญหาในบ้านเมือง ไม่ได้ถูกแก้ไขอย่างจริงจังเลย !
เพราะประชาชนไม่ได้ให้ความสนใจ (เสียเงินไปทุกวันจากค่าผ่านทาง โดยไม่รู้ หรือไม่สนใจว่าถูกลิดรอนสิทธิ ) แถมเจ้าหน้าที่ของรัฐ ก็ยังไม่ใส่ใจอีก (ทั้งที่เป็นหน้าที่)
การที่ประชาชนไม่ได้ให้ความสนใจเท่าที่ควร เป็นไปได้ว่า สื่อมวลชนตัวจริงๆ จากสำนักข่าวต่างๆนั้น เริ่มไม่อยู่ในสายตาของประชาชนแล้ว ใช่หรือไม่ !
ประชาชนให้ความสนใจแต่ข่าวจากสื่อโซเชียล จากการไลฟ์สด ที่ดูได้ทาง Facebook และ Youtube เพราะมันเร็ว แรง และมีสีสัน เช่น กรณีการไลฟ์สดของคุณชูวิทย์ ได้สร้างผลกระทบทางสังคม ที่ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ จะนิ่งเฉยไม่ได้ จนกระทั่งเกิดการจับกุมทุนจีนสีเทาขึ้นมา
(แม้ว่าการไลฟ์สดของคุณชูวิทย์นี้ จะถูกถ่ายทอดออกไปโดยสื่อมวลชนตามช่องต่าง ๆ ก็ตาม แต่สื่อมวลชนก็ทำหน้าที่เพียงแค่ถ่ายทอดออกไปเท่านั้น เนื้อหา และรูปแบบ ขึ้นอยู่กับคุณชูวิทย์เอง ผู้ชมทางบ้านจึงชอบ และติดตามชมเป็นจำนวนมาก)
เมื่อคนของรัฐไม่ทำงาน และประชาชนก็สนใจแต่ข่าวดังในโซเชี่ยว
ปัญหาในบ้านเมืองก็จะถูกมักหมก แล้วจะแก้ไขอย่างไรล่ะ
อะไรที่ทำให้ คนของรัฐไม่ทำงาน !
เราก็จะพบว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐ นั้นชอบทำงานโดยไม่ได้ยึด ตามตัวบทกฎหมาย แต่ยึดตามสายบังคับบัญชา นั้นก็คือ จะทำอะไร ก็ต้องรอถาม “นาย” ก่อน ว่านายจะให้ทำอย่างไร อย่างนี้ก็ฉิบหายสิ !
แล้ว นายที่ว่านี้ คือใครกันล่ะ ผอ. หรือ นักการเมือง (รัฐมนตรี)
แน่นอนสุดท้ายการแก้ปัญหาของบ้านเมือง ก็ต้องมุ่งมาที่ “นักการเมือง” เพราะถ้านักการเมือง ไม่ลงกำกับดูแลข้าราชการ ให้ปฏิบัติงานตามภารกิจ และข้อบังคับของกฎหมาย
เราก็จะเจอปัญหาแบบนี้อยู่ร่ำไป
แล้วเราจะแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้านี้ได้อย่างไร
อะไรที่จะทำให้ นักการเมืองทำงาน !
ก็ต้องใช่สื่อโซเชียล กดดันล่ะครับ ถึงจะได้ผล เพราะถ้าไม่เป็นประเด็นที่สังคมสนใจแล้ว นักการเมืองจะไม่ลงมาเล่น (คุมเกม)
อย่างกรณีของ คุณชูวิทย์ และคุณศรีสุวรรณ นั้นได้ผลมากกว่า การร้องเรียนแบบเงียบๆ ไปที่หน่วยงานของรัฐ ซึ่งจะช้า และไม่มีประสิทธิภาพ (มันอาจทำให้มีเวลาที่จะเคลียกันได้) สู้เปิดประเด็นไปให้สังคมรับรู้เลยดีกว่า แล้วก็ทำให้เรื่องมันอยู่ในกระแส (การแก้ต่างจะยากขึ้น เพราะข้อเท็จจริงได้หลุดออกไปสู่สังคมแล้ว)
ดูอย่างกรณี คดีเสือดำ ถ้าไม่มีถ่ายคลิป แล้วเผยแพร์คลิปออกไปก่อน เชื่อว่าคดีนี้ผู้ต้องหาคงรอดไปแล้ว
และด้วยวิธีการแบบนี้ล่ะ จะทำให้ เจ้าหน้าที่ของรัฐ และนักการเมือง ก็จะไม่กล้าที่จะนิ่งเฉย
ดังนั้น สังคมของเราต้องมี นักแฉ ที่กล้าปล่อยข้อมูล และเกาะติดกับเรื่องราวที่ปล่อยออกไป
ภายใต้ภารกิจที่ทำให้นักแฉออกมาสู่แสงนั้น จะเป็นอย่างไร ประชาชนจะเป็นผู้ตัดสิน และกฎหมายจะทำหน้าที่ กำจัดคนเลวออกไปจากสังคม
ถ้าจะโทษว่านักแฉ ทำให้สังคมวุ่นวาย ก็ต้องถามกลับมาที่ นักการเมือง และเจ้าหน้าที่ของรัฐ เหมือนกันว่า ทำไมพวกคุณไม่ทำงานกันล่ะ !
Cr. อนันต์ วชิราวุฒิชัย
เคล็ดลับที่จะทำให้คุณประสบความสำเร็จในงานจัดซื้อ ..........มาเรียนรู้กับเราได้ที่นี้
แผนการอบรมเพื่อ “งานจัดซื้อ” สำหรับปี 2566 / 2023
ในปีนี้ Tangram Strategic Consultant เราจะมี class แบบ Online / Onsite
>สำหรับ Online 12 Classrooms สามารถดูรายละเอียดได้ที่
>สำหรับ Onsite 5 classrooms สามารถดูรายละเอียดได้ที่
#จัดซื้อมืออาชีพ #อบรมจัดซื้อ
โฆษณา