8 เม.ย. 2023 เวลา 10:16 • ความคิดเห็น

แจกเงินคนละหมื่น นโยบายตัวแม่หรือแค่กิมมิค?

ช่วงเร็วๆนี้ดอกเบี้ยสีทองก็สะดุดนโยบายเศรษฐกิจของพรรคเพื่อไทยที่หาเสียงชูนโยบายเติมเงิน 1 หมื่นบาทให้ใช้จ่ายใน 6 เดือน เพื่อช่วยให้ประชาชนมีกำลังซื้อ ซึ่งพบว่าเกิดกระแสเห็นด้วยและต่อต้านไปทางใดทางหนึ่งอย่างสุดตัว โดยตัวรูปแบบการแจกเงินในรูปดิจิตัลโทเคน (พัฒนาเงินดิจิตัลมาจากโครงการ”อินทนนท์”ของธนาคารแห่งประเทศไทย)
ซึ่งมีข้อดีในการติดตามเส้นทางการเงินถึงแม้จะมีความว้าว แต่ก็มีความยุ่งยากสำหรับแม่ย่าหน้าพ่อปู่ในประเทศเราอยู่ไม่น้อย
5
แก่นของนโยบายก็ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรมากอย่างที่หลายคนตื่นตระหนกตกใจ ในยุคลุงตู่อันยาวนาน ก็มีการแจกเงินแบบสวมหมวกคัดสรรค์ คือช่วยเหลือเฉพาะกลุ่ม เช่น คนละครึ่ง เราเที่ยวด้วยกัน ทำอย่างละหลายๆครั้ง งบประมาณที่ใช้ไปก็มหาศาลไม่ได้ต่างกับ นโยบายคนละหมื่นของพรรคเพื่อไทยซักเท่าไหร่ ดังนั้นไม่ต้องตกใจกันไป โดยส่วนตัวมองว่านโยบายคนละหมื่นมีความตั้งใจกระตุ้นการใช้จ่ายอย่างถ้วนหน้ามากกว่า แต่ก็มีข้อจำกัดที่รัศมีการใช้จ่าย 4 กม.จากที่อยู่ตามบัตรปชช.
18
แน่นอนเมื่อมีการแจกเงิน ความกังวลในเรื่องหนี้สาธารณะและเงินเฟ้อก็จะตามมา ซึ่งจากการคาดการณ์โดยม.หอการค้าไทยประเมินว่า ดิจิทัลโทเคนของเพื่อไทยอาจใช้เงินกว่า 5.5 แสนล้านบาท จากที่ดิฉันฟังการหาเสียงพบว่า ทีมเศรษฐกิจเพื่อไทยตอนนี้ไม่ธรรมดาเพราะมีการรวมตัวพ่อสายการเงินการธนาคารซึ่งคงไม่พูดอะไรออกมาลอยๆ มั้งคะ
1
แต่เราก็ยังไม่เห็นความชัดเจนในเรื่องการจัดเก็บภาษีจากกิจกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นในการจับจ่ายด้วยดิจิทัลโทเคนเลย จึงขอคิดไปเองบนพื้นฐานความจริงว่า เมื่อการจับจ่ายในระดับชุมชนรัศมี 4 กม. รัฐบาลไม่น่าจะสามารถเก็บภาษีได้ดังที่กล่าวอ้างว่า 7% x หมุนเวียน 7 รอบใน 6 เดือนได้แน่นอน ข้อดีอย่างเดียวที่ส่งผลต่อประเทศชาติโดยรวมน่าจะเป็น Multiplier Effect
4
Fiscal Multiplier พูดง่ายๆก็คือการอัดฉีดเงินจากรัฐสู่ภาคครัวเรือน เพื่อให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยและทวีมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยทั่วไป GDP ที่เกิดจากการอัดฉีดจะมากกว่าเม็ดเงินงบประมาณที่ใช้ในการอัดฉีดเสมอ
4
การกระตุ้นการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจเป็นจุดประสงค์หลักอย่างหนึ่งของการแจกเงินในลักษณะที่เป็น Universal Basic Income ของทุกที่ในโลกช่วงโควิดบุกหนักๆ รวมถึงการเพิ่มการผลิตและการจ้างงานก็จะเกิดขึ้นจากการใช้จ่ายของภาครัฐ
1
เราเคยได้เห็นการทดลองแจกเงินในฟินแลนด์ในคนตกงาน 2000 คน หรือการแจกบัตรใช้จ่ายที่เมืองยองกิในเกาหลีใต้ หรือแม้แต่การพิมพ์แบงค์ใช้เองในเมืองเล็กๆชื่อเทไนโนในวอชิงตัน แต่ละที่ก็ค้นพบว่าวิธีการของพวกเขามีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน
3
ในฟินแลนด์พบว่าสภาพจิตของคนได้รับแจกเงินดีขึ้นแต่ก็มีข้อมูลว่าการแจกเงินก็อาจทำให้คนตกงานกลับเข้าสู่ตลาดแรงงานน้อยลง ที่เมืองเทไนโนนี่เรื่องฮาเยอะมาก พบว่าเงินที่แจก(ทำจากไม้) กลายเป็นของสะสมและมีมูลค่าสูงกว่าที่ตราไว้ด้วยดอลล่าซะอีก คนไม่จับจ่ายแต่เอาไปขายในอีเบย์แทน ที่เกาหลีดูจะเห็นประโยชน์เป็นรูปธรรมสุดคือ จำกัดพื้นที่และสินค้าที่จะซื้อและเกิดการหมุนเวียนช่วยเหลือคนท้องถิ่นได้มากจนคนออกนโยบายได้รับเสียงชื่นชม
5
ในการที่จะทำให้นโยบายเพื่อไทยอันนี้ประสบความสำเร็จ วัดจากการที่ Multiplier มีค่ามากๆ ตัวคูณนี้นักเศรษฐศาสตร์นิยามว่าเป็นอัตราส่วนการเปลี่ยนแปลง GDP จากนโยบาย ต่อการใช้จ่ายจากภาครัฐ(ซึ่งหักกลบภาษีที่จะเก็บกลับมาได้จากการหมุนเวียนเม็ดเงินที่ใช้) พูดง่ายๆ ต้องทำให้เกิดการหมุนเวียนหลายๆรอบเยอะๆ และเก็บภาษีได้เยอะๆเพื่อเอามาหักกับเงินที่รัฐใช้อัดฉีด
1
ทีนี้ลองคิดเล่นๆทำยังไงจะได้ผลแบบนั้น ในเมื่อคนส่วนใหญ่ของประเทศรายได้ไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษีรายได้หรือบางคนไม่อยู่ในระบบภาษีด้วยซ้ำ
พอจำกัดระยะ 4 กม. ถ้าใน 4 กม.อยู่ในเขตที่มีคนเสียภาษีน้อยมากๆล่ะ คำถามถัดมาคือไครเอาเงินดิจิตัลนี้ไปขายคืนเป็นเงินปกติได้บ้าง ถ้าทุกคนขายคืนได้หลังหมดโครงการ 6 เดือน ปัญหาคือจะมีคนจำนวนมากนำเงินดิจิตัลที่ได้มาขายคืนเพื่อออมมากขึ้น
1
หรือใช้เงินดิจิตัลแต่ออมเงินได้เดิมมากขึ้น ซึ่งไม่ดีแน่ต่อทั้งการหมุนเวียนและการจัดเก็บภาษี หรือถ้าให้ดีจำกัดไปเลยว่าคนที่จะขึ้นเงินได้ต้องลงทะเบียนร้านค้าหรือเป็นธุรกิจจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม อันนี้คนปกติจะต้องใช้เงินดิจิตัลให้หมดไปกับร้านค้าหรือร้านที่จดVAT ข้อดีคือไม่มีไครออม แต่เมื่อร้านค้ารู้ว่าทุกรายรับในรูปแบบดิจิตัลโทเคนต้องเสียภาษีเค้าก็จะต้องขึ้นราคา ซึ่งจะส่งผลต่อราคาสินค้าและบริการแน่นอน ข้อดีคือจะบังคับทุกคนใช้เงินหมดแน่ๆแต่จะหนีไม่พ้นโดนคาถาเอื้อนายทุน
4
สุดท้ายดิฉันต้องขอบอกว่าชอบนโยบายประเภทนี้มาตลอด รวมทั้งโครงการคนละครึ่งและดิจิตัลโทเคน 10,000 บาท แต่ที่ฟังๆและรับข้อมูลมาก็รู้สึกเอ๊ะกับข้อจำกัดและความย้อนแย้งจากการหาเสียงอยู่ไม่น้อย เช่นเงื่อนไข 4 กม.จากที่อยู่ตามปัตรปชช. ถึงแม้จะเจตนาเพื่อการหมุนเวียนในพื้นที่ แต่สุดท้ายในทางปฏิบัติมันมีความลำบาก เช่น อิแต๋วภูมิลำเนาปัตตานีอาศัยอยู่หอพักที่กรุงเทพจะให้กลับไปใช้จ่ายที่ปัตตานีก็แปลกๆและเพิ่มค่าใช้จ่ายเดินทาง
4
เจตนาจะให้เกิดการหมุนเวียนในชุมชนแต่ถ้าเก็บภาษีได้น้อยจะคุ้มรึเปล่า เพราะ 5 แสนล้านรูปแบบโทเคนจำเป็นต้องมีการค้ำประกันด้วยบาทอยู่ดีไม่ว่าจะมาจากงบประมาณหรือมาจากการกู้เงิน ดังนั้นจึงมองว่านโยบายก็มีข้อดีข้อเสีย และอาจยังต้องมีการศึกษาปรับเปลี่ยนอยู่พอสมควร แต่ถ้าเกิดขึ้นได้...ดิฉันเชื่อว่าต้องปังไม่ก็พังพินาศเป็นแนวจำนำข้าวซีซั่น 2 สืบไป
5
โฆษณา