10 เม.ย. 2023 เวลา 02:57 • การตลาด

7 ตัวแปรที่มีต่อ ROI ของ Influencer Marketing

ในปี 2022 ที่ผ่านมา Influencer Marketing เติบโตขึ้นมาก ซึ่งมีมูลค่าถึง 16.4 พันล้านดอลลาร์ แบรนด์มากกว่า 75% มีงบประมาณเฉพาะสำหรับการทำการตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์ ตั้งแต่แคมเปญ #ThisOnesFor ของ Coca Cola ที่ร่วมมือกับอินฟลูเอนเซอร์ด้านแฟชั่น การท่องเที่ยว และไลฟ์สไตล์ ไปจนถึงแคมเปญ 67 Shades ที่ได้รับรางวัลของ Dior ซึ่งแบรนด์ก็ได้ร่วมมือกับอินฟลูเอนเซอร์ที่หลากหลายเพื่อโปรโมตผลิตภัณฑ์ แต่ว่าการลงทุนโปรโมทแคมเปญโดยใช้อินฟลูเอนเซอร์ให้ผลตอบแทนที่ดีจริงหรือ?
เพื่อตอบคำถามนี้ ทาง HBR และเอเจนซี่การตลาดที่ใช้อินฟลูเอนเซอร์ระหว่างประเทศจึงได้มีการสำรวจ เพื่อวิเคราะห์โพสต์การตลาดอินฟลูเอนเซอร์มากกว่า 5,800 โพสต์บน Weibo แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียยอดนิยมของจีน โดยอินฟลูเอนเซอร์ 2,412 คนสำหรับ 861 แบรนด์ใน 29 หมวดหมู่ผลิตภัณฑ์ ในราคาตั้งแต่ 200 ดอลลาร์ถึงเกือบ 100,000 ดอลลาร์ต่อโพสต์
และแน่นอนว่าเราพบว่าโดยเฉลี่ยแล้ว การใช้จ่ายด้านการตลาดโดยใช้อินฟลูเอนเซอร์เพิ่มขึ้น 1% ทำให้การมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้น 0.46% ซึ่งบ่งชี้ว่ากลยุทธ์ในการใช้อินฟลูเอนเซอร์สามารถให้ ROI ในเชิงบวกได้
อย่างไรก็ตามเราสามารถเพิ่มการมีส่วนร่วมได้ถึง 16.6% เพียงแค่ปรับวิธีการจัดสรรงบประมาณด้านการตลาดโดยใช้อินฟลูเอนเซอร์ให้เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้กลยุทธ์ 7 ตัวแปรสำคัญที่มีต่อ ROI ของการตลาดที่ใช้อินฟลูเอนเซอร์ จะประกอบด้วยอะไรบ้างนั้น ไปดูกันค่ะ
1. จำนวน Followers
อินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตามจำนวนมากไม่เพียงแต่มีการเข้าถึงที่มากขึ้นเท่านั้น แต่ยังถูกมองว่าเป็นที่นิยมและน่าเชื่อถือกว่าอีกด้วย แถมยังสร้างอัตราการมีส่วนร่วมที่สูงกว่าที่แบรนด์ต่างๆ ทั้งๆที่ใช้งบประมาณเท่ากันในการเป็นพันธมิตรกับอินฟลูเอนเซอร์ที่ได้รับความนิยมน้อยกว่า
2. ความถี่ในการโพสต์
อินฟลูเอนเซอร์ที่โพสต์ไม่บ่อยถูกมองว่ากลุ่มนี้ยังมีสถานะไม่เพียงพอที่จะสร้างความสนิทสนมและความไว้วางใจในฟีดของผู้ติดตาม แต่กลับกันการโพสต์บ่อยเกินไปก็อาจทำให้ฟีดของผู้ติดตามรก และสร้างรำคาญได้ จากการสำรวจพบว่าแบรนด์ที่ได้รับ ROI สูงสุดที่ร่วมมือกับอินฟลูเอนเซอร์ที่มีกิจกรรมการโพสต์ในระดับปานกลาง หรือประมาณ 5 โพสต์ต่อสัปดาห์เท่านั้นค่ะ
3. Follower ที่เหมาะสมกับ Brand
ยกตัวอย่างเช่น ความพอดีต่อแบรนด์กับกลุ่มผู้ติดตามจะสูงหากแบรนด์ผลิตภัณฑ์สกินแคร์ทำงานร่วมกับอินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตามที่สนใจในเรื่องความสวย แต่จะต่ำหากทำงานร่วมกับอินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตามที่สนใจเรื่องอุปกรณ์ไอที แบบนี้เป็นต้น นั่นหมายความว่าเมื่อผู้ติดตามของอินฟลูเอนเซอร์สนใจหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์สปอนเซอร์สูง โพสต์ของพวกเขามีแนวโน้มที่จะสอดคล้องกับความสนใจของผู้ติดตามมากขึ้นได้
4. ความเป็นต้นฉบับ หรือความไม่เหมือนใคร
หมายถึง ความมี Originality แสดงถึงความเป็นตัวตน ความเป็นธรรมชาติมากขึ้น รวมถึงเนื้อหาคอนเทนต์มีความความแปลกใหม่ ไม่ซ้ำกับใคร ซึ่งพบว่าสามารถดึงดูดความสนใจมากกว่า สินค้า หรือผลิตภัณฑ์ที่โปรโมทดูใช้ได้จริง มีความจริงใจต่อผู้บริโภคและดูน่าเชื่อถือมากกว่า
5. โพสต์เชิงบวก
ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะมีส่วนร่วมกับโพสต์ที่เป็นเชิงบวกค่อนข้างสูงค่ะ ดังนั้นอินฟลูเอนเซอร์ควรสื่อสารข้อความในเชิงบวก แต่การคิดบวกมากเกินไปจนไม่น่าเชื่อถืออาจส่งผลย้อนกลับได้ จนทำให้ผู้บริโภคก็อาจไม่ตอบสนองเช่นกัน โพสต์เชิงบวกสูงเกินไปคือยังไง ยกตัวอย่างเช่น คอนเทนต์ที่มีการอวยสินค้า หรือผลิตภัณฑ์มากเกินไปจนดูปลอม
6. โพสต์ที่มีลิงก์ไปยังแบรนด์
จากการวิจัยเกี่ยวกับการตลาด พบว่าโพสต์ที่มีลิงก์ไปยังบัญชีโซเชียลมีเดียของแบรนด์ หรือหน้าเว็บภายนอกทำงานได้ดีขึ้นอย่างมาก โดยโพสต์แบบใส่ลิงก์จะได้รับ ROI สูงขึ้น 11.4% เนื่องจากลิงก์เหล่านี้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมที่สำคัญแก่ผู้บริโภคเกี่ยวกับเนื้อหา จึงทำให้พวกเขามีแนวโน้มที่จะมีส่วนร่วมมากขึ้น
7. ประกาศเปิดตัว Product ใหม่
การใช้อินฟลูเอนเซอร์ในการโปรโมทเปิดตัว Product ใหม่ ซึ่งจากข้อมูลพบว่า ROI สำหรับโพสต์ที่มีอิทธิพลต่อการประกาศผลิตภัณฑ์ใหม่นั้นต่ำกว่าโพสต์ที่เทียบเท่า ซึ่งไม่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เปิดตัวถึง 30.5% แต่ในขณะเดียวกันโพสต์ที่การันตียอดขาย ผลิตภัณฑ์ครองอันดับ 1 กลับได้รับการมีส่วนร่วมที่ดีกว่า
แน่นอนว่าคำแนะนำทั้งหมดเหล่านี้อ้างอิงจากค่าเฉลี่ยในชุดข้อมูลของ HBR และผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบริษัท นอกจากนี้เรายังต้องดูเมตริกหลักของเราด้วย หวังว่าข้อมูลนี้จะช่วยเป็นแนวทางในการเลือกใช้อินฟลูเอนเซอร์ได้ดีขึ้นนะคะ
ข้อมูลจาก: everydaymarketing, hbr
โฆษณา