11 เม.ย. 2023 เวลา 10:25 • ท่องเที่ยว

กลัวเครื่องบินหายได้... แค่รู้ความจริงนี้ !

✈️ คิดว่าข้อมูลต่อนี้น่าจะช่วยให้หลายคนลดความกลัวเสียงเครื่องบินได้ (ทั้งตอน take-off, landing, turbulence (จริงๆก็ทุกช่วงเลย)) จึงนำมาแชร์ในนี้เพิ่มเติมค่ะ
🔷🔶ที่มาที่ไปเป็นดังรูป
+ มีคลิปหนึ่งถ่ายคลิปตอนเครื่องบิน take-off* แล้วเขียนคำอธิบายใต้คลิปดังรูป (ขอ censor วิสามานยนามเพื่อ... โฟกัสกับ fact ในทางเทคนิคของการขับเครื่องบินซึ่งเป็นเรื่องสากล ไม่ได้เจาะจงว่าเป็นเครื่องบินรุ่นอะไร สายการบินอะไร เส้นทางการบินไหน) สรุปใจความคือ
- ช่วงหลัง take-off เสียงของเครื่องยนต์เปลี่ยนไป ทำให้มีผู้เข้าใจว่าเครื่องยนต์ดับแล้วเกิดความกลัว
-> ข้อเท็จจริงคือ... เป็นเสียงปรับกำลังเครื่องยนต์ตามปกติของการขับเครื่องบิน ซึ่งจะอธิบายเพิ่มเติมต่อไปว่าปกติอย่างไร✈️
🔷🔶สมการพื้นฐานในการขับเครื่องบินคือ pitch*power=performance
โดยที่...
- pitch คือ การวางระดับเครื่องบินให้เชิดขึ้นหรือต่ำลงในระดับที่มากน้อยแค่ไหน ไปซ้าย ไปขวา
- power ก็คือกำลังของเครื่องยนต์ หรือ thrust
- performance คือ ความสูงและความเร็ว
หรือกล่าวได้อีกอย่างว่า pitch*power=performance
(a) หัวเครื่องบิน * (b) กำลังเครื่องยนต์ = (c) ความสูง * (d) ความเร็ว
+ เวลามีการเปลี่ยน (a) หัวเครื่องบิน(ซ้าย/ขวา) จากตรงๆ เป็นเลี้ยว -> เกิดการเสียแรงยกขึ้นไปเป็นแรงเลี้ยว
- หากต้องการให้ความสูง (c) มากขึ้น ก็จะต้องเพิ่ม (a) หัวเครื่องบิน(บน/ล่าง) ให้มากขึ้นเพื่อชดเชยความสูง
-> แต่เมื่อทำแบบนั้น ทางฝั่ง performance ก็จะมี (d) ความเร็วน้อยลง หากต้องการให้ความเร็วเท่าเดิมต้องเพิ่ม (b) กำลังเครื่องยนต์เป็นการชดเชย ซึ่งการเพิ่มลดเครื่องยนต์ก็จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเสียงเครื่องยนต์ (แต่บางคนอาจจะไม่ได้ยิน)
🔷กรณีของเสียง
+ ในการทำการบินก็เหมือนการขับรถและเรือที่ไม่ได้ใช้กำลังเครื่องยนต์เท่าเดิมตลอดการเดินทาง มันจะมีการเพิ่ม/ลดตามความเหมาะสมอยู่เป็นระยะ
- ยกตัวอย่างแค่ตอนเปลี่ยนทิศทางจากตรง ๆ ไปซ้ายขวาข้างต้นก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์แล้ว หรือกรณีง่าย ๆ อย่างทิศทางลมเปลี่ยน อันนี้ก็มีผลต่อการทำงานของเครื่องยนต์
+ การหายไปของการได้ยินเสียง ไม่ได้หมายความว่าไม่มีการทำงานของเครื่องยนต์หรือเครื่องยนต์ดับไป (คนเราได้ยินเสียงแค่ช่วงความถี่ประมาณ 20-20000เฮิรตซ์(HZ) ไม่นับรวมเสียงรบกวนต่างๆ แล้วทำให้ไม่ได้ยิน)
🔶กรณีรู้สึกวูบ
+ จะเกิดความรู้สึกคล้ายตอนเรานั่งอยู่ในรถ แล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงความเร็วรถ (performance) ทำให้ตัวเราไปข้างหน้าหรือข้างหลังได้
-> ความรู้สึกตอนนั่งเครื่องนั้นก็เป็นเช่นกัน และความรู้สึกนั้นจะเกิดขึ้นกับแนวบนล่างด้วยเพราะนอกจากการเปลี่ยนแปลงทิศทางในแกนซ้ายขวาแล้ว เครื่องบินยังมีการเปลี่ยนแปลงในแกนบนล่างด้วย
🔶เกิดอะไรขึ้นตอนเครื่องบิน take-off
(a) หัวเครื่องบิน * (b) กำลังเครื่องยนต์ = (c) ความสูง * (d) ความเร็ว
+ ตอนบินขึ้น
- เครื่องบินต้องใช้กำลังเครื่องยนต์สูงเพื่อให้มีแรงยกมากกว่าน้ำหนักของเครื่องบินแล้วบินขึ้นได้ (เหมือนตอนใช้แรงเลื่อนตู้ที่ต้องออกแรงมากในตอนแรกเพื่อให้สามารถเอาชนะแรงต้านแล้วตู้เกิดการเคลื่อนไหวได้ พอเลื่อนตู้ได้แล้วหลังจากนั้นก็สามารถใส่แรงน้อยลงไป) -> ในตอน take-off ใช้ power สูง (b)
- standard pitch (a) ของเครื่องบินพาณิชย์ตอน take-off คือ 15 องศา
+ เมื่อถึงจุดหนึ่งที่เครื่องบินมีแรงยกชนะน้ำหนักเครื่องบินแล้วสามารถบินขึ้นฟ้าได้ (ล้อพ้นพื้น) นักบินก็จะเก็บล้อ แล้วเครื่องบินก็จะไต่ขึ้นฟ้าอย่างรวดเร็ว
+ กระทั่งถึงความสูงหนึ่งที่เรียกว่า Thrust reduction altitude
- นักบินจะลด (b) กำลังของเครื่องยนต์ลง (เหตุผลของการลดคล้ายกรณีใช้แรงผลักตู้ให้เคลื่อนที่ ประกอบกับข้อจำกัดของการใช้กำลังเครื่องยนต์ เช่น ในระดับสูงสุดคือ TOGA (takeoff (TO) and go-around (GA)) นั้นจะมี TOGA time limit อยู่ที่ไม่เกิน 5 หรือ 10นาที (ตามจำนวนเครื่องยนต์))
- พอ (b) ในสมการเปลี่ยน คราวนี้ก็ต้องมาจัดการเจ้า a, c, d กันต่อ ก็ขึ้นกับว่า ณ ขณะนั้นนักบินจะต้องการ focus กับอะไรเป็นสำคัญ
-> โดยที่... หนึ่งในประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องก็คือ flaps & slats ที่ใช้(เพื่อเพิ่มแรงยกตอนบินขึ้น) ที่เมื่อถึงจุดหนึ่งมันจะกลายเป็นแรงต้าน (ผู้สนใจศึกษาต่อได้ด้วย keyword : drag curves ที่อธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง airspeed และ drag) จึงต้องทำการเก็บ flaps&slats ที่กางออกมา,
ทีนี้... การกาง/เก็บ flaps & slats นั้นมีเรื่องความเร็วเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะความเร็วมีผลต่อแรงยก ถ้าเราเก็บ flaps & slats เลยทั้งที่ความเร็วเครื่องบินยังน้อยก็จะทำให้ไม่มีแรงยกเพียงพอจึงต้องทำการเพิ่มความเร็วก่อนถึงจะเก็บ flaps & slats ได้ แล้วในกรณีนี้นี่แหละค่ะที่...
- เมื่อต้องการเพิ่มความเร็ว (c) ขึ้น นักบินก็ปรับ pitch (a) ลงมา หลังจากที่ลดกำลังเครื่องยนต์ (b) ลงไปแล้วก่อนหน้า
-> แล้วในการปรับ pitch (a) ด้วยเหตุผลข้างต้นนี่แหละก็ทำให้ผู้โดยสารรู้สึกวูบได้
🔷🔶กรณี turbulence ก็เช่นกัน คือจะบอกว่า...
+ turbulence ไม่มีผลต่อความสูงเครื่องบินนะคะ
- ความแปรปรวนของอากาศ 'ไม่สามารถทำให้ความสูงเครื่องบินเพิ่มขึ้นหรือน้อยลง' (ไม่ต้องกลัวว่าเครื่องบินจะตก) เวลามีการเปลี่ยนแปลงของอากาศนักบินก็จะทำตามสมการ pitch*power=performance นี้
-> ถ้าต้องการให้ performance เครื่องบินเท่าเดิม จะมีการปรับ power ตามความเหมาะสม แล้ว pitch ก็จะปรับตาม ถ้าผู้โดยสารรู้สึก(กาย)หรือได้ยินเสียงเครื่องยนต์(หู)เปลี่ยนไป นั่นคือสถานการณ์ปกติ
-> โดยที่... โดยทั่วไปเวลาเครื่องบินเจอหลุมอากาศ นักบินก็จะรับมือคล้ายตอนขับรถแล้วเจอหลุมบนถนน นั่นก็คือ... ลด (d) ความเร็วลง พอมีการลดความเร็ว ก็ต้องมีการปรับ pitch*power=performance คือ (b) ลด power หรือกำลังของเครื่องยนต์ลง ทำให้เกิดการได้ยินเสียงเครื่องยนต์ของเครื่องบินเปลี่ยนไป และถ้ามีการปรับ pitch ตามมาก็จะทำให้รู้สึกวูบได้
-> กรณีเดียวที่เครื่องบินเจอ turbulence แล้วความสูงเปลี่ยน คือนักบินตั้งใจเปลี่ยน หรือเป็นการเจอสภาพอากาศแบบนั้นขณะที่กำลังไต่เพดานบินหรือลดเพดานบินพอดี
🔷🔶 *ได้รับการสอบถามเรื่องถ่ายรูป/วีดีโอหรือใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ช่วง take-off มาด้วย
+ ค่ะ... การกระทำนี้หากได้กระทำในเที่ยวบินที่มีประกาศห้าม ก็จะเป็นการกระทำที่ผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดบางประการต่อการเดินอากาศมาตรา 8
ด้วยรัก
<3
โฆษณา